Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/25
Title: Development of a System for Effective Early Childhood Education in Schools under Office of the Basic Education Commission
การพัฒนาระบบการจัดการการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Suphanut Inngam
ศุภณัฐ อินทร์งาม
Umnat Chanavong
อำนาจ ชนะวงศ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาระบบ
การศึกษาปฐมวัย
ประสิทธิผล
System Development
Early Childhood Education
Effective
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to investigate components and indicators for the effectiveness of early childhood education management in schools under Office of the Basic Education Commission 2) to analyze current conditions and desirable conditions for the effectiveness of early childhood education management in schools under Office of the Basic Education Commission 3) to develop a system for effective early childhood education in schools under Office of the Basic Education Commission 4) to study the result of a system for effective early childhood development in schools under Office of the Basic Education Commission. The research methodology was divided into 4 phases: 1) to study of components and indicators for the effectiveness of early childhood education management from seven experts 2) to analyze current conditions and desirable conditions for the effectiveness of early childhood education management. Sample of this research; school administrators, early childhood teachers of 750 were selected by Multi-stage sampling 3) to develop  a system for effective early childhood education from seven experts 4) to evaluate result of a system for effective early childhood education. The sample consisted of 65: teachers, academicians, educational institution board, parents/guardians and 24 early childhood students. The research instruments were: questionnaires, assessment forms and interview forms. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, average and standard deviation. The results of this study were as follow: 1. The finding indicted that the components of the early childhood education management consisted of 11 components and 41 indicators 1) leadership of administrators 3 indicators, 2) early childhood teacher’s personality 4 indicators 3) facilities and service 4 indicators 4) participation of community and parents/guardians 5 indicators 5) readiness of learners 3 indicators 6) reference policies 2 indicators 7) curriculum development 4 indicators 8) teacher development 4 indicators 9) experience for early childhood 3 indicators 10) environmental management 4 indicators 11) early childhood development assessment 5 indicators. The components of the effectiveness of early childhood education management consisted of 5 components and 25 indicators: physical development 5 indicators, emotional development 4 indicators, social development 6 indicators, intellectual development 7 indicators, satisfaction 3 indicators and satisfaction overall were in the highest level. 2. Current conditions for the effectiveness of early childhood education management 1) current conditions overall practice was in high level 2) desirable conditions overall requirement was in the highest level. 3. A system for effective early childhood education consisted of: the input elements including 1) the leadership of administrators 2) early childhood teacher’s personality 3) facilities and service 4) participation of community parents/guardians 5) readiness of learners 6) reference policies; the process elements including 1) appointment and responsibilities of working groups 2) enhancing knowledge and understanding 3) preparation of assessment tools 4) early childhood teacher development 5) childhood curriculum development 6) experience for early childhood 7) environmental management 8) early childhood development assessment 9) supervision 10) evaluation; the output elements including 1) physical development, 2) emotional development 3) social development 4)intellectual development 5) satisfaction ; the feedback elements including reporting, the sub-system of school including early childhood teacher development system, early childhood curriculum development system, experience for early childhood system, environmental management system, early childhood development assessment. The system of school overall appropriate and feasibility were in the highest level. 4. The result of a system for the effective early childhood education found that 1) the pre-used system and the post-used system were in high level 2) early childhood development overall was in high level 3) satisfaction to a system for effective early childhood education in schools under Office of the Basic Education Commission overall was in highest level.   
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ระยะที่ 3 พัฒนาระบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ระยะที่ 4 ประเมินผลการใช้ระบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้บริหาร ครูปฐมวัย จำนวน 750 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 4 ได้แก่ ครูและบุคลากร กรรมการสถานศึกษาและผู้นำชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 65 คน และนักเรียนชั้นอนุบาล จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล พบว่ามี 11 องค์ประกอบ 41ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3 ตัวบ่งชี้ 2) คุณลักษณะครูปฐมวัย 4 ตัวบ่งชี้ 3) สิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการ 4 ตัวบ่งชี้ 4) ความร่วมมือของชุมชนและผู้ปกครอง 5 ตัวบ่งชี้ 5) ความพร้อมของผู้เรียน 3 ตัวบ่งชี้ 6) นโยบายที่เกี่ยวข้อง 2 ตัวบ่งชี้ 7) การพัฒนาหลักสูตร 4 ตัวบ่งชี้ 8) การพัฒนาครู 4 ตัวบ่งชี้ 9) การจัดประสบการณ์ 3 ตัวบ่งชี้ 10) การจัดสภาพแวดล้อม 4 ตัวบ่งชี้ และ 11) การประเมินพัฒนาการ 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประสิทธิผลการจัดการการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย พบว่ามี 5 องค์ประกอบ 25 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย พัฒนาการด้านร่างกาย 5 ตัวบ่งชี้ พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ 4 ตัวบ่งชี้ พัฒนาการด้านสังคม 6 ตัวบ่งชี้ พัฒนาการด้านสติปัญญา 7 ตัวบ่งชี้ ความพึงพอใจ 3 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินองค์ประกอบตัวบ่งชี้ โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2. การจัดการการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประสิทธิผลการจัดการการศึกษาปฐมวัยสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมากสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ระบบการจัดการการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์ประกอบปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) คุณลักษณะของครูปฐมวัย 3) สิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการ 4) ความร่วมมือของชุมชนและผู้ปกครอง 5) ความพร้อมของผู้เรียน และ6)นโยบายที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบกระบวนการ ประกอบด้วย 1) การแต่งตั้งคณะทำงาน 2) การสร้างความรู้ความเข้าใจ 3) การเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือประเมิน 4) การพัฒนาครู 5) การพัฒนาหลักสูตร 6) การจัดประสบการณ์ 7) การจัดสภาพแวดล้อม 8) การประเมินพัฒนาการ 9) การนิเทศติดตามและ 10)การประเมินผล องค์ประกอบผลผลิต ประกอบด้วย 1) พัฒนาการด้านร่างกาย 2)พัฒนาการด้านอารมณ์- จิตใจ 3) พัฒนาการด้านสังคม 4) พัฒนาการด้านสติปัญญา 5) ความพึงพอใจ องค์ประกอบข้อมูลป้อนกลับ ประกอบด้วย 1) รายงานผล ระบบย่อย ได้แก่ 1) ระบบการพัฒนาหลักสูตร 2) ระบบการพัฒนาครู 3) ระบบการจัดประสบการณ์ 4) ระบบการจัดสภาพแวดล้อม และ 5) ระบบการประเมินพัฒนาการ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการศึกษาการใช้ระบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล พบว่า 1) ผลการดำเนินงานตามกระบวนการของระบบก่อนใช้และหลังใช้ระบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2)พัฒนาการของผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 3) ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ระบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/25
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010560009.pdf4.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.