Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2818
Title: | Model of Service Excellence of Primary Educational Service Area Office under the Office of the Basic Education Commission รูปแบบการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Authors: | Tanyaluk Keatkunthai ธัญญลักษณ์ เกียรติกุลไทย Tharinthorn Namwan ธรินธร นามวรรณ Mahasarakham University Tharinthorn Namwan ธรินธร นามวรรณ tharinthorn.n@msu.ac.th tharinthorn.n@msu.ac.th |
Keywords: | รูปแบบ การให้บริการที่เป็นเลิศ Model Service Excellence |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The research aimed 1) to study components and indicators of service excellence of Office of Primary Educational Service Area under the Office of the Basic Education Commission. 2) to study of current conditions, the desirable conditions and needs of the provision of services Excellence of Primary Educational Service Area Office under the Office of the Basic Education Commission. 3) to develop an excellent service model for Primary Educational Service Area Office under the Office of the Basic Education Commission. 4) to evaluate the service model of excellence of the Office of Primary Education Service Area Under the Office of the Basic Education Commission. The research method was divided into 4 phases as follows: Phase 1: Study components and indicators of service excellence of Primary Educational Service Area Office by synthesis and confirm the components and indicators from the focus group discussion of 9 experts. Phase 2: study current conditions the desirable conditions and needs of the service excellence of Primary Educational Service Area Office, by asking opinions from a sample of 620 people. Phase 3: Develop an excellent service model of Primary Educational Service Area Office under the Office of the Basic Education Commission by checking and confirming the model from a connoisseurship of 9 experts, and Phase 4: Evaluate the service excellence model of Primary Educational Service Area Office under the Office of the Basic Education Commission. The target groups were education administrators, Educational institute administrators, teachers and personnel in the Uthai thani Primary Educational Service Area Office 1. The research instruments were record form, questionnaire, assessment form. Data were analyzed by percentage, mean and standard deviation.
The research results found that:
1. Components and Indicators of Service Excellence of Primary Educational Service Area Office under the Office of the Basic Education Commission, consisting of 6 components, 32 indicators, namely 1) service personnel development 2) service process development 3) customer relationship management 4) service quality, 5) creation of service culture, and 6) environment, technology, and service facilities. Assessment results overall, it is appropriate at the highest level.
2. The current condition, in general, is at a high level. desirable condition overall, it was at the highest level. The needs for development are as follows: 1) Personnel Development Service Provider, 2) Service Process Development, 3) Environment, Technology and Service Facilities, 4) Building Culture in Service, 5) Quality of service and 6) Relationship management with customers.
3. The development of an excellent service model of Primary Educational Service Area Office under the Office of the Basic Education Commission consists of 5 parts: Part 1: Principles, concepts and objectives, Part 2: Components of the model/method, Part 3: Application/operation of the model, Part 4: Evaluation and Part 5 conditions for success. The results of the evaluation were found that the model was appropriate and possible at the highest level.
4. The trial results of an excellent service model of Primary Educational Service Area Office under the Office of the Basic Education Commission. There is a level of action after the model was applied higher than before the model was applied. The overall satisfaction assessment results were at the highest level. The model evaluation results is appropriate possibility and usefulness at the highest level. การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อประเมินรูปแบบการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยศึกษา สังเคราะห์ข้อมูล และยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัด จากการประชุมสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 620 คน ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรวจสอบ ยืนยันรูปแบบ จากการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวขาญ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึก แบบสอบถาม แบบประเมิน สถิติที่ใช้ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 32 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการ 2) ด้านการพัฒนากระบวนการให้บริการ 3) ด้านการบริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ 4) ด้านคุณภาพของการให้บริการ 5) ด้านการสร้างวัฒนธรรมในการบริการ และ 6) ด้านสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และสิ่งอำนวยความสะดวกในการบริการ ผลการประเมินความเหมาะสม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการ ลำดับที่ 2 ด้านการพัฒนากระบวนการให้บริการ ลำดับที่ 3 ด้านสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการ ลำดับที่ 4 ด้านการสร้างวัฒนธรรมในการบริการ ลำดับที่ 5 ด้านคุณภาพของการให้บริการ และลำดับที่ 6 ด้านการบริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ 3. ผลการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หลักการแนวคิดและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบ/วิธีการ ส่วนที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้/การดำเนินงาน ส่วนที่ 4 การประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้รูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินรูปแบบการให้บริการที่เป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลการทดลองใช้ มีระดับการปฏิบัติหลังการนำรูปแบบไปใช้สูงกว่าก่อนการนำรูปแบบไปใช้ ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินรูปแบบ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2818 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010561039.pdf | 9.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.