Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2774
Title: | Developing of a Training Program with Coaching Approach for Enhancing Child Caregivers’ Abilities to Organize Early Childhood Experiences การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดชี้แนะเพื่อส่งเสริมความสามารถ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย ของครูผู้ดูแลเด็ก |
Authors: | Orraporn Tubtimsri อรพร ทับทิมศรี Prasong Saihong ประสงค์ สายหงษ์ Mahasarakham University Prasong Saihong ประสงค์ สายหงษ์ prasong.sa@msu.ac.th prasong.sa@msu.ac.th |
Keywords: | การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม แนวคิดชี้แนะ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย Developing of a Training Program Coaching Approach Enhancing Child Caregivers’ Abilities to Organize Early Childhood Experiences |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this study were 1) To study the expected conditions, actual conditions, and the need for Enhancing Child Caregivers’ Abilities to Organize Early Childhood Experiences. 2) To develop Training Program with Coaching Approach for Enhancing Child Caregivers’ Abilities to Organize Early Childhood Experiences 3) To study the results of Developing of a Training Program with Coaching Approach for Enhancing Child Caregivers’ Abilities to Organize Early Childhood Experiences. Research and development are carried out in three phases. The data collection were Training Program, Training Program manuals, questionnaires, and knowledge assessment forms. Statistics commonly used in data analysis include percentage, mean, and standard deviation, PNI, and one-sample t-test.
The results of this research were as follows:
1. The research on expected conditions, actual conditions, and the need for Enhancing Child Caregivers’ Abilities to Organize Early Childhood Experiences. It was found that: 1) The expected conditions of Child Caregivers’ Abilities to Organize Early Childhood Experiences in all 10 areas is at a high level (x̅ = 3.79, S.D. = 0.83). 2) The actual condition of Child Caregivers is at a low level in all 10 areas and arranged from least to greatest as follows: Have knowledge and understanding of organizing early childhood experiences (x̅ = 1.94, S.D. = 0.75). Understanding the organization of early childhood experiences is at a low level (x̅ = 2.08, S.D. = 0.86) 3) The need for Enhancing Child Caregivers’ Abilities to Organize Early Childhood Experiences is at a level that needs to be developed (PNI = 1.07).
2. The training curriculum based on coaching concepts consisted of 1) background and significance, 2) curriculum principles, 3) objectives, 4) curriculum structure, 5) evaluation, and 6) media and learning resources.
3. The results of Developing of a Training Program with Coaching Approach for Enhancing Child Caregivers’ Abilities to Organize Early Childhood Experiences which were 30 people who participated voluntarily, it was found that:
3.1 Knowledge: The mean pretest score was 18.60 (SD = 1.77) and the mean posttest score was 24.80 (SD=1.24). The posttest score was significantly higher than the pretest score at the .05 level.
3.2 Skills: The mean pre-coaching score was 34.20 (SD = 1.67) and the mean post-coaching score was 42.47 (SD=1.57). The post-coaching score was significantly higher than the pre-coaching score at the .05 level.
3.3 Characteristics: The mean post-coaching score was 22.93 (SD = 1.57), which was significantly higher than the 70% criterion (out of 30 points) at the .01 level.
Training program with coaching approach for enhancing child caregivers’ abilities to organize early childhood experiences. It was useful for child caregivers and those who take advantage in training program with coaching approach for enhancing child caregivers’ abilities to organize early childhood experiences with quality and continuously. So that children can be developed to their full potential. การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่คาดหวัง สภาพที่เป็นจริง และความต้องการจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย ของครูผู้ดูแลเด็ก 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดชี้แนะเพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก และ 3) ศึกษาผลการใช้การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดชี้แนะเพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก ดำเนินการวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เอกสารหลักสูตรฝึกอบรม คู่มือประกอบการใช้หลักสูตรฝึกอบรม แบบสอบถาม แบบทดสอบด้านความรู้ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความจำเป็น (PNI) และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ (One-sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพที่คาดหวัง สภาพที่เป็นจริง และความต้องการจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย ของครูผู้ดูแลเด็ก ได้แก่ 1) สภาพที่คาดหวังของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย ในภาพรวมทั้ง10 ด้าน (x̅ = 3.79, S.D. = 0.83) อยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่เป็นจริงของครูผู้ดูแลเด็กอยู่ในระดับน้อยทั้ง 10 ด้าน เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก ดังนี้ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย (x̅ = 1.94, S.D. = 0.75) ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (x̅ = 2.08, S.D. = 0.86) อยู่ในระดับน้อย และ3) ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับ (PNI = 1.07) อยู่ในระดับจำเป็นต้องพัฒนา 2. หลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดชี้แนะเพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก ประกอบด้วย 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2 ) หลักการของหลักสูตร 3)วัตถุประสงค์ 4) โครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 5) การประเมินผล 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 3. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดชี้แนะเพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 30 คน ได้มาด้วยความสมัครใจ ความสามารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก เป็นดังนี้ 3.1 ด้านความรู้ มีคะแนนจากแบบทดสอบความรู้จำนวน 30 ข้อ ก่อนได้รับการอบรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.60 (S.D. = 1.77) และหลังการอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.80 (S.D. = 1.24) เมื่อเปรียบเทียบความรู้ ก่อนและหลังการอบรม พบว่าค่าเฉลี่ยความรู้หลังจากที่ได้รับการอบรม สูงกว่าก่อนค่าเฉลี่ยก่อนได้รับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับจุด .05 3.2 ด้านทักษะ มีคะแนนจากแบบประเมิน ก่อนได้รับการนิเทศตามแนวคิดชี้แนะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 34.20 (S.D. = 1.67) และหลังได้รับการกำกับติดตามแนวคิดชี้แนะ ครูผู้ดูแลเด็ก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 42.47 (S.D. = 1.57) เมื่อเปรียบเทียบด้านทักษะ ก่อนและหลังการนิเทศ พบว่าค่าเฉลี่ยด้านทักษะ หลังจากที่ได้รับการกำกับติดตามแนวคิดชี้แนะ สูงกว่าก่อนได้รับการกำกับติดตามแนวคิดชี้แนะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3.3 ด้านคุณลักษณะ หลังจากกำกับติดตามแนวคิดชี้แนะ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.93 (S.D. = 1.57) เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม (30 คะแนน) พบว่า สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุป หลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดชี้แนะเพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย ของครูผู้ดูแลเด็ก มีประโยชน์สำหรับครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรือผู้นำไปใช้ประโยชน์ ในด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย ที่จำเป็นต้องส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2774 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63010563003.pdf | 9.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.