Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/277
Title: Aria  Music  in  Siem Reap  province  Kingdom of Cambodia
ดนตรีอาเรียะ  จังหวัดเสียมเรียบ  ประเทศกัมพูชา 
Authors: Jidpipat Taewiriyakun
จิตต์ภิพัฒน์ แต้วิริยะกุล
Khomgrit Karin
คมกริช การินทร์
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: ดนตรีอาเรียะ
จังหวัดเสียมเรียบ
ประเทศกัมพูชา
ครูมันแมน
Aria Music
Siem Reap province
Kingdom of Cambodia
ManMan
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research was conducted in the context of Chieu Baan Kanaje district Siem Reap province  Kingdom of Cambodia. The purpose of the article is 2 topics ; 1. Aria rituals Siem Reap Province Cambodia , 2. The musical composition of Aria rituals songs Siem Reap Province Cambodia. The results are as follows.   1. “Aria ritual” is the spirit into body to communicate with sacred or the ancestral spirit that carries the care of the people in the community, which is the people respect and respect. They pray for treating sick, good luck for them and their family and  help introduce problems or obstacles that are faced. Aria rituals has 4 related parties; 1. The leader of the Aria rituals, 2. Ritual assistants, 3. Participants in Aria rituals, 4. Musician. At present, the sacrificial offerings and sacrifices in the Aria rituals have a total of 9 thing. Ceremony process It starts when Ma-Muat to light candle and gives a signal to the musician playing Aria. Then he install the spirit of Aria into his body. Cha-Lom have a duty to communicate with the spirits. Most of the questions that are asked the causes of illness and how to resolve. If the Aria that is sitting there, cannot answer a question it will give you new Aria. They do this until you get the answer you want. By changing each of the souls of Aria, each song must be played.   2. The musical composition of Aria rituals songs, the Munman’s band there are 4 types of instruments: Tror So, Skor, Pey Ar , Chapey Dang Veng. From the space, the songs used in the Aria ritual are all five songs. Each song has a melody that is not complicated Its has one form ,short and play repeatedly. Tror So is leader in the melody, Pey Ar  and Chapey Dang Veng play together with Tror So. Skor is the most important musical instrument because the spirit of Aria cannot into Ma-Muat’s body If the lack hasten rhythm of Skor  (drum). That is to say, rhythm of Skor  (drum) is the most important for the spirit into body or Ma-Muat. Songs used to perform rituals are secondary importance in the Aria ritual.
การวิจัยนี้ทำการเก็บข้อมูลในบริบทพื้นที่ คุ้มเจรียว ภูมิคนาจ๊ะ เซราะเสียมเรียบ กร็องเสียมเรียบ จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา โดยมีความมุ่งหมายของการวิจัย 2 ข้อ คือ  1.พิธีกรรมอาเรียะ จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา  2.องค์ประกอบทางดนตรีของเพลงประกอบพิธีกรรมอาเรียะ จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา  ผลการวิจัยมีดังนี้   1. พิธีกรรมอาเรียะ  เป็นพิธีกรรมเข้าทรง เพื่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือผีบรรพบุรุษที่ทำหน้าที่ดูแล  อารักษ์ขา  ผู้คนในชุมชน เป็นสิ่งที่ผู้คนเคารพและนับถือ อ้อนวอนให้ช่วยรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เสริมสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ขอให้ช่วยแนะนำการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่กำลังเผชิญ  พิธีกรรมอาเรียะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยกัน 4 กลุ่ม คือ  1.ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมอาเรียะ  2.ผู้ช่วยประกอบพิธีกรรมอาเรียะ  3.ผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมอาเรียะ 4.นักดนตรี  ปัจจุบันพิธีกรรมอาเรียะมีเครื่องเซ่นสังเวยและเครื่องบูชาในการประกอบพิธีกรรม ทั้งหมด 9 อย่าง ขั้นตอนการประกอบพิธี จะเริ่มตั้งแต่มะม๊วตหรือรูป จุดเทียนธูป และให้สัญญาณนักดนตรีบรรเลงเพลงอาเรียะ จากนั้นก็เรียกวิญญาณอาเรียะมาประทับทรง และชะลอมทำหน้าที่สอบถาม สื่อความจากอาเรียะ โดยเรื่องส่วนมากที่ถาม ก็คือ สาเหตุของอาการเจ็บป่วย และวิธีแก้ไข หากอาเรียะตนที่กำลังเข้าประทับทรงอยู่นั้นตอบไม่ได้ก็จะให้อาเรียะตนใหม่มาตอบแทน ทำเช่นนี้วนไปจนได้คำตอบที่ต้องการ โดยการผลัดเปลี่ยนวิญญาณอาเรียะแต่ละครั้งจะต้องมีการบรรเลงดนตรีประกอบทุกครั้ง       2. องค์ประกอบทางดนตรีของเพลงประกอบพิธีกรรมอาเรียะ  วงเพลงอาเรียะของครูมันแมน ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 ชนิดคือ  ตรัวซอ  ,  สกวล   ,  เป็ยออ   และจะเป็ยด็องเวง เพลงที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมอาเรียะมีทั้งหมด 5 เพลงคือ เพลงมะรบโดง ซ็อมดัจเปรี๊ยะกรู , เพลงสะเร็ยคะมาว , เพลงมาเร็งกงเวียหรือตำเมี๊ยะตำเร็ย , เพลงตับพอล และเพลงเปรี๊ยะโวล ซึ่งแต่ละเพลงเป็นเพลงสั้นๆ เป็นเพลงท่อนเดียว เล่นวนซ้ำๆ บางเพลงมีระบบเสียงที่ซับซ้อน วงเพลงอาเรียะมีตรัวซอเป็นเครื่องนำในการบรรเลงทำนอง โดยมีเป็ยออ  จะเป็ยด็องเวง บรรเลงคลอร่วม และมีสกวลเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุด เนื่องจากวิญญาณอาเรียะ จะไม่สามารถเข้าประทับร่างมะม๊วตได้ หากขาดเสียงสกวลบรรเลงเน้นเป็นจังหวะเร่งเร้าพร้อมๆกันถี่ๆ จึงกล่าวได้ว่า “จังหวะกลอง หรือจังหวะสกวล” มีส่วนสำคัญในการเข้าสู่สภาวะการเข้าทรงของรูปหรือมะม๊วต รองลงมาคือ “บทเพลง” ที่ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรม
Description: Master of Music (M.M.)
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/277
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57012080005.pdf9.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.