Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2544
Title: | The Development of Blended Learning Management Based on Davies' Concept of Teaching Practical Skills in Career Subject to Promote Academic Achievement and Practical Skills for Secondary 2 Students การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ วิชาการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการปฏิบัติงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 |
Authors: | Kingkarn Sati กิ่งกาญจน์ เสติ Thapanee Seechaliao ฐาปนี สีเฉลียว Mahasarakham University Thapanee Seechaliao ฐาปนี สีเฉลียว thapanee.see@msu.ac.th thapanee.see@msu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน แนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการปฏิบัติงาน Blended Learning Davies' concept of teaching practical skills Academic achievement Practical skills |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of this research were 1) to develop blended learning management based on Davies' concept of teaching practical skills in Career subject for secondary 2 students to be of high quality, 2) to determine the effectiveness of learning management in accordance with the 75/75 criteria, 3) to compare post-academic achievement with the 80% threshold compared to a full score,
4) to compare practical skills with the 70% threshold compared to a full score, and 5) to study student satisfaction. Samples used in this research were 19 students in Secondary 2 of Ban Khok Sung Nong Siao Nong Khi School who are studying in Semester 1 of the academic year 2023. Research instruments include: 1) a blended learning plan based on Davies' practical skills teaching concept, 2) an achievement test, 3) a performance skills test, and 4) a student satisfaction questionnaire. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation and tested the hypothesis using the t – test for One Sample. The results showed that
1) the development of blended learning management based on Davies' practical skills teaching concept had a very good quality assessment of the learning management plan, 2) the blended learning management based on Davies' practical skills teaching concept had an efficiency of instructional management equal to 80.16/82.46, which was defined as 75/75, 3) the post-academic achievement was 82.46%, which was higher than the threshold of 80% compared to a full score of significant 0.05, 4) students who received learning management had practical skills 79.86% , which was higher than the threshold of 70% compared to a full score of significant 0.05 and 5) students were most satisfied with learning activities ( x̅ = 4.68, S.D. = 0.57). การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคุณภาพ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติกับเกณฑ์ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกสูงหนองเสียวหนองขี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที (t – test for One Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ มีผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก 2) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.16/82.46 เป็นไปตามที่กำหนดไว้คือ 75/75 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 82.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้มีทักษะการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 79.86 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅ = 4.68, S.D. = 0.57) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2544 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010583003.pdf | 14.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.