Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/281
Title: The Application of Tradition Dyeing Silk with Diospyros mollis Griff  Creatively , Sisaket Province
การประยุกต์ภูมิปัญญาการย้อมผ้าไหมด้วยผลมะเกลือเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ   
Authors: Kanyawat Saleewan
กัลยวรรธน์  สาลีวรรณ
Phanat Photibat
พนัส โพธิบัติ
Mahasarakham University. Faculty of Cultural Science
Keywords: การประยุต์
ภูมิปัญญา
การย้อม
สร้างสรรค์
Application
Tradition
Dyeing
Creative
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to 1) study the history of The Application of Tradition Dyeing Silk with Diospyros mollis Griff  Creatively , Sisaket Province 2) To study the current state of the problem of The Application of Tradition Dyeing Silk with Diospyros mollis Griff  Creatively , Sisaket Province and 3) study the application of The Application of Tradition Dyeing Silk with Diospyros mollis Griff  Creatively , Sisaket Province using qualitative research focus on qualitative research conduct research from document analysis field study and group discussion (Focus Group) research area in Baan Muang Noi , Muang Sub-District , Huai Taab Taan District , Sisaket Province. Found that, Socio-cultural environment in Sisaket Province consists of various ethnic groups, including the Lao and Khmer tribes. The lifestyle of farmer farming is main and silk mulberry farming to bring silk to cloth weaving.Traditionally, silk was used to dye the color of white and yellow, and then dyed with black ebony. The culture is dressed with silk dyed ebony.The folk wisdom transmitted from grandparents by the successive post harvest season to bring knowledge of silk dye with ebony to convey within the community of children to follow not to the knowledge. To dye silk with ebony is not lost. All traditions and traditions are practiced every day, so that they can not be separated from each other. Current status and problems of The Application of Tradition Dyeing Silk with Diospyros mollis Griff  Creatively , Sisaket Province consistent with the concept of creating change in service, production and sales, is a new concept. The main factor is the ability and special skills of the person.The process of bringing culture. Economy combined encourage cultural creativity. In principle, cultural values ​​are introduced. The researcher studied the application of silks with creative ebony from the concept of creative economy to develop silk dyed with ebony to increase the value of the market needs more based on interviews with entrepreneurs. There is a model in addition to the original form of silk dyed with Diospyros mollis Griff . The Application of Tradition Dyeing Silk with Diospyros mollis Griff found silk dyed on 1th is light brown , 2th is dark brown ,3th is light brown  ,4th was light gray ,5th was dark gray , 6th was black and the 7th color is dark. It can be used to design creative products are 1) Modern style shirt 2) Skirt style A / Long skirt 3) Woman handbag 4) Suitcase 5) Shawl and 6) Skirt It is evident that creative products, in addition to the original have the same pattern as traditional ebony dyed shirts but from the application of silk, dyed with creative ebony. The dye from the old is used for almost a month to produce to meet the needs of the market and be able to design new products from the original. The weaving group can take this concept from suggestions from entrepreneurs and the general public. The new product is attractive and adds value.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของภูมิปัญญาการย้อมผ้าไหมด้วยผลมะเกลือ จังหวัดศรีสะเกษ  2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของภูมิปัญญาการย้อมผ้าไหมด้วยผลมะเกลือ จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ภูมิปัญญาการย้อมผ้าไหมด้วยผลมะเกลือเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ  โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการวิจัยจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Document) เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ทำการวิจัยในเขตพื้นที่บ้านเมืองน้อย ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            พบว่า สภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์อันหลากหลาย อันได้แก่ ส่วย เยอ ลาว และเขมร วิถีการดำเนินชีวิตที่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ เป็นหลัก และมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อนำเส้นไหมมาทอผ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม โดยเดิมทีผ้าไหมที่นำมาใช้ย้อมเป็นสีขาวเหลืองนวลและนำมาย้อมสีด้วยผลมะเกลือให้เป็นสีดำสนิท เป็นวัฒนธรรมการแต่งกายด้วยผ้าไหมย้อมมะเกลือ ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ส่งต่อมาจากปู่ย่าตายายโดยทำกันมาอย่างต่อเนื่องหลังฤดูทำนาเก็บเกี่ยว เพื่อนำความรู้การย้อมผ้าไหมด้วยผลมะเกลือไปถ่ายทอดกันภายในกลุ่มแม่บ้าน ชุมชน ลูกหลาน ให้ทำตามเพื่อไม่ให้องค์ความรู้ ในการย้อมผ้าไหมด้วยผลมะเกลือไม่สูญหายไปและปฏิบัติกันอย่างสืบเนื่องทุกเทศกาล ทุกฤดูกาล ทุกประเพณีจนเป็นวีถีชีวิตประจำวันที่แยกออกจากกันไม่ได้ สภาพปัจจุบันและปัญหาการย้อมผ้าไหมด้วยผลมะเกลือจังหวัดศรีสะเกษสอดคล้องแนวคิดที่จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อภาคการผลิตบริการและการขาย เป็นแนวคิดแบบใหม่ ที่มีปัจจัยหลักมาจากความสามารถและทักษะพิเศษของบุคคล มีกระบวนการนำเอาวัฒนธรรม เศรษฐกิจรวมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม โดยหลักการแล้วเป็นการนำเอาคุณค่าทางวัฒนธรรมมาพัฒนา ผู้วิจัยได้ศึกษาการประยุกต์ผ้าไหมย้อมด้วยผลมะเกลือเชิงสร้างสรรค์ จากแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผ้าไหมย้อมด้วยผลมะเกลือให้เกิดมูลค่าเพิ่มตามความต้องการของตลาดให้มากขึ้น จากการสอบถามจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไป โดยมีแบบผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากรูปแบบเดิมของผ้าไหมย้อมด้วยผลมะเกลือ จากการประยุกต์ผ้าไหมย้อมด้วยผลมะเกลือเชิงสร้างสรรค์ พบว่า ผ้าที่ผ่านการย้อมด้วยผลมะเกลือวันที่ 1 ได้สีน้ำตาลอ่อน วันที่ 2  ได้สีน้ำตาลเข้ม  วันที่ 3 ได้สีน้ำตาลเทาอ่อน  วันที่ 4 ได้สีเทาอ่อน  วันที่ 5 ได้สีเทาดำเข้ม  วันที่ 6 ได้สีดำ และวันที่ 7 ได้สีดำเข้ม สามารถนำไปออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ อันได้แก่  1) เสื้อรูปแบบสมัยใหม่ 2) กระโปรงทำงานทรงเอ/กระโปรงยาวผู้หญิง 3) กระเป๋าถือผู้หญิง 4) ย่าม 5) ผ้าคลุมไหล่ และ 6) ชุดกระโปรงผู้หญิง จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่นอกเหนือจากรูปแบบเดิมของผ้าไหมย้อมด้วยผลมะเกลือที่มีรูปแบบเดิมคือเสื้อย้อมด้วยผลมะเกลือแบบเดิม แต่จากการประยุกต์ผ้าไหมย้อมด้วยผลมะเกลือเชิงสร้างสรรค์ ที่ผ่านการย้อมจากเดิมคือใช้ระยะเวลาเกือบเดือนเป็นหนึ่งสัปดาห์ เพื่อผลิตให้ทันตามความต้องการของตลาดและสามารถนำมาออกแบบให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่จากเดิม กลุ่มทอผ้าสามารถนำแนวความคิดนี้จากข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปนำไปประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ให้น่าสนใจและเพิ่มมูลค่าของผ้าไหมย้อมด้วยผลมะเกลือมากยิ่งขึ้น
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/281
Appears in Collections:Faculty of Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56012180001.pdf10.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.