Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2793
Title: | Developing of Mathematical Process for Solving Problem according to the PISA framework with Problem base Learning Activity for Mathayomsuksa 4 Students การพัฒนากระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาตามกรอบ PISA ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
Authors: | Jiranuwat Permcheewa จิรานุวัฒน์ เพิ่มชีวา Kanyarat Cojorn กัญญารัตน์ โคจร Mahasarakham University Kanyarat Cojorn กัญญารัตน์ โคจร kanyarat.c@msu.ac.th kanyarat.c@msu.ac.th |
Keywords: | การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Problem-based learning Mathematical process for solving problem Learning achievement |
Issue Date: | 14 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this research were 1) to develop a problem-based lessan plan for Mathayomsuksa 4 students with an efficiency of 75/75, 2) to compare the Mathematical process for solving problem for Mathayomsuksa 4 students using problem-based learning activities against the 75 percent criteria and 3) to compare learning achievements regarding the relationship and function of Mathayomsuksa 4 students using problem-based learning activities against the 75 percent criteria. The samples used in this study were 39 students of Mathayomsuksa 4 in the 1st semester of 2023 academic year at Mahasarakham University Demonstration School (Secondary) which were obtained by cluster random sampling. The research instruments included 1) 10 lesson plan of Relations and Functions 2) the Mathematical process for solving problem is a subjective test, consisting of 4 situations, with 9 sub-questions per situation, and 3) the 30 items of multiple-choice learning achievement test. Statistics values used in this study consist of percentage, means, standard deviation and one sample t-test.
The research finding were as following :
1. The learning activities of Relations and Functions using the learning activities based on problem-based learning had an effective (E1/E2) of 86.50/82.65.
2. The Mathematical process for solving problem on Relations and Functions of the student was higher than the specified threshold of 75 percent with the statistically significant at the .05 level.
3. The learning achievement on Relations and Functions of the student was higher than the specified threshold of 75 percent with the statistically significant at the .05 level. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 4 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 4 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 แผน 2) แบบวัดกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เป็นแบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 4 สถานการณ์ โดยต่อสถานการณ์มีคำถามย่อย 9 ข้อ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test for one sample ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานพบว่ามีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.50/82.65 2. กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2793 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010554022.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.