Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2479
Title: Dance Tactics : The Heroic role in Dance Drama of Venika Bunnag National Artist in Performing Arts 2015
กลวิธีการรำ : บทบาทพระเอกละครรำ ของอาจารย์เวณิกา บุนนาค ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พุทธศักราช 2558  
Authors: Nattiya Chuensawang
ณัฐธิยา ชื่นสว่าง
Ourarom Chantamala
อุรารมย์ จันทมาลา
Mahasarakham University
Ourarom Chantamala
อุรารมย์ จันทมาลา
ourarom.c@msu.ac.th
ourarom.c@msu.ac.th
Keywords: กลวิธีการรำ
บทบาท
พระเอก
ละครรำ
Dance tactics
Role
Hero
Dance drama
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Thai performing arts, in particular traditional Thai dancing, is a priceless culture that reflects art and civilization fostered by wisdom of performing artists because it not only manifests beauty, but also outshines unique Thainess. Therefore, it is a national cultural heritage resulted from disciplined practice and long-standing knowledge.           In this research, the researcher aims to study history and work on Thai performing art, namely Lakhon Nok (an all-male stage performance), Lakhon Nai (an all-female stage performance) and Lakhon Phanthang (a hybrid stage performance in which performers talk and sing), of Wenika Bunnak, the national artist of performing arts of B.E. 2558 (2015). Methodology includes a qualitative research, collecting data from documents and information from sampling comprising 22 people, 7 of whom are resource persons, 5 practitioners and 10 general people. The main research tools are a questionnaire, an observing form, an interview form, and research results were presented in the form of a descriptive analysis.           According to the research results, Wenika Bunnak has practiced traditional Thai dance since the very young age. She obtained knowledge from many well-known Thai dancing masters, such as Lady Phaew Sanitwongseni, Lamul Yamakhub, Chaloei Sukhawanit, Manli Khongpraphat and Chamrieng Phutpradap. Thanks to her masters’ abilities and her own gift and persistence in practice the art, Wenika Bunnak was able to understand the character she played deeply. She was continually assigned for public performances, thus nurturing her experiences on traditional Thai dance systematically at the very young age. Her knowledge covers practicum, theorem and how to pass it on to students. Owing to her own distinctive performance as many important characters since she was 12 years old, Wenika Bunnak was selected to act as male characters for Lakhon Nok, Lakhon Nai and Lakhon Phanthang.           As a result, the researcher is interested in studying techniques of performing male roles in traditional Thai dance as they are special, resulting from long-standing knowledge and professional self-experiences, apart from constant practicing. These lead to skills of dancing processes which are regarded as individuals’ unique abilities  of body movement as well as emotion expression to create beauty and elegance according to patterns of each of the traditional Thai dance. All of them can be synthesized by use of harmoniously related body parts, from head to toes, and can be used to develop processes of passing on knowledge about traditional Thai dance so that it becomes more graceful.  
ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทย เป็นวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สะท้อนความเป็นอารยะและเป็นศิลปะซึ่งแฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาของนาฏยศิลปินที่มิได้มีแต่ความงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังแสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่เกิดจากการฝึกฝนและความรู้ที่ถูกบ่มเพาะมาอย่างยาวนาน การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีความมุ่งหมายที่จะศึกษาประวัติและผลงานด้านการแสดงละครนอก ละครใน และละครพันทาง ของอาจารย์เวณิกา บุนนาค ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงพุทธศักราช 2558 และศึกษากลวิธีการรำบทบาทพระเอกละครรำ ของอาจารย์เวณิกา บุนนาค ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พุทธศักราช 2558 ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้จำนวน 7 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 5 คน กลุ่มบุคคลทั่วไปจำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์เวณิกา บุนนาค ได้เข้าฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่วัยเยาว์ โดยได้รับการถ่ายทอดจากบรมครูผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์หลายท่าน อาทิ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ครูลมุล ยมะคุปต์ คุณครูเฉลย ศุขะวณิช ครูมัลลี คงประภัศร์ ครูจำเรียง พุธประดับ เป็นต้น ด้วยความสามารถของครูผู้ถ่ายทอดท่ารำ ผนวกกับพรสวรรค์และความเพียรในการฝึกฝนจนจัดเจน สามารถเข้าถึงตัวละครได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้อาจารย์เวณิกา บุนนาค ได้รับมอบหมายให้แสดงต่อหน้าสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง จึงช่วยให้เกิดการสั่งสมประสบการณ์ทางด้านนาฏศิลป์ไทย มาตั้งแต่วัยเยาว์อย่างเป็นระบบ เกิดทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีความสามารถอย่างสูงยิ่งในด้าน การแสดงนาฏศิลป์ไทย ครอบคลุมทั้งด้านปฏิบัติ ด้านทฤษฎี และการถ่ายทอดศิลปวิทยาการให้แก่ศิษย์ความโดดเด่นปรากฏจากการแสดงในบทบาทตัวละครสำคัญ ๆ จำนวนมาก ตั้งแต่อายุ 12 ปี อาจารย์เวณิกา บุนนาค ได้รับคัดเลือกให้แสดงเป็นตัวพระเอกอย่างต่อเนื่อง ทั้งละครใน ละครนอก ละครพันทาง ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษากลวิธีในการแสดงบทบาทพระเอกละครรำ เป็นเทคนิคพิเศษอันเกิดจากกระบวนความรู้ที่ถูก บ่มเพาะ และจากการสั่งสมประสบการณ์จนจัดเจน ประกอบกับ การหมั่นฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นทักษะในการปฏิบัติกระบวนการรำ ที่จัดเป็นความสามารถเฉพาะบุคคลในการเคลื่อนไหวร่างกาย ในท่วงท่าต่าง ๆ รวมถึงการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่ทำให้เกิดความวิจิตร งดงาม ตามแบบแผนของการแสดงละครแต่ละประเภท ซึ่งสามารถสังเคราะห์ด้วยวิธีการใช้ร่างกายส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบเนียน สามารถนำไปพัฒนากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ของไทยให้เกิดความงดงามยิ่งขึ้น  
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2479
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010682002.pdf8.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.