Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2513
Title: Morphology and Microstructure of the Teleosaurid Osteoderms from Phu Noi excavation site, Kalasin Province of the Phu Kradung Formation, Thailand
สัณฐานวิทยา และโครงสร้างจุลภาคของซากดึกดำบรรพ์แผ่นเกล็ดจระเข้กลุ่มเทเลโอซอริดในหมวดหินภูกระดึง แหล่งขุดค้นภูน้อย จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
Authors: Supanut Bhuttarach
ศุภณัฐ บุตราช
Uthumporn Deesri
อุทุมพร ดีศรี
Mahasarakham University
Uthumporn Deesri
อุทุมพร ดีศรี
uthumporn_deesri@yahoo.com
uthumporn_deesri@yahoo.com
Keywords: แผ่นเกล็ดจระเข้
เทเลโอซอริเด้
มิญชวิทยา
สัณฐานวิทยา
อินโดซิโนซูคัส
Osteoderms
Teleosauridae
Histology
Morphology
Indosinosuchus
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:         The objectives of this research is to study morphology and to examine the histological data of osteoderm remains have been found in associated with the skeleton of Indosinosuchus. At least 120 pieces of osteoderm have been discovered at the Phu Noi excavation site. The results showed 7 distinctive morphological features: cervical, trunk, lumbar-sacral, caudal, thoracic, thoracic margin, and non-identifiable osteoderms, probably the end of caudal osteoderms or ventral caudal osteoderms. It was also found that there are 4 different in shape from those teleosaurid were found, show that the Phu Noi excavation site is increasing diversity in Crocodylian. Morphological comparison revealed that the number of dorsal osteoderms presumably range from 40 to 45 pairs, and nearly 100 to 110 of ventral osteoderms and approximately 20 pairs of caudal ventral osteoderms. It was also found that Indosinosuchus is possible more flexibility in hip to tail area than other teleosaurids, as there is a medial margin or a region where each pair of osteoderms connect in the lumbar-sacral to the caudal area, is curve. As a result, the connection is not possible throughout the median margin by forming a gap between the osteoderms. This indicates that the scales from the crocodile's hip to the tail are more flexible than the rest of the scales. The histology study of various osteoderms morphological types was located to resemble teleosaurids and another crocodylian. However, there are additional observations from this study: 1) The deepest superficial cortices in almost osteoderms found a combination of woven-fibered bone tissues and relatively dense primary osteons, especially in the keel and the central region of the non-keel osteoderms. Therefore, combined of the bone tissues in this area was assumed the center of the direction of resorption and reconstruction pit cycles. 2) atypical growth of bone tissue was established on the basal cortices through the core region to the deep superficial cortices in the cervical osteoderms may be due to some abnormality during life.
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา และเพื่อตรวจสอบข้อมูลมิญชวิทยาของแผ่นเกล็ดจระเข้สายพันธุ์ Indosinosuchus โดยอาศัยซากดึกดำบรรพ์ของแผ่นเกล็ดจระเข้ ที่พบในแหล่งขุดค้นภูน้อย อย่างน้อย 120 ชิ้น ผลการศึกษาพบว่าสามารถจัดจำแนกแผ่นเกล็ดได้ทั้งหมด 7 รูปแบบ แบ่งเป็นแผ่นเกล็ดบริเวณส่วนคอ ลำตัวส่วนหลัง ส่วนเอว - สะโพก ส่วนหาง ส่วนอก ส่วนขอบของอก และที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่ามีแผ่นเกล็ดที่มีรูปร่างแตกต่างไปจากแผ่นเกล็ดจระเข้ในวงศ์ teleosauridae ที่รายงานไว้ในแหล่งขุดค้นภูน้อย จำนวน 4 แผ่น แสดงให้เห็นว่าแหล่งขุดค้นภูน้อยมีความหลากหลายของสายพันธุ์จระเข้มากยิ่งขึ้น การศึกษาสัณฐานวิทยาพบว่าแผ่นเกล็ดของจระเข้สกุล Indosinosuchus อาจมีจำนวนแผ่นเกล็ดส่วนหลัง ประมาณ 40 - 45 คู่ แผ่นเกล็ดส่วนท้อง ประมาณ 100 - 110 แผ่น และแผ่นเกล็ดด้านท้องส่วนหางประมาณ 20 คู่ การที่แผ่นเกล็ดของจระเข้ในสกุล Indosinosuchus มีความยืดหยุ่นในบริเวณช่วงสะโพกไปจนถึงส่วนหางมากกว่าจระเข้สกุลอื่นในวงศ์ Teleosauridae อาจเป็นลักษณะที่พบได้ว่า ขอบด้านในที่เป็นตำแหน่งเชื่อมต่อกันระหว่างแผ่นเกล็ดแต่ละคู่ในช่วงเอวหรือตอนต้นของสะโพกและบริเวณหาง เป็นเส้นโค้ง ส่งผลให้การเชื่อมต่อกันเกิดได้ไม่ตลอดทั้งแผ่น โดยเกิดเป็นช่องว่างระหว่างแผ่น สำหรับการศึกษาโครงสร้างจุลภาคของแผ่นเกล็ด พบว่าแผ่นเกล็ดทั้งหมดแสดงลักษณะคล้ายคลึงกับจระเข้ในวงศ์ Teleosauridae และจระเข้สายพันธุ์อื่น หากแต่มีข้อสังเกตเพิ่มเติมจากการศึกษาในครั้งนี้ คือ ชั้น deepest superficial cortices ของแผ่นเกล็ดส่วนใหญ่ พบการรวมตัวกันของเนื้อเยื่อแบบ woven-fibered bone และ primary osteons ที่ค่อนข้างหนาแน่น โดยเฉพาะบริเวณสันของเกล็ด และบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของแผ่นเกล็ดที่ไม่ปรากฏสัน จึงอนุมานได้ว่า บริเวณที่พบการรวมตัวของเนื้อเยื่อประเภทนี้ จะเป็นศูนย์กลางของทิศทางการเกิด resorption และ reconstruction cycles ของหลุมบนแผ่นเกล็ด และพบว่ามีการเจริญของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติบนชั้น basal cortices ในแผ่นเกล็ดส่วนคอ เจริญตัดผ่านแนวของเนื้อเยื่อบางส่วนบนชั้น basal cortices ผ่านชั้น core region ไปจนถึงชั้น deep cortices region ลักษณะการเจริญของเนื้อเยื่อดังกล่าวนี้ อาจเกิดจากความผิดปกติบางประการในขณะที่จระเข้ยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นได้
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2513
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010256005.pdf12.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.