Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2780
Title: | The Development of Reading Chinese by using the CIRC Cooperative Group Teaching Technique with Multimedia for Students in Grade 7 การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย ที่ส่งเสริมการอ่านภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Authors: | Krittiyaporn Kumkorn กฤติยาภรณ์ คำก้อน Wichaya Yoshida วิชยา โยชิดะ Mahasarakham University Wichaya Yoshida วิชยา โยชิดะ wichaya.w@msu.ac.th wichaya.w@msu.ac.th |
Keywords: | เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC สื่อมัลติมีเดีย ความสามารถในการอ่านภาษาจีน CIRC Cooperative Group Teaching Technique Multimedia Chinese Language Reading Ability |
Issue Date: | 11 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purpose of this research aimed to 1. Develop the learning management of Chinese reading ability through CIRC teaching technique with multimedia of Mattayomsuksa 1 students to achieve the criteria 80/80 of effectiveness. 2. To compare the learning achievement in Chinese Reading ability of students before and after learning through CIRC teaching technique with multimedia for Mathayomsuksa 1 students. 3.To study the satisfaction of Matthayomsuksa 1 students on learning management of Chinese reading ability through CIRC teaching technique with multimedia. The sample of the study were Mattayomsuksa 1 students at AnubanMahasarkham school Mueang district Mahasarakham province. The samples were studying in second semester of 2022 academic year and were chosen by cluster random sampling. The tools used in the research consisted of lesson plans of Chinese reading with CIRC teaching technique. 2. Multimedia 3. The Chinese reading test 4. Items of students’ satisfaction questionnaire of Chinese reading ability through CIRC teaching technique with multimedia. The data were analyzed by means of descriptive statistic were percentage, Mean, Standard Deviation, paired sample t-test and Inferential Statistics to compare the Chinese reading ability before and after learning through CIRC teaching technique with multimedia for Mathayomsuksa 1 students.
The results were as follows:
1. The efficiency of the learning management of Chinese reading ability through CIRC teaching technique with multimedia of Mattayom 1 were 88.73/82.74 which was in accordance with the required criterion of 80/80.
2. The students who learned management of Chinese reading ability through the CRIRCteaching technique with multimedia were significantly higher than before learning at the level of .01.
3. Mattayomsuksa 1 students’ satisfaction toward learning through the Chinese reading ability through the CRIRC teaching technique with multimedia technique at the highest level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการอ่านภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาจีนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนภาษาจีน โดยการใช้เทคนิคแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 31 คน โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากทุกห้องเรียนที่เรียนรายวิชาภาษาจีน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาจีน โดยการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC 2. สื่อมัลติมีเดีย 3. แบบวัดทักษะการอ่านภาษาจีน 4. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการอ่านภาษาจีน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการอ่านภาษาจีนด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน ในการเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาจีนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียด้วยสถิติทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างแบบสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียที่ส่งเสริมการอ่านภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์เท่ากับ 88.73/82.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ตามที่ได้กำหนดไว้ 2. ความสามารถในการอ่านภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย หลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน มีความพึงพอใจหลังจากที่ได้เรียนการอ่านภาษาจีนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียในระดับมากที่สุด |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2780 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010552001.pdf | 3.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.