Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2616
Title: | Relationship between Language and Ethnic Identity of Tai Loei ethnic ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนไทเลย |
Authors: | Sasithorn Onlao ศศิธร อ่อนเหลา Pathom Hongsuwan ปฐม หงษ์สุวรรณ Mahasarakham University Pathom Hongsuwan ปฐม หงษ์สุวรรณ sumalee.c@msu.ac.th sumalee.c@msu.ac.th |
Keywords: | ภาษา อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ไทเลย ภาษาไทเลย language ethnic identity Tai Loei Tai Loei language |
Issue Date: | 3 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aims to study the relationship between language and ethnic identity of the Tai Loei people. This study By analyzing the results of the study, 3 issues were summarized according to the set objectives as follows.
Sound characteristics of the Thai language, The results of the study of the language characteristics of the "Tai Loei" ethnic group by analyzing the sound system of the Tai Loei language in all 6 dialects, consisting of 3 types of phonemes, including consonant phonemes. Vowel phonemes and tonal phonemes have Language phonemes. Tai Loei is made up of 3 syllable phonemes, namely consonant phonemes. Vowel phonemes and tone phonemes They appear together with the following structure: 1) CV T, 2) CVC T, 3) CV: T, 4) CV: C T, 5) CVV T, 6) CVVC T and 7) CCV: C T . with 3 types of phonemes, including consonant phonemes consisting of The 20 single consonant phonemes are /m-/ ,/n-/ ,/N-/ ,/p-/ ,/l-/ ,/ph-/,/b-/ ,/t-/ ,/th-/,/d-/ ,/k-/ ,/kh-/ ,/?-/,/f-/ ,/s-/ ,/h-/ ,/t -/,/J-/ ,/j-/ ,/w-/Serves as 20 initial consonants and 9 final consonants, namely /-m/ ,/-n/ ,/-N/ ,/-p/ ,/-t/ ,/-k/ ,/-?/ ,/-j/ ,/-w/ Consonant diphthongs have two phonemes : /kw-/ and/khw-/ phonemes Vowels consist of 9 short vowel units and 9 long vowel units, totaling 18 phonemes as follows: 2) vowel phonemes Consisting of 18 single vowel phonemes as follows:/i/ ,/i:/ ,/e/ ,/e:/ ,/E/ ,/E:/ ,/M/ ,/M:/ ,/@/ ,/@:/ ,/a/ ,/a:/, /u /,/u:/ ,/o/ ,/o:/ ,/O/ ,/O:/ and 3 vowel shifted or compound phonemes as follows./i:a /,/M:a/, /u:a/ , tones of 6 sub-districts, classified into 2 sub-districts: 1) Thai Loei sub-dialect with 5 tones in 4 sub-districts, namely (1) Tai Loei language, Sai Khao sub-district. (2) Tai Loei language, Na O subdistrict; (3) Tai Loei language, Saeng Pha subdistrict; and (4) Tai Loei language, Na Sao subdistrict. 2) Tai Loei sub-dialect with 6 tones, totaling 2 sub-districts, namely (1) Tai Loei language. Dan Sai and (2) Thai language, Loei Ban Ahi Word morphemes, which is an identity that appears in naming products and services in the form of a particle word, such as an exclamation particle word. Particle words ending in the word "Han Nae" or the word "Kor."
Ethnic identity of the Thai Loei people 1) The city of Loei has developed since the ancient era. Entering the Old Stone Age, Middle Stone Age, New Stone Age, and Metal Age, becoming an urban society and being the center of a province. King Rama IV graciously established the "Muang Loei" in 1894. King Rama V graciously ordered the city of Loei to be in Lao Phuan Province. To Lao Phuan Province, the left bank of the Mekong River fell to France. Lao Phuan Province, on the right bank of the Mekong River, therefore had only the cities of Udon Thani, Khon Kaen, Nakhon Phanom, Sakon Nakhon, and Nong Khai. The name changed in 1893. is Udon Thani Province and elevated its status to a province according to the Act on Administrative Regulations of the Kingdom of Thailand, B.E. 2476 2) People in the Loei River Basin were a political group that had the status of an outpost and a buffer community during the King Fa era. Ngum King of the Lan Xang Kingdom (1896-1936). People in this area have agricultural occupations, including growing rice, cotton, tobacco, gathering forest products, trading horses, cattle, buffaloes, elephant rings, and industrial occupations in the smelting of iron ore, tin, antimony, and copper. 3) Important traditions during the year (Heat 12), tradition Including the merit-making ceremony of Phra That Si Song Rak Merit making ceremony or Phi Ta Khon merit-making ceremony, Water Ghost Festival Songkran merit-making event or Ban Saeng Pha flower tree parade and the Songkran merit-making event or the procession of flower trees at Ban Ahee 4) Beliefs about Pu Sangkasaya Yasangkang Next is Grandfather Ye Yao Ye. which are the ghosts of the ancestors of the Lan Chang people of Luang Prabang This belief has been passed down to the Tai Loei ethnic group in the form of a large Phi Ta Khon. Which appears in the procession of the Dan Sai Phi Ta Khon tradition and the Ban Na Sao Phi Khan Nam tradition. 5) Legends, stories, and memories of the Tai Loei ethnic group and Luang Prabang, including the legend of the city of Loei. Legend of Phra Bang Muang Loei Legend of Phra That Kut Ruea Kham
Relationship between language and identity 1) Names indicating the ethnic identity of the Tai Loei people include: (1) The name of the ethnic group "Tai Loei" refers to a group of people who speak Lao with the Luang Prabang dialect in the area of Loei Province. There is a specific culture for the group. (2) Names of goods and services and showing the ethnic identity of the Tai Loei people. It was found that the word "Loei" has many meanings in the same context. (3) Naming the Red Cross Fair With the display of the ethnic identity of the Tai Loei people, 3 names appeared, and there was the word “Continuing Thai culture” for the first time since 2014 2) Ethnography of communication in the Phetphinthongpen Isaan comedy group communication events of ethnic groups in the performance space that presents jokes The content of the communication and verbal sequence is 10 elements. Component 3) Presenting images representing the Tai Loei ethnic group in society and culture, consisting of (1) Tai Loei people who have ancient customs that are local to the area. (2) Tai Loei people migrated from Luang Prabang. (3) Thai Loei people have the same ancestors as Luang Prabang people. งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนไทเลย การศึกษาครั้งนี้ โดยได้วิเคราะห์ผลการศึกษาสรุป ได้ 3 ประเด็น ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนี้ ลักษณะทางเสียงของภาษาไทเลย ผลการศึกษาลักษณะทางภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ “ไทเลย” โดยได้วิเคราะห์ระบบเสียงภาษาไทเลย ทั้งหมด 6 ถิ่น ประกอบไปด้วยหน่วยเสียง 3 ประเภท ได้แก่ หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ มี หน่วยเสียงภาษาไทเลยประกอบของพยางค์ 3 หน่วยเสียง คือ หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ปรากฏร่วมกันโดยมีโครงสร้างดังต่อไปนี้ 1) CVT , 2) CVCT , 3) CV:T , 4) CV:CT , 5) CVVT , 6) CVVCT และ 7) CCV:CT ประกอบไปด้วยหน่วยเสียง 3 ประเภท ได้แก่ หน่วยเสียงพยัญชนะประกอบไปด้วย หน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยว 20 หน่วยเสียง คือ /m-/,/n-/,/N-/,/p-/,/l-/,/ph-/,/b-/,/t-/,/th-/,/d-/,/k-/,/kh-/,/?-/,/f-/,/s-/,/h-/,/t -/,/J-/,/j-/,/w-/ ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น 20 หน่วยเสียงและพยัญชนะท้าย 9 หน่วยเสียง คือ/-m/,/-n/,/-N/,/-p/,/-t/,/-k/,/-?/,/-j/,/-w/ พยัญชนะควบกล้ำมี 2 หน่วยเสียงคือ /kw-/และ /khw-/ หน่วยเสียงสระประกอบด้วยหน่วยสระเดี่ยวเสียงสั้น 9 หน่วยเสียง สระเดี่ยวเสียงยาว 9 หน่วยเสียงรวม 18 หน่วยเสียง ดังนี้ /i/, /i:/, /e /, /e :/, /E /,/E :/,/M /, /M:/, /@/,/@:/, /a /,/a:/,/u /,/u :/,/o /,/o:/, /O /, /O :/และหน่วยเสียงสระเลื่อนหรือประสม 3 หน่วยเสียง ดังนี้ /i:a /,/M:a/, /u:a/เสียงวรรณยุกต์จำนวน 6 ตำบล จำแนกถิ่นย่อยได้จำนวน 2 ถิ่นย่อย ได้แก่ 1) ภาษาไทเลยถิ่นย่อยที่มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง จำนวน 4 ตำบล คือ (1) ภาษาไทเลยตำบลทรายขาว (2)ภาษาไทเลยตำบลนาอ้อ (3) ภาษาไทเลยตำบลแสงภา และ(4) ไทเลยตำบลนาซ่าว 2) ภาษาไทเลยถิ่นย่อยที่มีเสียงวรรณยุกต์ 6 เสียง จำนวน 2 ตำบล คือ (1) ภาษาไทเลยด่านซ้ายและ(2) ภาษาไทเลยบ้านอาฮี หน่วยคำประกอบคำ ที่เป็นอัตลักษณ์ที่ปรากฏในการตั้งชื่อสินค้าและบริการมีลักษณะเป็นคำอนุภาค ได้แก่ คำอนุภาคอุทาน คำอนุภาคลงท้าย คำว่า “ฮั่นแน้ว” คำว่า “ก๋อ” อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนไทเลย 1) เมืองเลยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ มาสู่ยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่ และยุคโลหะ เข้าสู่ความเป็นสังคมเมืองและเป็นศูนย์กลางจังหวัดปรากฏใน รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง “เมืองเลย” รัชกาลที่ 5 พ.ศ.2437 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เมืองเลยอยู่ในมณฑลลาวพวน ต่อมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตกเป็นของฝรั่งเศส มณฑลลาวพวนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงจึงมีเพียงเมืองอุดรธานี ขอนแก่น นครพนม สกลนคร หนองคาย พ.ศ. 2436 เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอุดรและยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 2) กลุ่มคนในเขตลุ่มน้ำเลยเป็นกลุ่มคนทางการเมืองที่มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นชุมชนกันชนสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 1896-1936) ประชาชนในแถบนี้มีอาชีพเกษตรกรรมได้แก่ ปลูกข้าว ฝ้าย ยาสูบ หาของป่า ค้าขาย ม้า วัว ควาย คล้องช้างและอาชีพอุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ดีบุก พลวง ทองแดง 3) ประเพณีสำคัญในรอบปี (ฮีต 12) ประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ ได้แก่ งานบุญพระธาตุศรีสองรัก งานบุญหลวงหรืองานบุญผีตาโขน งานประเพณีผีขนน้ำ งานบุญสงกรานต์หรือแห่ต้นดอกไม้บ้านแสงภา และงานบุญสงกรานต์หรือแห่ต้นดอกไม้บ้านอาฮี 4) ความเชื่อเกี่ยวกับปู่สังกะสาย่าสังกะสี ต่อมาคือปู่เยอย่าเยอ ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษของชาวล้านช้างหลวงพระบาง ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดมายังกลุ่มชาติพันธุ์ไทเลยในรูปลักษณ์ผีตาโขนใหญ่ ซึ่งปรากฏในขบวนแห่งประเพณีผีตาโขนด่านซ้ายและประเพณีผีขนน้ำบ้านนาซ่าว 5) ตำนาน เรื่องเล่า ความทรงจำของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเลยกับเมืองหลวงพระบาง ได้แก่ ตำนานเมืองเลย ตำนานพระบางเมืองเลย ตำนานพระธาตุกุดเรือคำ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์ 1) ชื่อแสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนไทเลย ได้แก่ (1) ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ “ไทเลย” หมายถึง กลุ่มคนที่พูดภาษาลาวสำเนียงหลวงพระบางในพื้นที่จังหวัดเลย มีวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม (2) ชื่อสินค้าและบริการกับการแสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนไทเลย พบว่าคำว่า “เลย” 1 คำ มีหลายความหมายในบริบทเดียวกัน (3) การตั้งชื่องานกาชาดกับการแสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนไทเลย ปรากฏ 3 ชื่อและมีคำว่า “สืบสานวัฒนธรรมไทเลย” ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 2) ชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารในการแสดงตลกอีสานคณะเพชรพิณทองเป็นเหตุการณ์การสื่อสารของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่การแสดงที่นำเสนอมุกตลก โดยเนื้อหาการสื่อสารและลำดับวัจนกรรมองค์ประกอบ 10 องค์ประกอบที่ 3) การนำเสนอภาพตัวแทนชาติพันธุ์ไทเลยในสังคมวัฒนธรรม ประกอบด้วย (1) คนไทเลยมีประเพณีเก่าแก่เฉพาะถิ่น (2) คนไทเลยอพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง (3) คนไทเลยมีบรรพบุรุษเดียวกับคนเมืองหลวงพระบาง |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2616 |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010161010.pdf | 15.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.