Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2806
Title: Academic Management Model in Digital Era to Enhance Learning Achievement of Secondary School under the Office of the Basic Education Commission
รูปแบบการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: Pagawan Kaewpho
ปกาวรรณ แก้วโพธิ์
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
suwat.j@msu.ac.th
suwat.j@msu.ac.th
Keywords: รูปแบบ
การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอล
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Model
Academic Management in the Digital Era
Academic Achievement
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were to: 1) Study the elements and indicators of academic management in the digital era for secondary schools under the Office of the Basic Education Commission; 2) Examine the current and desirable conditions of academic management in these schools; 3) Develop an academic management model for the digital era to improve academic achievement in these schools; and 4) Evaluate the results of implementing this model. The research was conducted in four phases: Phase 1: A synthesis study of the elements and indicators of academic administration in the digital era for improving academic achievement in secondary schools. Phase 2: An examination of current conditions, desirable conditions, and priority needs in academic administration. The sample comprised 434 participants, including school directors, deputy directors, and department heads, selected through stratified random sampling. Phase 3: Development of the academic management model. This involved studying best practices in four schools, drafting the model, and evaluating its suitability, feasibility, and usefulness through expert seminars with nine qualified professionals. Phase 4: Implementation and evaluation of the model in one volunteer secondary school, involving school administrators, teachers, and students. Research tools included records, questionnaires, assessments, tests, and supervision forms. The results of the research showed that: 1. The model consists of 5 components and 16 indicators. 2. Current and desirable conditions were both rated very high overall. Priority needs, in descending order, were: 1) learning activities, 2) participation in education, 3) education quality control, 4) curriculum, and 5) academic management process. 3. The developed model includes: 1) Conceptual Principles, 2) Objectives, 3) Implementation Process (with 5 areas and 109 guidelines), 4) Measurement and Evaluation, and 5) Application Conditions. The model's suitability and usefulness were rated highest, with feasibility rated high. 4. Post-implementation results showed improvements across all areas: 1) Overall academic management improved from high to highest level; 2) Academic management process improved from moderate to highest level; 3) Learning activities, participation in education, and quality control of education all improved to the highest level.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ศึกษาผลการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สังเคราะห์ขึ้น โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา/หัวหน้าฝ่าย จำนวน 434 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอล เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีเป็นเลิศ จำนวน 4 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง ยกร่างรูปแบบและตรวจสอบยืนยัน ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง โดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 4 ศึกษาผลการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอล เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่าย ครู นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สมัครใจเข้าร่วมพัฒนา จำนวน 1 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึก แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบทดสอบ แบบนิเทศ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหารจัดการงานวิชาการในยุคดิจิตอลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 16 ตัวชี้วัด ผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ลำดับความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการงานวิชาการในยุคดิจิตอลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ลำดับที่ 1 ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วมในการศึกษา ลำดับที่ 3 ด้านการควบคุณภาพการศึกษา ลำดับที่ 4 ด้านหลักสูตร ลำดับที่ 5 ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการ 3. รูปแบบการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 หลักการแนวคิด ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ส่วนที่ 3 กระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 5 ด้าน 109 แนวทาง ส่วนที่ 4 การวัดและประเมินผล ส่วนที่ 5 เงื่อนไขการนำรูปแบบ ไปใช้ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์โดยภาพรวมความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิตอล เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด 4.1 ด้านหลักสูตร โดยรวมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2 ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการ โดยรวมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด 4.3 ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด 4.4 ด้านการมีส่วนร่วมในการศึกษา โดยรวมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด 4.5 ด้านควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยรวมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2806
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010561008.pdf7.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.