Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2533
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKanjanar Sattarutnumpornen
dc.contributorกัญจนา สัตตรัตนำพรth
dc.contributor.advisorPacharawit Chansirisiraen
dc.contributor.advisorพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิรth
dc.contributor.otherMahasarakham Universityen
dc.date.accessioned2024-08-28T11:45:51Z-
dc.date.available2024-08-28T11:45:51Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued19/11/2023
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2533-
dc.description.abstractThe purposes of the study were 1) to study the elements and indicators of the upright schools under the office of basic education commission, 2) to investigate the current situations, desirable situations and needs of driving the upright schools under the office of basic education commission in the northeastern, 3) to develop the strategies in driving the upright schools under the office of basic education commission and 4) to study the results of implementation the strategies in driving the upright schools under the office of basic education commission. There were 4 phases of the study. Phase 1 was the study related to the elements and the concepts of strategies in driving the upright schools under the office of basic education commission. Structured interview form was used to interview the experts, the congruence and the propriety of the strategies’ elements and indicators were also verified by the experts. Phase 2 was the study related to the current situations, desirable situations and needs of driving the upright schools under the office of basic education commission in the northeastern by using the questionnaire. Phase 3 was the development of the strategies in driving the upright schools under the office of basic education commission. The draft of the strategies was evaluated in terms of propriety and feasibility by using connoisseurship. The result of evaluation used to develop the completed strategies. Phase 4 was investigation the results of implementation the strategies in driving the upright schools under the office of basic education commission. The statistics used were percentage, mean and standard deviation. The results of the study revealed as follows; 1. The results of investigation the related documents revealed that the strategies driving of upright school consisted of 4 elements; 1) objectives aspect, 2) strategies aspect, 3) planning, projects and activities aspect, 4) indicators and keys successful aspect. The elements of upright school project comprised of 16 indicators; 1) academic administration consisted of 4 indicators, 2) budget administration consisted of 3 indicators, 3) personnel administration consisted of 2 indicators, 4) general administration comprised of 2 indicators, and 5) results and successful comprised of 5 indicators. 2. The currents situations of driving of upright school under the office of basic education commission in the northeastern overall rated in moderate level, the desirable situations rated in more level and the needs of driving of upright school under the office of basic education commission revealed according to the highest mean; results and success, academic administration, budget administration, personnel administration, and general administration respectively. 3. The results of development the strategies driving in upright school under the office of basic education commission in the northeastern indicated that there were 5 strategies; 1) setting network, 2) setting agreement, 3) smart action, 4) smart advice, and 5) success. The feasibility and appropriateness of the strategies rated in more level evaluated by connoisseurship and there was a handout of the strategies driving in upright school under the office of basic education commission in the northeastern.     4. The results of implementation the strategies driving in upright school under the office of basic education commission in the northeastern yielded that the results of process evaluation according to the standard of upright school project administration overall rated in the most level in all standards.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ ของโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) เพื่อศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดของโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญตามแบบแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และตรวจสอบความสอดคล้อง เหมาะสมขององค์ประกอบ และตัวชี้วัด ของกลยุทธ์การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสอบถาม ระยะที่ 3 การพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการจัดทำร่างกลยุทธ์ ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ร่างกลยุทธ์การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และจัดทำกลยุทธ์ฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 4 การศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเรียงลำดับความต้องการจำเป็น PNImodified     ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ผลศึกษาเอกสารหลักการแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต ได้องค์ประกอบกลยุทธ์ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) เป้าประสงค์ 2) กลยุทธ์ 3) แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 4) ตัวชี้วัดความสำเร็จ และองค์ประกอบของโรงเรียนสุจริต 5 องค์ประกอบ 16 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) การบริหารงานวิชาการ 4 ตัวชี้วัด 2) การบริหารงานงบประมาณ 3 ตัวชี้วัด 3) การบริหารงานบุคคล 2 ตัวชี้วัด 4) การบริหารงานทั่วไป 2 ตัวชี้วัด และ 5) ผลลัพธ์และภาพแห่งความสำเร็จ 5 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพปัจจุบันอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นของการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 มาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดคือ มาตรฐานที่ 5 ผลลัพธ์และภาพแห่งความสำเร็จ รองลงมาได้แก่ มาตรฐานที่ 1 การบริหารงานวิชาการ, 2. การบริหารงานงบประมาณ มาตรฐานที่ 3 การบริหารงานบุคคล และมาตรฐานที่ 4 การบริหารงานทั่วไป มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด 3. ผลการพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า กลยุทธ์การดำเนินการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งหมด 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 Set Network สร้างเครือข่ายความร่วมมือ กลยุทธ์ที่ 2 Set Agreement : ทำข้อตกลงในการพัฒนางาน กลยุทธ์ที่ 3 Smart Action : มุ่งสู่ความสำเร็จ กลยุทธ์ที่ 4 Smart Advice : พัฒนาร่วมกันด้วยการนิเทศ กลยุทธ์ที่ 5 Success : ประสบความสำเร็จมอบรางวัล กลยุทธ์มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้มาก โดยการสัมมนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญจนได้คู่มือกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4. ผลการใช้กลยุทธ์การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย พบว่า โรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำกลยุทธ์ไปใช้และมีผลการประเมินการดำเนินการตามมาตรฐานการบริหารโรงเรียนสุจริตอยู่ในระดับมากที่สุดทุกมาตรฐานth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectกลยุทธ์th
dc.subjectโรงเรียนสุจริตth
dc.subjectมาตรฐานโรงเรียนสุจริตth
dc.subjectStrategiesen
dc.subjectUpright Schoolen
dc.subjectUpright School Standarden
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.titleThe Strategies of Driving Upright Schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeasternen
dc.titleกลยุทธ์การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorPacharawit Chansirisiraen
dc.contributor.coadvisorพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิรth
dc.contributor.emailadvisorwittaya.c@msu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorwittaya.c@msu.ac.th
dc.description.degreenameDoctor of Education (Ed.D.)en
dc.description.degreenameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineEducational Administrationen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาการบริหารการศึกษาth
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010562023.pdf20.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.