Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2499
Title: The Linguistic Landscape of Signs with Names of Places in Chiang Mai Province
ภูมิทัศน์ทางภาษาจากป้ายชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่
Authors: Patinya Boonmalert
ปฏิญญา  บุญมาเลิศ
Pathom Hongsuwan
ปฐม หงษ์สุวรรณ
Mahasarakham University
Pathom Hongsuwan
ปฐม หงษ์สุวรรณ
sumalee.c@msu.ac.th
sumalee.c@msu.ac.th
Keywords: ภูมิทัศน์ทางภาษา
อัตลักษณ์
โลกาภิวัตน์
linguistic landscape
identity
globalization
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis is aimed to three topics: studying type and origin from place name sign in Chiang Mai Province related in the linguistic landscape, studying form of language from place name signs in Chiang Mai Province related in linguistic landscape and studying the relation between linguistic landscape and identity of place name sign in Chiang Mai Province by applying the concept of linguistic landscape. It studies the phenomenon of language in 3,431 place name signs in public place in Chiang Mai Municipality, Chiang Mai District Chiang Mai Province and the concept of lingual identity in place name signs in public place. The result presents that type and origin from place name signs in Chiang Mai Province related in the linguistic landscape which is classified two issues. The first issue is that the type of place name signs in Chiang Mai Province presents that Chiang Mai Province is a metropolis where a lot of people live and the government sector makes the fundamental facility and infrastructure completely; moreover, people in this area work as business, service and industry. The second issue is that the origin of place name signs in Chiang Mai Province presents that the origins of place names entitle King, the famous local person, the owner, the seeding, the ethnic, the location, the identification of emotional expression and the belief so as to support the prosperous and the wealth and to make the happiness from the place’s owner including doing the confidence of product and service in this place also. The lingual characters from the place name signs in Chiang Mai Province related in the lingual landscape are classified two issues. The first issue is that the languages of place name signs in Chiang Mai Province are Multilanguage composing Thai Language, Lanna Language, English Language, French Language, Chinese Language, Japanese Language, Korean Language, Arabic Language and Myanmar Language which can be identified the vary in this area and the nature of language in this area; therefore, the Multilanguage results in “Globalization”. The second issue is that the methods of language in place name signs in Chiang Mai Province are composed of the mixed languages, the transliteration, the abbreviation, the homophone and the humor word so as to be modernization, internationality of communication, the outstandings and the attraction to persuade the people passing this place for using service in this place by advertisement and the public relations from place names. The relation between the linguistic landscape and identity appears the place name signs in Chiang Mai Province which is classified six issues. The first issue is that the lingual identity is one of the identities which represent the people in Lanna area. They speak Lanna language even if it isn’t popular in public area but outstanding. The second issue is that the topographical identity relates the area and fixing pattern of place names such as, Doi, Maenam, Jang, Wieng. The third issue is that the metropolis identity reflects the value of ancient area through the present time which combines the modernization liking the dynamic tourism in the historical and archeological site. The fourth issue is that the faith identity is the belief in prosperity and affluence, religious, animals and color naming the place names so as to be auspicious, comfortable and confident in the successful business. The fifth issue is that the ethical identity is the cultural difference mixing each other between metropolis ethnic and Chinese, Muslim and Myanmar ethic in this area. The sixth issue that the relatives identity is the relationship of Northern society which emphasizes their family and relatives because their family and relatives is the fundamental state in the society.
วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมาย 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก ศึกษาประเภทและที่มาจากป้ายชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่สัมพันธ์กับภูมิทัศน์ทางภาษา ประการที่สอง ศึกษาลักษณะทางภาษาจากป้ายชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่สัมพันธ์กับภูมิทัศน์ทางภาษา และประการสุดท้าย ศึกษาความสัมพันธ์ความระหว่างภูมิทัศน์ทางภาษากับอัตลักษณ์ที่ปรากฏจากป้ายชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางภาษาในป้ายชื่อสาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่เป็นข้อมูล จำนวน 3,431 ป้ายชื่อ และใช้แนวคิดอัตลักษณ์ เป็นศึกษาอัตลักษณ์ผ่านภาษาที่ปรากฏในป้ายชื่อสถานที่ในพื้นที่สาธารณะดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า ประเภทและที่มาจากป้ายชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่สัมพันธ์กับภูมิทัศน์ทางภาษา สามารถจำแนกเนื้อหาออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 ประเภทจากป้ายชื่อสถานที่ในในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่แห่งความเป็นเมือง กล่าวคือ พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น โดยมีหน่วยงานของภาครัฐบาลสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน และสร้างระบบสาธารณูปโภคที่เพียบพร้อม นอกจากนี้ ประชาชนในพื้นที่มีการประกอบอาชีพเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการค้า การบริการ และการอุตสาหกรรม ประเด็นที่ 2 ที่มาจากป้ายชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ที่มาของชื่อสถานที่มีการตั้งชื่อ มีการตั้งชื่อสถานที่ด้วยการใช้ พระนามกษัตริย์ บุคคลสำคัญในท้องถิ่น เจ้าของกิจการ พืชพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ บริเวณที่ตั้ง การบ่งชี้กิจการการบรรยายความรู้สึก และความเชื่อ เพื่อเสริมสร้างความเจริญและความมั่งคั่งเป็นสิริมงคลอันพึงปรารถนา สร้างความสุขแก่เจ้าของสถานที่ให้สถานที่ รวมถึง สร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายและการให้บริการในสถานที่ดังกล่าว ลักษณะทางภาษาจากป้ายชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่สัมพันธ์กับภูมิทัศน์ทางภาษา สามารถจำแนกเนื้อหาออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 ภาษาจากป้ายชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่แห่งความเป็นพหุภาษามีการใช้ภาษาไทย ภาษาล้านนา ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีนภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาอาหรับ และภาษาเมียนมา ซึ่งบ่งชี้ถึงความหลากหลายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวอันเป็นลักษณะธรรมชาติของภาษาที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ดังกล่าว อนึ่ง ความเป็นพหุภาษามีผลมาจากปรากฏการณ์ “โลกาภิวัตน์” ประเด็นที่ 2 กลวิธีทางภาษาจากป้ายชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีการใช้การปนภาษา การใช้คำทับศัพท์ การใช้อักษรย่อ การใช้คำพ้องเสียง และการใช้คำแสดงอารมณ์ เพื่อเป็นการสร้างความทันสมัย ความเป็นสากลในการติดต่อสื่อสาร รวมถึง สร้างความโดดเด่น ความดึงดูดใจในการโน้มน้าวให้ผู้ที่พบเห็นได้เข้ามาใช้บริการกับสถานที่ดังกล่าวผ่านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์จากชื่อสถานที่ ความสัมพันธ์ความระหว่างภูมิทัศน์ทางภาษากับอัตลักษณ์ที่ปรากฏจากป้ายชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถจำแนกเนื้อหาออกเป็น 6 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 อัตลักษณ์ภาษา เป็นการสร้างความอัตลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงออกถึงกลุ่มคนในดินแดนล้านนาที่มีการใช้ภาษาในการสื่อสาร ถึงแม้ว่า ภาษาล้านนาอาจจะไม่เป็นที่นิยมใช้กับคนในพื้นที่โดยทั่วไปมากนักแต่ก็มีความโดดเด่น ประเด็นที่ 2 อัตลักษณ์ภูมิลักษณ์ เป็นการการเชื่อมโยงระหว่างลักษณะของพื้นที่กับการกำหนดรูปแบบในการตั้งชื่อสถานที่ได้เช่นกัน เช่น ดอย แม่น้ำ แจ่ง เวียง ประเด็นที่ 3 อัตลักษณ์เมือง เป็นการสะท้อนถึงคุณค่าของพื้นที่อดีตที่ยังปรากฏในปัจจุบัน อันมีการผสมผสานกับความทันสมัยเพื่อเชื่อมโยงความเป็นพลวัตรการท่องเที่ยวในแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประเด็นที่ 4 อัตลักษณ์ความเชื่อเรื่องต่าง ๆ เป็นการนำความเชื่อที่เกี่ยวกับความเจริญและความมั่งคั่ง ศาสนา สัตว์ และสี มาตั้งชื่อสถานที่ เพื่อสร้างความเป็นมงคล ความอบอุ่นทางใจ และความเชื่อมั่นในการประกอบกิจการให้ประสบความสำเร็จ ประเด็นที่ 5 อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมมาผสมผสานซึ่งกันและกัน ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์คนเมืองกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวจีน ชาวมุสลิม ชาวเมียนมาในพื้นที่ และประเด็นที่ 6 อัตลักษณ์ครอบครัวและเครือญาติ เป็นการบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ในสังคมภาคเหนือเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับครอบครัวและเครือญาติ เนื่องจากครอบครัวและเครือญาติเป็นระบบความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานที่สุดในสังคม
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2499
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010161007.pdf11.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.