Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/278
Title: Lyrics and Melody of Soul Soothing Songs for the Marriage Ceremony in Ubon Ratchathani Province
คำร้องและทำนองบทสูดขวัญในพิธีแต่งงานของจังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Khomsan Phim-phaet
คมสัน  พิมพ์แพทย์
Suangsuda Singkhorart
สรวงสุดา สิงขรอาสน์
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: บทสูดขวัญ
ดนตรีในพิธีกรรม
เพลงพื้นบ้าน
soul soothing songs
music in rituals
folk songs
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research are study prosody, context of Kwan Sutras ceremonial person and rhythm for Ubon Ratchathani people wedding ceremony. This research is Qualitative Research that study and analyzing the data with field data to explore basic information by interview and observation. Researcher select the population and purposive sampling, the quota sampling method that must be male over 60 years old and over 10 years Kwan Sutras experience.      Kwan Sutras experience. The finding reveal that the Kwan Sutras ceremonial person will be the leader who in charge of both the Buddhist ritual and ceremony. The procedure begins with candle lit worship the Buddha, invocation of goodness, guru worship, sprinkle holy water, invited gift and Kwan Sutras The final procedure is binding, blessed and teach the role of daughter-in-law or son-in-law. The prosody of Kwan Sutras is a verses that mix "Hai Yao" and "Hai Maha Vajira Panti". The words used in the first paragraph do not exceed one breath, there is touching vowel that is the last word of the paragraph will send a touch to one of the following paragraphs, such as ending the paragraph and touching the consonant. Use the same alphabet, touch each other in the paragraph. The melody of Khuan Sutras divide as follows; shape of Iterative(Unitary)  form and shape of melodic contour of 5 types; Axis, ascending, descending, arch, inverted arch. There are 2 Scale is B minor pentatonic scale and D minor pentatonic scale.
การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาฉันทลักษณ์ บริบทของหมอสูดขวัญ และทำนองบทสูดขวัญในพิธีแต่งงานของจังหวัดอุบลราชธานี วิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับการลงภาคสนาม โดยการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์และการสังเกต โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีวิธีคัดเลือกโดยกำหนดโควตา (Quota Sampling) มีเงื่อนไขคือ จะต้องเป็นเพศชายที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และมีประสบการณ์ด้านการสูดขวัญมากกว่า 10 ปี ผลการศึกษาพบว่า การบายศรีสูดขวัญในพิธีแต่งงาน หมอสูดขวัญจะเป็นผู้นำในการทำหน้าที่ทั้งพิธีทางศาสนาพุทธและพิธีของหมอสูดขวัญเอง ขั้นตอนของพิธีสูดขวัญเริ่มจาก การจุดเทียนชัย การไหว้พระบูชาพระรัตนตรัย การอัญเชิญเทพยะดา การไหว้ครู  การพรมน้ำมนต์ การเชิญขวัญ การสูดขวัญ ขั้นตอนสุดท้ายคือการผูกแขน กล่าวคำอวยพรยินดีและสั่งสอนในรู้จักหน้าที่ของลูกสะใภ้หรือลูกเขยแก่คู่บ่าวสาว ฉันทลักษณ์ของบทสูดขวัญจะเป็นคำประพันธ์ประเภทฮ่ายยาวผสมผสานกับฮ่ายมหาวชิรปัณตี จำนวนคำที่ใช้ในวรรคหนึ่งๆไม่ให้ยาวเกินกว่าช่วงระยะหายใจในหนึ่งครั้ง การสัมผัส มีทั้งสัมผัสสระคือ คำสุดท้ายของวรรคหน้าจะส่งสัมผัสไปยังคำใดคำหนึ่งของวรรคหลังโยงกันไปเช่นนี้จนจบวรรคและสัมผัสพยัญชนะ คือใช้อักษรที่ออกเสียงใกล้เคียงกันสัมผัสกันในวรรค ทำนองเพลงของบทสูดขวัญ แบ่งเป็นประเด็นได้ดังนี้ คีตลักษณ์เป็นแบบ Iterative(Unitary) From รูปร่างของทำนอง(Melodic Contour) มี5แบบ คือ คงที่, เคลื่อนขึ้น,เคลื่อนลง, เคลื่อนแบบโค้งขึ้น,เคลื่อนแบบโค้งลง บันไดเสียงที่ใช้มี 2บันไดเสียงคือ B Minor Pentatonic Scale และ D minor Pentatonic scale
Description: Master of Music (M.M.)
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/278
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58012080009.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.