Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2692
Title: The relationships between health beliefs, health literacy and COVID-19 prevention behaviors among patients at risk for COVID-19 infection
ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Authors: Apinya Chatuphitakkunchai
อภิญญา จตุพิทักษ์กุลชัย
Nongyaow Meethien
นงเยาว์ มีเทียน
Mahasarakham University
Nongyaow Meethien
นงเยาว์ มีเทียน
nongyaow.m@msu.ac.th
nongyaow.m@msu.ac.th
Keywords: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ความเชื่อด้านสุขภาพ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
พฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
COVID-19
health beliefs
health literacy
COVID-19 prevention behaviors
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research is a descriptive correlational study aimed at examining the relationships between health beliefs, health literacy, and preventive behaviors against COVID-19 among high-risk patients receiving treatment at Phon Hospital, Phon District, Khon Kaen Province. The sample consisted of 74 participants selected using simple random sampling. The research instruments included a health belief questionnaire regarding COVID-19 prevention, a health literacy questionnaire regarding COVID-19 prevention, and a preventive behavior questionnaire for high-risk patients against COVID-19, with reliability coefficients of .83, .83, and .86, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlation coefficient. The research findings can be summarized as follows: 1) The sample had average scores for overall health beliefs, overall health literacy, and overall preventive behaviors against COVID-19 at a moderate level. 2) Overall health beliefs had a moderate positive correlation with preventive behaviors against COVID-19, which was statistically significant at the .05 level (r=.70). Specifically, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, and perceived Self-efficacy were positively correlated with preventive behaviors against COVID-19, all of which were statistically significant at the .05 level (r=.50, r=.37, r=.48, r=.33, r=.65, respectively). 3) Overall health literacy had a moderate positive correlation with preventive behaviors against COVID-19, which was statistically significant at the .05 level (r=.55). Specifically, access skill, cognitive skill, self-management skill, communication skill, and decision skill had moderate positive correlations with preventive behaviors against COVID-19, all of which were statistically significant at the .05 level (r=.39, r=.32, r=.42, r=.49, r=.63, respectively). Media literacy, however, was not significantly correlated with preventive behaviors against COVID-19 (r=-.08). Therefore, healthcare providers should develop strategies to enhance health beliefs and health literacy regarding COVID-19 prevention among high-risk groups, in order to promote appropriate preventive behaviors against COVID-19.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ (Descriptive correlation research) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 74 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83, .83, .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.70) สำหรับรายด้านพบว่า ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค ด้านการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรค และด้านการรับรู้ความสามารถแห่งตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .50, r=.37, r=.48 r=.33, r=.65 ตามลำดับ) 3) ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .55) สำหรับรายด้านพบว่า การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ ความเข้าใจในข้อมูล การจัดการตนเอง ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจและการเลือก มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (r= .39, r=.32, r=.42, r=.49, r=.63 ตามลำดับ) สำหรับการรู้เท่าทันสื่อพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (r=-.08)  ดังนั้น ผู้ให้บริการควรสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เหมาะสม
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2692
Appears in Collections:The Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010481008.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.