Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2432
Title: The Impact of Sugarcane Burning Measures on Sugarcane Farmers and their Livelihoods Adjustment in Tha Sawan Village, Tha SaWan Sub-District, Naduang District, Loei Province
ผลกระทบจากมาตรการลดการเผาอ้อย และการปรับตัวในเชิงของวิถีการดำรงชีพของชาวไร่อ้อย หมู่บ้านท่าสวรรค์ ตำบลท่าสวรรค์ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
Authors: Siriporn Nethibut
ศิริพร เนธิบุตร
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
Mahasarakham University
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
nattakant.a@msu.ac.th
nattakant.a@msu.ac.th
Keywords: ผลกระทบจากมาตรการลดการเผาอ้อย
การปรับตัวของชาวไร่อ้อย
Effects of sugarcane burning reduction measures
Aduptation of sugarcane farmers
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this study were to analyze that how the reduction of sugarcane burning measures impacted to sugarcane farmers’ way of life in Tha Sawan village, Tha Sawan sub-district, Naduang district, Loei province.  In this case, the researcher intended to study the variable in existing areas of sugarcane cultivation, household income, household debt and farming period, and to study sugarcane farmers’ way of livelihood adjustment in Tha Sawan village, Tha Sawan sub-district, Naduang district, Loei province in the midst of enforcement of sugarcane burning measures released by the government sector.  The researcher used mix methods consisted of quantitative research:  The data collection was questionnaire.  The sampling group comprised 76 sugarcane farmers.  The statistics used frequency, percentage, mean, standard deviation and one-way anova.  Qualitative research: The researcher collected data through semi-structured interview from 9 people.  The research instrument was analytic induction.  The results of the study were as follows:             1. The result of the questionnaire involved with the impact of the reduction of sugarcane burning measures and on sugarcane farmers’ way of livelihoods adjustment in Tha Sawan village, Tha Sawan sub-district, Naduang district, Loei province, found that the overall was rated at moderate level (=3.08).  For each aspect, there were 2 impacts rated at moderate level as followers: The first aspect: Legal measures was at (=3.04), there were 4 impacts rated at high level as follows.  Government sector should continually manage with the reduction of sugarcane burning measures nevertheless the government sector should help farmers with production costs (=3.72).  Local or local ward government officials are also sugarcane farmers (=3.58).  Deduction of money measures to burnt sugarcane farmers who sent sugarcane to burn was a deprivation them to get financial benefit that they deserve (=3.53) and supporting sugarcane farmers to buy agricultural machinery for cutting fresh sugarcane measures was considered pushing the burden on farmers to invest by borrowing debts (=3.53).  The second aspect: Policy measures was at (=3.11), there were 2 impacts rated at high level as follows. The reduction of sugarcane burning measures caused higher production cost (=3.86) and the reduction of sugarcane burning measures caused the planting area need to be adjusted. (=3.55).             2. The result of the interview given by informants involved with the impact of the reduction of sugarcane burning measures on sugarcane farmers’ way of livelihoods adjustment in Tha Sawan village, Tha Sawan sub-district, Naduang district, Loei province, revealed that legal measures in production season in 2020-2021.  Sugar factory could not receive burnt sugarcane in the crusher more than 20 percent per day, definitely, this case affected the household income of farmers, less income, increased production costs.  As a result of legal measures, a sugarcane factory was forced to purchase on limit of burnt sugarcane each day so there had been lots of smuggling and burning of sugar cane fields.  Sugarcane farmers must race each other for hiring cane cutter labors who were the same sugarcane farmers, definitely, affected the increasing farmers’ investment in order to motivate fresh sugarcane cutter labors.  Moreover, sugarcane plantation owner must adjust the planting area and hire sugarcane harvester.  Some sugarcane farmers headed to grow new sugarcane cultivation, to follow the reduction of sugarcane burning measures.             During the policy measures, the impact of deduction of money measures in burnt sugarcane was as follows, low interest funds to support sugarcane farmers to buy agricultural machinery for cutting fresh sugarcane measures, and government sector service measures for cutting fresh sugarcanes, definitely, affected the increasing farmers’ investment from borrowing debts.  When they had had to pay higher wages, then they turned to use machinery for cutting instead of labors, decreased the planting area, households looked for other sources of income and intended to use domestic workers to cut sugarcane.  From the impact mentioned, still the farmers had been smuggling and burning of sugarcane fields because of the government assistance policy was hard to reach for farmers and the policy was not suitable for the local conditions.             In addition, researcher found that, enforcing measures on both aspects could not definitely decrease the quantity of burning sugarcane in the area because of the high investment that farmers had to adjust themselves for cutting fresh sugarcane.  Furthermore government officials who controlled burning sugarcane had interpersonal relationship with villagers in the community.  When the sugarcane farmers had encountered the impact on labor shortage, expenses and debts they already adjusted their way of life through smuggling and burning of sugarcane fields. Farmers focused on seeking or hiring labors from other provinces so labors were motivated by higher wages.  Farmers adjusted the planting area, adjusted soil surface and set it in balance, wider enough for sugarcane harvesters.  Besides farmers turned to have other occupations such as an employee, a lottery seller or growing other plants.  
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ว่ามาตรการลดการเผาอ้อยส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีพของชาวไร่อ้อย หมู่บ้านท่าสวรรค์ ตำบลท่าสวรรค์ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย อย่างไร โดยศึกษาตัวแปรทางด้านจำนวนพื้นที่การปลูกอ้อย รายได้ครัวเรือน หนี้สินครัวเรือน และระยะเวลาการทำไร่อ้อย และเพื่อศึกษาการปรับตัวในเชิงวิถีการดำรงชีพชาวไร่อ้อยในหมู่บ้านท่าสวรรค์ ตำบลท่าสวรรค์ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ท่ามกลางการบังคับใช้มาตรการลดการเผาอ้อยของภาครัฐ  ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี อันประกอบด้วย วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ทั้งนี้ โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวไร่อ้อยหมู่บ้านท่าสวรรค์ จำนวน 76 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One-Way Anova ทั้งนี้ ในส่วนของวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic induction) และผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์จากแบบสอบถามผลกระทบจากมาตรการลดการเผาอ้อย และการปรับตัวในเชิงวิถีของชาวไร่อ้อย หมู่บ้านท่าสวรรค์ ตําบลท่าสวรรค์ อําเภอนาด้วง จังหวัดเลย พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.08) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน มีผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน ดังนี้ ด้านที่หนึ่งมาตรการทางด้านกฎหมาย (=3.04) มีผลกระทบระดับมากอยู่ 4 ข้อ คือ ภาครัฐควรดำเนินมาตรการลดการเผาอ้อยต่อไป แต่ควรช่วยเหลือเกษตรกรด้านทุนการผลิต (=3.72) เจ้าหน้าที่ภาครัฐในท้องถิ่นหรือท้องที่เป็นชาวไร่อ้อย (=3.58) มาตรการการหักเงินอ้อยไฟไหม้เป็นการกีดกันท่านจากผลประโยชน์ทางด้านการเงินที่ควรได้รับ (=3.53) และมาตรการให้ชาวไร่อ้อยซื้อเครื่องจักรกลเพื่อตัดอ้อยสด เป็นการผลักภาระให้เกษตรกรต้องลงทุนโดยการกู้หนี้ยืมสิน (=3.53)  และด้านที่สอง มาตรการด้านนโยบาย (=3.11) มีผลกระทบระดับมากอยู่ 2 ข้อ คือ มาตรการลดการเผาอ้อยทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น (=3.86)  และมาตรการลดการเผาอ้อยทำให้ต้องปรับพื้นที่ปลูกอ้อยใหม่ (=3.55) 2. ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากมาตรการลดการเผาอ้อย และการปรับตัวในเชิงวิถีของชาวไร่อ้อย หมู่บ้านท่าสวรรค์ ตําบลท่าสวรรค์ อําเภอนาด้วง จังหวัดเลย กล่าวคือ มาตรการทางด้านกฎหมาย ในฤดูการผลิต ปี 2563-2564 โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกินร้อยละ 20 ต่อวัน ส่งผลต่อรายได้ในครัวเรือนชาวไร่อ้อยลดลงและเพิ่มต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากมาตรการทางด้านกฎหมายมีการบังคับให้โรงงานน้ำตาลจำกัดการรับซื้ออ้อยไฟไหม้ต่อวันจึงมีการลักลอบเผาอ้อยอย่างมาก และชาวไร่อ้อยต้องแข่งขันการจ้างแรงงานระหว่างชาวไร่อ้อยส่งผลสู่การเพิ่มเงินลงทุนของเกษตรกรเพื่อจูงใจแรงงานตัดอ้อยสด ตลอดจนต้องปรับพื้นที่การปลูกอ้อย การจ้างรถตัดอ้อย ทั้งนี้ ชาวไร่อ้อยบางรายจึงมุ่งสู่การทำอ้อยแนวใหม่ เพื่อปฏิบัติตามมาตรการลดการเผาอ้อย ขณะที่การบังคับใช้มาตรการทางด้านนโยบาย กล่าวคือ ผลกระทบจากมาตรการการหักเงินอ้อยไฟไหม้ มาตรการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจัดหารถตัดอ้อย มาตรการส่งเสริมชาวไร่อ้อยซื้อเครื่องจักรกลเพื่อตัดอ้อยสด และมาตรการการบริการของภาครัฐในการตัดอ้อยสด ส่งผลให้ชาวไร่อ้อยต้องลงทุนโดยการกู้หนี้ยืมสิน จ่ายค่าแรงสูงขึ้น หันไปใช้รถตัดอ้อยทดแทนแรงงาน ลดจำนวนพื้นที่ปลูกอ้อย ครัวเรือนหาแหล่งรายได้อื่น และมุ่งใช้แรงงานคนในบ้านตัดอ้อย ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้ชาวไร่อ้อยก็ยังมีการลักลอบเผาอ้อย เนื่องจากนโยบายช่วยเหลือของภาครัฐที่กล่าวไปชาวไร่อ้อยสามารถเข้าถึงได้น้อย และนโยบายก็ไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังพบด้วยว่า การบังคับใช้มาตรการทั้งสองด้านไม่สามารถลดปริมาณการเผาอ้อยในพื้นที่ได้จริง เนื่องจากชาวไร่อ้อยต้องลงทุนสูงในการปรับตัวเพื่อตัดอ้อยสด และเจ้าหน้าที่รัฐที่มาควบคุมการเผาอ้อยมีความสัมพันธ์กับชาวบ้านในชุมชน อนึ่ง เมื่อเผชิญกับผลกระทบด้านการขาดแคลนแรงงาน รายจ่าย และหนี้สิน ชาวไร่อ้อยได้ปรับวิถีการดำรงชีพโดยการลักลอบเผาอ้อยดังที่กล่าวไปแล้ว การแสวงหาหรือการใช้แรงงานนั่นมุ่งสู่แรงงานต่างจังหวัดเพิ่มการจูงใจค่าจ้างที่สูงขึ้น การปรับพื้นที่การปลูกอ้อย กล่าวคือ มีการปรับหน้าดินให้เสมอและปรับแนวแถวอ้อยให้กว้างเหมาะสำหรับรถตัดอ้อย และการหันไปประกอบอาชีพอื่น เช่น การรับจ้าง การขายลอตเตอรี่ และการทำพืชอื่น
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2432
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011380007.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.