Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2532
Title: Model of Supervision to Support the Management of STEM Learning for Elementary School Teachers
รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Khanittha Chanasri
ขนิษฐา ชนะศรี
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
Mahasarakham University
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
tharinthorn.n@msu.ac.th
tharinthorn.n@msu.ac.th
Keywords: รูปแบบการนิเทศ
การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา
Model of Supervision
Support the Management of STEM Learning
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the components and indicators of supervision to promote learning management according to the STEM guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission. 2) To study the Best Practice of supervision to promote learning management according to the STEM guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission.3) To develop a supervision model to promote learning management according to the STEM guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission. 4) To evaluate the use of the supervision model for learning management according to the STEM guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission. Use research and development methods by conducting research in 4 phases : Phase 1 studied the elements and indicators of supervision to promote learning management according to the STEM guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission. It is a study and analysis. Composition with a synthesis of papers and related research. in-depth interview The tools used include Document synthesis form, interview Phase 2 studied the  Best Practice of supervision to promote learning management according to the STEM guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission. Education at schools with excellent practices. There is a way to select a specific target audience. And there are indications for the selection of tools used, including Document synthesis form, interview form Phase 3 Development model of supervision to promote learning management according to the STEM guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission. with inspection quality, suitability a feasible and useful form of supervision developed by Expert Reference Seminar The tool used is to verify and verify the developed supervision model. Phase 4 Assesses the use of a supervision model to promote learning management according to the STEM guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission. This study was to study the results of applying the developed supervision model to target schools. that is obtained with specific indications and is an overview of the Use a developed supervision model. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation. The research findings found that : 1. The elements and indicators of supervision to promote learning management according to the STEM guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission can be divided into 4 main components and 20 indicators as follows: 1) Relationship development, 5 indicators, 2) Organizational culture development planning, 5 indicators, 3) Practice development, 5 indicators, and 4) Assessment to development, 5 indicators. 2. The Best Practice  to promote learning management according to STEM education guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission. namely 1) Relationship development consisting of understanding differences between individuals respect for the opinions of others and having good human relations with each other 2) Organizational culture development planning, consisting of promoting the expression of opinions Providing an environment conducive to operations and support of innovative media and technology 3) Practice development, consisting of teamwork data study Sequence of steps before work And creating motivation to occur in the work and 4) evaluation for development, consisting of clear measurement and evaluation objectives Measurement and evaluation covers behaviors, abilities, and characteristics. and accurate data analysis. The overall picture has the most appropriate level. 3. Model of Supervision to Support the Management of STEM Learning for Elementary School Teachers developed in the 4D supervision Model is appropriate Possible and useful at a high level. 4. The effect of using the supervision model to promote learning management according to the STEM guidelines for primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission developed in the 4D supervision Model as follows: 4.1 The learning outcomes of the workshop revealed that the participants had knowledge and understanding. about the supervision of learning management that has been developed pass the assessment criteria for everyone which has the latter score development is higher than before development. 4.2 Observing the class that affect the ability of teachers The overall picture is at the level of improvement and affects the ability of the supervisors. The overall picture is good. 4.3 The overall effect of using the 4D supervision Model supervision model was at a high level. The 4D supervision Model supervision model is based on the principle of systematic supervision process under the corporate culture of helping support and mutual trust This is a guideline for elementary school teachers to use to promote learning management according to the STEM guidelines.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ของการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนาโดยดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ องค์ประกอบด้วยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 ศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ของการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) โดยมีวิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง และมีข้อบ่งชี้ในการคัดเลือก เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยการตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสม ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นโดยการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบและยืนยันร่างรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 4 ประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาผลการนำรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ที่ได้มาแบบเจาะจงแบบมีข้อบ่งชี้และเป็นการสรุปภาพรวมของการ ใช้รูปแบบการนิเทศที่พัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งได้ 4 องค์ประกอบหลัก 20 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาความสัมพันธ์ มี 5 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการวางแผนพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร มี 5 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการพัฒนาการปฏิบัติ มี 5 ตัวบ่งชี้ และ 4) การประเมินผลสู่การพัฒนา มี 5 ตัวบ่งชี้ 2. วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ของการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 1) การพัฒนาความสัมพันธ์ ประกอบด้วย การเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล การยอมรับนับถือความคิดเห็นของบุคคลอื่น และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 2) การวางแผนพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร ประกอบด้วย การส่งเสริมให้เกิดการแสดงออกด้านความคิดเห็น การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงาน และการสนับสนุนสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี 3) การพัฒนาการปฏิบัติ ประกอบด้วย การทำงานเป็นทีม การศึกษาข้อมูล ลำดับขั้นตอนก่อนปฏิบัติงาน และการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในการทำงาน และ 4) การประเมินผลสู่การพัฒนา ประกอบด้วย จุดมุ่งหมายการวัดและประเมินผลชัดเจน การวัดและประเมินผลครอบคลุมด้านพฤติกรรมความสามารถและคุณลักษณะ และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้อง ภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด 3. รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น ได้เป็นรูปแบบการนิเทศแบบ 4D supervision Model มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก 4. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นแบบ 4D supervision Model ดังนี้ 4.1 ผลการเรียนรู้โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ผู้ร่วมพัฒนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน ซึ่งมีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา 4.2 การสังเกตชั้นเรียน ที่ส่งผลต่อความสามารถของผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับ ปรับปรุง และส่งผลถึงความสามารถของผู้นิเทศ ภาพรวมอยู่ในระดับดี 4.3 ผลของการใช้รูปแบบการนิเทศแบบ 4D supervision Model ภาพรวมอยู่ในระดับมาก รูปแบบการนิเทศแบบ 4D supervision Model ตั้งอยู่บนหลักการ กระบวนการนิเทศอย่างเป็นระบบ ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรแห่งความช่วยเหลือเกื้อกูลและศรัทธาซึ่งกัน ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับครูประถมศึกษานำไปใช้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2532
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010562021.pdf10.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.