Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2541
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSomchai Posrien
dc.contributorสมชาย โพธิ์ศรีth
dc.contributor.advisorPacharawit Chansirisiraen
dc.contributor.advisorพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิรth
dc.contributor.otherMahasarakham Universityen
dc.date.accessioned2024-08-28T11:45:53Z-
dc.date.available2024-08-28T11:45:53Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued15/10/2023
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2541-
dc.description.abstractThis research aimed to address the following objectives: 1) To examine the components and indicators of participation in quality assurance operations within small schools affiliated with the Basic Education Commission Office. 2) To investigate the current situation, desirable conditions, and essential requirements for participation in quality assurance operations within the small schools. 3) To develop models of participation in quality assurance for small schools. 4) To evaluate the outcomes of implementing collaborative participation models in quality assurance operations for the small schools affiliated with the Basic Education Commission Office. Bottom of Form The research was divided into four phases. Phase 1 involved the examination of components and indicators of participation from academic literature and previous research. The data collected in this phase were reviewed and confirmed by nine qualified experts. Phase 2 investigated the current situation, desirable conditions, and requirements for participation in educational assurance based on the perspectives of the sample group, consisting of 385 individuals who were administrators and teachers responsible for educational quality assurance. These samples were selected using a multistage sampling technique. Phase 3 focused on the development of participation models which was based on the lesson learned from the schools with excellent quality assurance practices. The model’s formulation and validation were investigated and verified in a seminar participated by nine experts in the field. Phase 4 involved the application of the participation model to target schools. Research instruments included group discussions, questionnaires, interviews, and assessment forms. Statistics used for data analysis included mean, frequency, percentage, standard deviation, and the calculation of the Priority Needs Index (PNImodified). The results are as follows. 1. The results showed that the components and indicators of participation in quality assurance operations for the small schools consisted of five components and thirteen indicators as follows: Component 1 - Strategic Planning Participation (with 3 indicators), Component 2 - Decision-Making Participation (with 3 indicators), Component 3 - Operational Participation (with 2 indicators), Component 4 - Benefits Realization Participation (with 2 indicators), and Component 5 - Monitoring Participation (with 3 indicators). These elements were rated with the highest level of probability.  2. For the current situation, the overall participation in quality assurance operations for small schools was found at a moderate level. Meanwhile, the desired conditions for collaborative participation in quality assurance operations among the small schools were rated, overall, at the highest level. Regarding the essential requirements for participation in quality assurance operations among small schools, the top-ranked component in this category was participation in operational activities, while the lowest-ranked component was participation in monitoring activities. 3. The participation model in quality assurance operations for small schools developed in this research consisted of five learning units and it required duration of 120 hours of learning time. The assessment results indicated that the model's suitability, feasibility, and utility had been rated at the highest level while the model's accuracy was rated at a high level. 4. Following the application of the participation model for quality assurance operations to the small schools, it was observed that the model had yielded a significant impact on the administrators and teachers in the targeted schools. The participants reported to have gained increasing knowledge, understanding, and awareness of their roles in quality assurance. School administrators had been acknowledged to adjust work processes and emphasize greater participation from all stakeholders. Teachers could develop teaching plans that prioritize student-centric approaches, resulting in desirable characteristics among the students with higher learning efficiency.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขนาดเล็ก 3) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขนาดเล็ก และ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการมีส่วนร่วม โดยการสังเคราะห์จากเอกสารวิชาการและงานวิจัย แล้วตรวจสอบยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 385 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบ โดยการศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการประกันคุณภาพ ทำการยกร่างรูปแบบ และตรวจสอบยืนยันโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และระยะที่ 4 นำรูปแบบการมีส่วนร่วมไปใช้กับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodiflied) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (มี 3 ตัวบ่งชี้) องค์ประกอบที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (มี 3 ตัวบ่งชี้) องค์ประกอบที่ 3 ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (มี 2 ตัวบ่งชี้) องค์ประกอบที่ 4 ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (มี 2 ตัวบ่งชี้) และ องค์ประกอบที่ 5 ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตาม (มี 3 ตัวบ่งชี้) ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และความต้องการจำเป็นของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า อันดับแรกคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ส่วนลำดับสุดท้าย คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตาม 3. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย หลักสูตรการพัฒนา 5 หน่วยการเรียนรู้ รวมระยะเวลาการพัฒนา 120 ชั่วโมง ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านมีการใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนด้านความถูกต้องของรูปแบบ อยู่ในระดับ มาก 4. ผลการนำรูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขนาดเล็ก ไปใช้กับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย พบว่า รูปแบบการพัฒนาส่งผลต่อผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงบทบาทเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพของสถานศึกษามากขึ้น โดยผู้บริหารสถานศึกษามีการปรับกระบวนการทำงานและมีแผนปฏิบัติการที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนมากขึ้น ครูสามารถพัฒนาแผนจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectรูปแบบการมีส่วนร่วมth
dc.subjectการประกันคุณภาพการศึกษาth
dc.subjectสถานศึกษาขนาดเล็กth
dc.subjectParticipation Modelen
dc.subjectEducational Quality Assuranceen
dc.subjectSmall Schoolsen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.titleModel of Participation in the Educational Standard Assurance of the Small Schools under the Office of Basic Educational Commissionen
dc.titleรูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorPacharawit Chansirisiraen
dc.contributor.coadvisorพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิรth
dc.contributor.emailadvisorwittaya.c@msu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorwittaya.c@msu.ac.th
dc.description.degreenameDoctor of Education (Ed.D.)en
dc.description.degreenameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineEducational Administrationen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาการบริหารการศึกษาth
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010561013.pdf8.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.