Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2771
Title: Supervision Model through Coaching and Mentoring for Developing Elementary Teachers’ Competency in Active Learning Instruction under Office of the Basic Education Commission
รูปแบบการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Rattiya Phumsaidorn
รัตติยา ภูมิสายดร
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
suwat.j@msu.ac.th
suwat.j@msu.ac.th
Keywords: การนิเทศการศึกษา
การสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง
สมรรถนะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก
Educational Supervision Model
Coaching and Mentoring
Active Learning Instruction Competency
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to: 1) study basic information for developing educational supervision model; 2) develop the supervision model through coaching and mentoring to enhance active learning instruction competency of elementary teachers under the Office of the Basic Education Commission of Thailand; and 3) to study the results of using the supervision model through coaching and mentoring to enhance active learning instruction competency of elementary teachers under the Office of the Basic Education Commission of Thailand. The research is divided into 3 phrases. Phase 1: studying the basic information for developing educational supervision model. Phase 2: developing the supervision model. Nine qualified experts selected through purposive sampling examined the appropriateness of the supervision model. Phase 3: Implement the effect of using of the supervision model. Used for 10 people by purposive sampling. The data were collected through interviews and assessments. The findings of the study revealed the following: 1. The basic information for developing educational supervision model were: 1.1 There are 4 components and 24 indicators in active learning instruction competency of elementary teachers, categorized as follows: 1) active learning instruction design comprises 6 indicators, 2) learning management emphasizes on higher-order thinking and practice comprises 4 indicators, 3) teaching materials, innovation, technology and learning resources comprise 6 indicators, 4) authentic evaluation and assessment comprises 8 indicators. Overall, the proficiency level is rated as the highest. 1.2 The current state is rated as the moderate and the desired state is at the highest. When assessing the needs of the supervision models, it is found that the component with the highest need is Component 2- learning management emphasize on higher-order thinking and practice. This is followed by Component 4 - authentic evaluation and assessment, Component 3 - teaching materials, innovation, technology and learning resources and Component 1 - active learning instruction design, with the lowest index of essential needs respectively. 2. The results of developing the supervision model through coaching and mentoring to enhance active learning instruction competency of elementary teachers under the Office of the Basic Education Commission of Thailand reveals that the supervision model consists of 6 components, there were: 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) procedures, 5) evaluations and 6) conditions for using the model. The model is deemed highly suitable, appropriate, and effective. 3. The Implementing of the supervision model found that; 3.1 The knowledge assessment scores after participating in the development were higher than the scores before participating in the development. 3.2 The active learning instruction competency of elementary teachers assessment scores were at the highest level.   3.3 The participants’ satisfaction after used the supervision model was at the highest level.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ เครื่องมือวิจัยที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินองค์ประกอบ ในการศึกษาครั้งนี้ มี 4 องค์ประกอบ 24 ตัวชี้วัด ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษา มีผลปรากฏ ดังนี้ 1.1 องค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา มี 4 องค์ประกอบ 24 ตัวชี้วัด 1) ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 6 ตัวชี้วัด 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูงและการลงมือปฏิบัติ 4 ตัวชี้วัด 3) ด้านการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ 6 ตัวชี้วัด 4) ด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง 8 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.2 สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของรูปแบบการนิเทศฯ จำแนกองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดคือ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูงและการลงมือปฏิบัติ รองลงมาได้แก่ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง องค์ประกอบที่ 3 ด้านการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด 2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า รูปแบบการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. เนื้อหา 4. กระบวนการ 5. การประเมินผล 6. เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้  มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลการใช้ ดังนี้ 3.1 ผลการประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา ด้านความรู้ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน ซึ่งมีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่า ก่อนการพัฒนา 3.2 ผลการประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด    3.3 ผลประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการศึกษาตามแนวคิดการสอนแนะและการเป็น พี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2771
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010562008.pdf12.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.