Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/267
Title: Community Empowerment Model for Participation in Local Fund Health Security of Non Sa-ard Sub-district, Sriboonrueng District, Nong Bua Lamphu Province
รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
Authors: Woranud Mungwicha
วรนุด มุ่งวิชา
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การเสริมสร้างพลังอำนาจ
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ภาคีเครือข่าย
Empowerment
The Local Fund Health Security
Party Network
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research Action Research aimed to study Community Empowerment Model for Participation in Local Fund Health Security of Non Sa-ard  Sub-district, Sriboonrueng District, Nong Bua Lamphu Province. The participants were randomly selected from each of 3 operational sectors; government, private and public, giving a total of 60 participants. Each of the 60 candidates were interviewed using the same questionnaire structured to specifically provide qualitative feedback. The data generated from the questionnaires was correlated for descriptive Statistics, percentage, mean, standard deviation Paired t-test and content analysis. The study showed that the empowerment process of the community to create participation in Local Fund Health Security of Non Sa-ard Sub-district consisted of 12 elements; 1) Data collection 2) Studying the context of the fund 3) Workshop 4) Establish sub-district health development committee. 5) Select community empowerment model. 6) Implement action plan form. 7) Follow plan 8) Follow up 9) Evaluation 10) Exchange forum 11) Comparison of operating results 12) Conclude There are six components of community-based health insurance: 1) Community health fund 2) Public engagement and continuous follow up 3) Good coordination 4) Team building 5) Exchange forum 6) Creating a Network Party.The structured process resulted in more efficient community health problem solving, where the local population have aeccess to health services that are developed by the community, for the community having actively participated in the development process Local Fund Health Security of Non Sa-ard Sub-district  In conclusion, the Community Empowerment Model for Participation in Local Fund Health Security of Non Sa-ard Sub-district reguires a significant community health commitment from village leaders who focus on the health of the area and engage in a participatory learning network.
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เลือกกลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคเอกชนและกลุ่มภาคประชาชน จำนวน 60 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยแบบสอบถามที่สร้างขึ้นและเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือ Paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ  ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลโนนสะอาด ประกอบด้วย 12 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เก็บรวบรวมข้อมูล 2) ศึกษาบริบทของกองทุนฯ 3) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบสุขภาพตำบล 5) เลือกรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน 6) นำรูปแบบทำแผนปฏิบัติการ 7) ปฏิบัติตามแผน 8) นิเทศติดตาม 9) ประเมินผล 10) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 11) เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน 12) สรุปผล ส่งผลให้เกิดรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพือสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีองค์ประกอบ 6 ประการ คือ 1) จัดตั้งกองทุนสุขภาพชุมชน 2) การประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึงและต่อเนื่อง 3) การประสานงานที่ดี 4) ตั้งทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล 5) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6) การสร้างภาคีเครือข่าย การดำเนินงานดังกล่าวส่งผลให้เกิด กองทุนสุขภาพชุมชน ที่มีกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยชุมชนเอง ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพและชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ตำบลโนนสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยสรุป ปัจจัยความสำเร็จรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลโนนสะอาด คือ การมีกองทุนสุขภาพชุมชน ที่มีองค์ประกอบสำคัญจากแกนนำหมู่บ้านที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพของพื้นที่โดยเน้นบทบาทการมีส่วนร่วมแบบเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/267
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011480029.pdf5.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.