Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2625
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Tepparuk Surifai | en |
dc.contributor | เทพรักษ์ สุริฝ่าย | th |
dc.contributor.advisor | Kiattisak Bangperng | en |
dc.contributor.advisor | เกียรติศักดิ์ บังเพลิง | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University | en |
dc.date.accessioned | 2025-05-07T10:01:01Z | - |
dc.date.available | 2025-05-07T10:01:01Z | - |
dc.date.created | 2024 | |
dc.date.issued | 3/1/2024 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2625 | - |
dc.description.abstract | This research aimed to investigate the sociocultural characteristics and way of life of the So ethnic group in Isan society, including dynamics and sociocultural adaptability. To answer research purposes, the data for this qualitative study were gathered through fieldwork and subsequently analyzed qualitatively. According to the research, the So ethnic group is currently dispersed over the northeastern region of Thailand. They are members of the Autro-Asiatic language family, which is a subfamily of the Mon-Khmer or Katuic family. In early Rattanakosin history, the So people migrated from Laos to Thailand. They possessed languages, beliefs, cultures, and ways of life that were all unique. Notably, apart from the Lao/Isan people, this differentiation set them apart from other ethnic groupings. Those outside the group considered their traditions, cultures, and beliefs more antiquated. Ethnic bonds in this region were established on the basis of power relations within the context of Isan society and the Thai state’s authority. Thai culture and Thainess indicated civilization as an essential element of good citizenship. The cultures of Laos are distinct from those of Thailand due to political and administrative circumstances. Assimilation or adaptation to Thai as if one were a representative of Thainess in the region and Buddhist culture are aspects of Thai customs that are regarded as sacred. Aware of their status as outsiders, the So people embraced Buddhism to assimilate with the Lao/Isan people, thus combining the traditions of Heat Kong and Lao/Isan. By demonstrating a considerable Thai identification as a citizen, such modifications could facilitate communication with and establish a social standing among the Isan/Lao people. Notwithstanding this, the findings also showed that the So people endeavored to construct and preserve their cultural identity while adapting it to the demands of tourism through the utilization of authentic cultural assets and the development of a tourism identity; as a result, their settlement was officially recognized as a cultural tourism village. In light of Isan society, governmental authority, and evolution, the contemporary So ethnic group’s way of life has ultimately undergone adaptation, merging, and shaping, resulting in a fluidity and variety of cultural characteristics that have not been assimilated by the manner in which the So ethnic group successfully integrated into the dominant culture. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิถีชีวิตและลักษณะทางสังคมวัฒนธรรม รวมถึงพลวัตและการปรับตัวทางสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์โส้ในบริบทสังคมอีสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เน้นกระบวนการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Fieldwork Research) แล้วนำข้อมูลมาตรวจสอบ พร้อมพรรณนาวิเคราะห์เพื่อตอบความมุ่งหมายของการวิจัย โดยงานวิจัยได้มีข้อเสนอว่า กลุ่มชาติพันธุ์โส้เป็นกลุ่มที่พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก (Autro-Asiatic) สาขามอญ-เขมร หรือกะตูอิก (Katuic) ปัจจุบันพบกระจายตัวอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในยุคจารีต ชาวโส้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้ายข้ามมาจากฝั่งลาวในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ชาวโส้มีวิถีชีวิต ภาษา ความเชื่อ และวัฒนธรรมประเพณีอย่างเฉพาะตัว เสมือนเป็นพรมแดนชาติพันธุ์ที่แยกแตกต่างจากคนกลุ่มอื่นโดยเฉพาะคนลาว/อีสาน พวกเขาถูกรับรู้จากคนนอกในลักษณะกดทับสถานภาพว่าเป็นข่า มีความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณีที่ล้าหลังกว่า ผลการวิจัยพบว่า ในบริบทสังคมอีสาน อำนาจรัฐไทย และความสัมพันธ์เชิงชาติพันธุ์ของผู้คนบนภูมิภาคนี้วางอยู่บนความสัมพันธ์เชิงอำนาจ โดยที่วัฒนธรรมไทยหรือความเป็นไทยเป็นตัวแทนของความศิวิไลซ์ และเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเป็นพลเมืองที่ดี ขณะที่คนลาวและวัฒนธรรมลาวแม้จะมีความเป็นอื่นต่อไทยศูนย์กลางโดยเงื่อนไขการเมืองการปกครอง แต่ก็นับว่ามีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมไทย เช่น การมีวัฒนธรรมพุทธศาสนาร่วมกัน การปรับตัวหรือกลืนกลายตัวเองเป็นไทย เสมือนเป็นตัวแทนของความเป็นไทยในระดับภูมิภาค ในบริบทนี้ ชาวโส้ซึ่งถูกมองด้วยความเป็นอื่นได้ปรับตัวผสมกลมกลืนกับคนลาว/อีสาน ผ่านการรับพุทธศาสนา ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมเดิมให้ผสมผสานฮีตคองประเพณีแบบลาว/อีสาน เพื่อปรับตัวต่อรองสถานภาพทางสังคมสร้างการยอมรับและปฏิสัมพันธ์กับคนลาว/อีสาน และแสดงความเป็นไทยในฐานะพลเมืองอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ในบริบทของโลกาภิวัตน์และการท่องเที่ยว งานศึกษายังค้นพบว่า ชาวโส้พยายามประกอบสร้างและธำรงอัตลักษณ์ของความเป็นโส้ไปพร้อมกับการปรับตัวทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว นำทรัพยากรทางวัฒนธรรมเดิมมาประดิษฐ์แสดงตัวตนเชิงการท่องเที่ยว จนได้รับคัดเลือกเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ถึงที่สุด รูปแบบวิถีชีวิตสมัยใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์โส้เกิดการปรับตัวผสมผสานและก่อรูปเป็นลักษณะวัฒนธรรมที่หลากหลายเลื่อนไหลไปตามบริบทสังคมอีสาน อำนาจรัฐ และการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ถูกกลืนกลายด้วยวัฒนธรรมกระแสหลัก แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมกระแสหลักได้อย่างกลมกลืน | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | กลุ่มชาติพันธุ์โส้ | th |
dc.subject | การปรับตัวทางสังคมวัฒนธรรม | th |
dc.subject | พลวัตชาติพันธุ์ | th |
dc.subject | So ethnic group | en |
dc.subject | Sociocultural adaptation | en |
dc.subject | Ethnic dynamics | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | Sociology and cultural studies | en |
dc.title | The Dynamics and Sociocultural Adaptations of So Ethnic Groups in the Isan Society Context | en |
dc.title | พลวัตและการปรับตัวทางสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์โส้ในบริบทสังคมอีสาน | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Kiattisak Bangperng | en |
dc.contributor.coadvisor | เกียรติศักดิ์ บังเพลิง | th |
dc.contributor.emailadvisor | kiattisak.b@msu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | kiattisak.b@msu.ac.th | |
dc.description.degreename | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.degreelevel | Doctoral Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาเอก | th |
dc.description.degreediscipline | Department of Sociology and Anthropology | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62010191001.pdf | 7.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.