Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSomsak Ngaongamen
dc.contributorสมศักดิ์  เงางามth
dc.contributor.advisorVinai Poncharoenen
dc.contributor.advisorวินัย ผลเจริญth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The College of Politics and Governanceen
dc.date.accessioned2019-10-02T03:07:29Z-
dc.date.available2019-10-02T03:07:29Z-
dc.date.issued29/8/2018
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/246-
dc.descriptionMaster of Political Science Program in Politics and Governments (M.Pol.Sci.)en
dc.descriptionรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)th
dc.description.abstractThis Research aims to study: (1) a set of Buddhist moral discourses which was used to seize the power by coup d’état, (2) social conditions or contexts in practicing a set of aforementioned discourses in Thai politics, and (3) its consequences. Researching documents, such as Youtube videos, books, articles and relating researches, were conducted in order to study the roles of Buddha Isara, one of the core leaders of the People’s Democratic Reform Committee (PDRC). The results of the study are as follows: (1) There are six moral discourses of Buddhism which were used to claim the power through coup d’état: A) Thai style democracy discourse, B) good and moral man discourse, C) patriotism discourse, D) monarchy royalty discourse, E) anti-corruption discourse, and F) otherness discourse. These discourses were used by Buddha Isara as a rationale for PDRC’s movement. (2) There are two social conditions or contexts in practicing these discourses in Thai politics: A) Society was shown to be immoral as the impure government and politicians committed scandalous corruption, B) society was convinced that the major institutes of Thailand were undermined by democracy. Buddha Isara argued that democracy was inconsistent with Thai origin and would eliminate or diminish the importance of Thai institutes. (3) The consequences of practicing the discourses: A) The discourses were used to monopolize the domination over morality and assert political rationale for PDRC’s movement, B) the discourses were applied to support the military intervention in the politics by staging a coup, C) the discourses were practiced in order to undermine democracy and patronize anti-democratic regimes, and D) the discourses were used to establish the new principle for the society.  en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “วาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนากับการเมืองไทย : ศึกษาผ่านแนวคิดของพุทธะอิสระ” นี้ มีความมุ่งหมายที่จะ (1) ศึกษาวาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับวาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนาในการกล่าวอ้างเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองผ่านการรัฐประหาร (2) ศึกษาการนำวาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนาว่านำไปใช้กับการเมืองไทยภายใต้เงื่อนไขหรือบริบททางสังคมแบบใด (3) ศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการนำวาทกรรมเชิงศีลธรรมนั้นๆ ไปใช้ว่าเป็นอย่างไร  โดยใช้วิธีการศึกษาผ่านบทบาทการเป็นแกนนำของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)      ของพุทธะอิสระ (พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม) ผ่าน www.youtube.com และหนังสือ บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการศึกษาวิเคราะห์ ในห้วงเวลาที่กลุ่ม กปปส. ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล ผลการศึกษาพบว่า (1) ชุดของวาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับวาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนาที่พุทธะอิสระนำมากล่าวอ้างในการเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองผ่านการรัฐประหารมี 6 ชุดวาทกรรม ได้แก่ ก) วาทกรรมประชาธิปไตย (แบบไทยๆ)  ข) วาทกรรมคนดีมีศีลธรรมแบบพุทธศาสนา ค) วาทกรรมความรักชาติ ง) วาทกรรมความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  จ) วาทกรรมต่อต้านการคอร์รัปชัน ฉ) วาทกรรมความเป็นอื่น  (2) มีการนำวาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนาร่วมกับวาทกรรมอื่นๆ ไปใช้ในเงื่อนไขหรือบริบททางสังคมการเมืองดังนี้คือ ก) เงื่อนไขหรือบริบทที่สังคมถูกประกอบสร้างว่าเป็นสังคมที่ขาดศีลธรรม ข) เงื่อนไขหรือบริบทที่สังคมถูกประกอบสร้างว่าสถาบันหลักของสังคมไทยจะถูกทำลายด้วยระบอบประชาธิปไตย  (3) ผลที่เกิดขึ้นจากการนำวาทกรรมเชิงศีลธรรมมาใช้กับสังคมไทยคือ ก) วาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนาถูกนำมาใช้เพื่อผูกขาดการมีศีลธรรมและถูกนำมากล่าวอ้างในการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของกลุ่ม กปปส. ข) วาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนาถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนเรียกร้องให้กองทัพเข้ามาแทรกแซงอำนาจทางการเมืองผ่านการรัฐประหาร ค) วาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนาถูกนำมาใช้เพื่อกล่าวอ้างในการทำลายระบอบประชาธิปไตยและสนับสนุนระบอบการเมืองที่ตรงข้ามกับประชาธิปไตย ง) วาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนาถูกนำมาใช้เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ให้กับสังคมth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectวาทกรรมth
dc.subjectวาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนาth
dc.subjectการเมืองไทยth
dc.subjectประชาธิปไตยth
dc.subjectdiscourseen
dc.subjectbuddhism moral discourseen
dc.subjectthai politicsen
dc.subjectdemocracyen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleMoral Discourses of Thai Buddhism and Politics: A Case Study of Buddha Isara’s Thoughten
dc.titleวาทกรรมเชิงศีลธรรมของพุทธศาสนากับการเมืองไทย : ศึกษาผ่านความคิดของพุทธะอิสระth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011380011.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.