Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2766
Title: The Development of Reasonable Argumentation Skill by Using Socio-Scientific Issue (SSI)
การพัฒนาทักษะการโต้แย้งอย่างมีเหตุผล โดยการจัดการเรียนรู้แบบประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน
Authors: Sarawali Likhanaworakhun
สราวลี ลิขนะวรคุณ
Sumalee Chookhampaeng
สุมาลี ชูกำแพง
Mahasarakham University
Sumalee Chookhampaeng
สุมาลี ชูกำแพง
supunnee.l@msu.ac.th
supunnee.l@msu.ac.th
Keywords: ทักษะการโต้แย้งอย่างมีเหตุผล
การจัดการเรียนรู้แบบประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน
Argumentation skills
Socio-scientific Issue (SSI) – Based Teaching
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aims to develop student argumentation skills through instruction in Socio-scientific Issue (SSI) – Based Teaching to pass the criteria at a good level of 24 students in Mathayomsuksa 5 students. The target group is Mathayomsuksa 4 students, Academic Year 2019. The research instruments consisted of 1) nine lesson plans, operating cycle 1 has 4 plans and cycle 2 has 5 plans. The duration of the research was 13 hours. 2) argumentation skills test open-ended assessment. There are 6 situations, 30 questions. the 4 level measurement criteria were very low level, low level, medium level, good level and very good level, 3) student behavior observation, and 4) information interviews. The consistency value was in the range of 0.8 - 1.00, the discriminatory power value (B) was from 0.20 to 0.80, and the difficulty value (p) was from 0.54 to 0.84. The quantitative data were analyzed by means, frequencies and percentages, as well as the qualitative data was analyzed by content analysis.            The results from the first learning cycle found that 17 students passed the criteria. The mean was 6.50 with argumentation skills passing as good. Because students have problems understanding the content they study. Or write to explain the reason for choosing the answer to show the misunderstanding from the study. And about the time spent doing activities that are quite limited, making some activities not possible in time, the learners are still unable to tell the reasons for supporting them. There can be more than one reason. Therefore, teaching and learning by presenting social issues related to science as a basis. Through video media, role-playing, and debating, students can gain knowledge from a variety of learning sources.            The results from the second learning cycle found that 22 students passed the criteria for rational argumentation skills. The mean was 6.83 and argumentation skills were good.  From the results of this study, it can be concluded that science-based social-issue learning can develop students' rational argument skills.
การวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการโต้แย้งอย่างมีเหตุผล โดยการจัดการเรียนรู้แบบประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน ให้ผ่านเกณฑ์ในระดับดี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 24 คน ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 9 แผน วงจรปฏิบัติการที่ 1 มี 4 แผน และวงจรปฏิบัติการที่ 2 มี 5 แผน ระยะเวลาในการวิจัยจำนวน 13 ชั่วโมง 2) แบบวัดทักษะการโต้แย้งอย่างมีเหตุผล มีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิดที่เป็นสถานการณ์ จำนวน 6 สถานการณ์ 30 ข้อ โดยมีเกณฑ์การวัดระดับเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำมาก ระดับต่ำ ระดับปานกลาง ระดับดี และระดับดีมาก มีค่าความสอดคล้องอยู่ในช่วง 0.8 - 1.00 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน และ 4) แบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบพื้นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา            ผลการวิจัยจากวงจรปฏิบัติการที่ 1 พบว่า มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ 16 คน โดยภาพรวมคะแนนทักษะการโต้แย้งอย่างมีเหตุผลของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.50 มีระดับการโต้แย้งอยู่ในระดับดี เนื่องจากนักเรียนมีปัญหาในการเข้าใจเนื้อหาที่เรียน หรือเขียนอธิบายเหตุผลที่เลือกคำตอบแสดงความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากที่ศึกษา และเรื่องระยะเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมที่ค่อนข้างจำกัดทำให้บางกิจกรรมที่ทำ ไม่ทันเวลาบ้าง ผู้เรียนยังไม่สามารถบอกเหตุผลสนับสนุน ข้ออ้างได้มากกว่า 1 เหตุผล ด้วยเหตุนี้จึงจัดการเรียนการสอนโดยนําเสนอประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน ผ่านทางสื่อวิดีทัศน์ หรือการแสดงบทบาทสมมุติ การโต้วาที และสามารถหาความรู้ได้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย             วงจรปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ 22 คน โดยภาพรวมคะแนนทักษะการโต้แย้งอย่างมีเหตุผลของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.83 มีระดับการโต้แย้งอยู่ในระดับดี จากผลการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐานสามารถพัฒนาทักษะการโต้แย้งอย่างมีเหตุผลผู้เรียนได้
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2766
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010556021.pdf5.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.