Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2537
Title: The Development of Inquiry-Based Learning Together with Graphic Organizers the Topic of Ecosystem for Mathayomsuksa Three Students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: Wilailak Wichairam
วิไลลักษณ์ วิชัยรัมย์
Titiworada Polyiem
ฐิติวรดา พลเยี่ยม
Mahasarakham University
Titiworada Polyiem
ฐิติวรดา พลเยี่ยม
titiworada.p@msu.ac.th
titiworada.p@msu.ac.th
Keywords: การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
ผังกราฟิก
Inquiry-Based Learning
Graphic Organizers
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to develop of Inquiry-Based Learning Together with Graphic Organizers the Topic of Ecosystem for Mathayomsuksa 3 students, compared with 75/75 criteria 2) to compare the analytical thinking ability of Mathayomsuksa 3 students on the topic of Ecosystem by using Inquiry-Based Learning and Graphic Organizer to reach a level higher than 75 percent. 3) to compare learning achievement between before studying and after studying by using Inquiry-Based Learning Together with Graphic Organizers of Mathayomsuksa 3 students. 4) to study a level of students satisfaction toward instruction after by using Inquiry-Based Learning Together with Graphic Organizers  of mathayomsuksa 3 students.  The sample group in this research were 43 students of mathayomsuksa 3/8 frome buriram pitthayakhom school, of the 2022 academic year. The sample group was selected by cluster Random Sampling. The research instruments were 1) the learning management plan on Ecosystem 6 lesson plan 12 hours 3) the learning achievement test on the learning management plan on Ecosystem 4) the satisfaction toward instruction. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, One-Smple t-test, t-test Dependent. The results showed that: 1. The efficiency of The Development of Inquiry-Based Learning Together with Graphic Organizers the Topic of Ecosystem for Mathayomsuksa 3 students was 84.10/87.29. 2. The analytical thinking ability of Mathayomsuksa 3 students after the intervention was 87.09 percent, which was higher than the established requirement at 75 percent. 3. The comparison of learning achievement before and after studying by using Inquiry-Based Learning Together with Graphic Organizers the Topic of Ecosystem for Mathayomsuksa 3 students was achievement of surface area and volumne in posttest was higher than in pretest. was statistically significant at the .05 level. 4. The level of students' satisfaction toward instruction based on Inquiry - Based Learning Together with Graphic Organizers the Topic of Ecosystem was at the mean scores of 4.73, which was at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับผังกราฟิก กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง ระบบนิเวศ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง ระบบนิเวศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 43 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ระบบนิเวศ 6 แผน 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบนิเวศ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบนิเวศ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน one-Sample t-test และt-test Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ  84.10/87.29 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2. การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับผังกราฟิก เท่ากับร้อยละ 87.09 สูงกว่าร้อยละ 75ของเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง ระบบนิเวศ มีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง ระบบนิเวศ มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.73 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2537
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010552022.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.