Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/247
Title: Respirable Dust Concentration and Related Factors on Workers Health in Solid Waste Plants, Municipalities Sisaket
ความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่สามารถหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อภาวะสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในโรงกำจัดมูลฝอยเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
Authors: Warut Chansongsri
วรุตติ์  จันทร์ส่องศรี
Wisit Thongkum
วิศิษฎ์ ทองคำ
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ฝุ่นละอองที่สามารถหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้
ภาวะสุขภาพ
โรงกำจัดมูลฝอย
Respirable Dust
Health Status of Worker
Solid Waste Plants
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study is a Correlational Analytic Research to investigate the relationship between respirable dust. Using a personal air sampler to calculate the average amount of dust in 8 hours and to find the relationship between the respirable dust. Include relevant factors. The health status of workers in the solid waste plants of Municipalities in Sisaket. Using interview forms and 27 occupational lung function tests. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and chi-square The study indicated that the dust did not exceed the standard set by the Occupational Safety and Health Administration: OSHA. Results 25.93% of pulmonary function tests were normal and 74.07% were abnormal. 40% of Lung abnormalities were mild and 10% had moderate restriction, 45% had mild obstruction of the lungs and 5% had severe. 21.21% had persistant cough and 10% had long, frequent cough in the morning. Use of dust protection equipment 47.22% used dust protection masks, 41.67% used cloth as a mask, 63.64% of the total work time dust protection equipment was used and 30.33% it was used occasionally 23.53% of the workers, were exposed to dust and 22.06% were exposed to the odour. The relationship between the amount of dust inhaled to the respiratory system is correlated with the volume of air that can be excreted in the first second of rapid exhalation and full force from fully inhaled. (FEV1) and the volume ratio of exhaled air in the first second of rapid exhalation and full force from full inhalation to the volume of exhaled air and full force. FEV1/FVC were significantly different at 0.05 p=0.029 and p < 0.01 respectively.
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่อาจหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ โดยใช้เครื่องเก็บตัวอย่างอากาศ ชนิด Personal air sampler คำนวณหาปริมาณฝุ่นละอองเฉลี่ยใน 8 ชั่วโมง และหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่อาจหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับภาวะสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในโรงกำจัดมูลฝอยเทศบาลเมืองศรีสะเกษ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และตรวจสมรรถภาพปอดผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 27 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-Square  ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณฝุ่นละอองไม่เกินค่ามาตรฐานของคณะกรรมการบริหารงานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยการประกอบอาชีพสหรัฐอเมริกา ผลตรวจสมรรถภาพปอด ปกติ ร้อยละ 25.93 ผิดปกติ ร้อยละ 74.07 โดยพบความผิดปกติชนิดมีการจำกัดการขยายตัวของปอดระดับเล็กน้อย ร้อยละ 40 ระดับปานกลาง ร้อยละ10  และชนิดมีการอุดกั้นของปอดระดับเล็กน้อย ร้อยละ 45.00 ระดับมาก ร้อยละ 5 มีอาการไอบ่อยๆ ร้อยละ 21.21 และมีอาการไอติดต่อกันเป็นเวลานาน ในตอนเช้า ร้อยละ 10 การใช้อุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละออง มีการใช้หน้ากากแบบผ้า ร้อยละ 47.22 รองลงมาคือใช้เสื้อยืดโพกศีรษะ ร้อยละ 41.67 มีการใช้ตลอดระยะเวลาการทำงานร้อยละ 63.64 รองลงมาใช้เป็นครั้งคราว ร้อยละ 30.33 สภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ต้องสัมผัสฝุ่น ร้อยละ 23.53 และกลิ่นเหม็นจากขยะ ร้อยละ 22.06 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นละอองที่สามารถหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้มีความสัมพันธ์กับค่าปริมาตรอากาศที่สามารถขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่จากการหายใจเข้าเต็มที่ (FEV1)และค่าสัดส่วนระหว่างปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างรวดเร็วและแรงเต็มที่จากการหายใจเข้าเต็มที่ต่อปริมาตรของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ จากการหายใจเข้าเต็มที่ (FEV1/ FVC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 p=0.029 และ p < 0.01 ตามลำดับ
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/247
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011489016.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.