Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/261
Title: The Development of Standardize Data Quality management for Sepsis in Roi Et Province 
การพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อจังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Rujira Chanhorm
รุจิรา จันทร์หอม
Niruwan Turnbull
นิรุวรรณ เทิร์นโบล์
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การพัฒนา
คุณภาพข้อมูล
ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ
ข้อมูลสุขภาพ
Development
Data quality
Sepsis
Health Informatics
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Quality information is crucial information to support the decision for strategically planning of the health system. This action research was conducted for development the standardize of data quality management for Sepsis in Roi Et Province. The study was divided into 3 phases: 1) Problem-solving procedure phase, 2) Practice phase, 3) Evaluate phase. The sample was consisted of 39 respondents who were involved in quality management. Data collection was obtained through questionnaires, observations, interviews before being analyzed by using descriptive statistics, such as Frequency, Percentage, Average, Standard Deviation, Chi-square test, and Pearson’s Correlation, to obtain qualitative data, a content analysis was employed. The findings revealed that the process of data quality management for Sepsis included 6 stages: 1) The context and problem situation, 2) the cause analysis, and the action plan by stakeholder, 3) the policies, 4) human development, 5) the supervision and, 6) reflection and evaluation. The finding emerged the process of Ps Ls Ms Ss, which are: Policy and Participation, Learn and LineApp for communication, Management and Monitoring, Show and Share to exchange of learning and reflection. As a result, those who are involved have better knowledge, attitude and practice. The accuracy of the data was 99.98 %, the time was 100% and the satisfaction was at the high level of 54.6% (Mean = 2.56, SD = 0.50). It has also found that the relationship among the activities for quality management for Sepsis were participant’s knowledge, attitude of quality management for Sepsis, and the awareness of participants with significantly statistics (p<.001). The results of the development of standardize data quality management for Sepsis in Roi Et Province comprised factors of success as follows. Executive policy Involvement of multidisciplinary teams Including developing people to have knowledge, awareness and continuous monitoring. This will make the operation more efficient.
ข้อมูลที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้เกิดระบบสุขภาพที่ดี การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อจังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ขั้นศึกษาสภาพปัญหา 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นประเมินผลกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการคุณภาพข้อมูล จำนวน 39 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบใช้ Chi-square test, Pearson’s Correlation ส่วนข้อมูลคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ประกอบด้วย  6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นศึกษาบริบทและสภาพปัญหา 2) ขั้นประชุมร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุและจัดทำแผนปฏิบัติการ 3) ขั้นประชุมมอบนโยบาย 4) ประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากร 5) ขั้นนิเทศติดตาม 6) ขั้นสะท้อนกลับ ถอดบทเรียน และประเมินผล ภายใต้กระบวนการ   Ps Ls Ms Ss (Policy and Participation, Learn and Line, Management and Monitoring, Show and Share) โดยใช้หลักการนโยบายและการมีส่วนร่วมของทุกวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง การเรียนรู้และช่องทางในการสื่อสาร การบริหารจัดการและการกำกับติดตาม และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสะท้อนกลับข้อมูล ส่งผลให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติที่ดีขึ้น คุณภาพข้อมูลด้านความถูกต้อง ครบถ้วน คิดเป็นร้อยละ 99.98  ความทันเวลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 54.6 (Mean = 2.56, SD = 0.50) นอกจากนี้ ยังพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ด้านความรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้านเจตคติในการพัฒนาคุณภาพข้อมูล และด้านความตระหนักของเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 สรุปผลการพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อจังหวัดร้อยเอ็ด มีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ นโยบายผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความตระหนัก และการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/261
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011480007.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.