Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2829
Title: Development of Childhood Teacher Competency Strengthening Program of Active Learning Management under Buriram Primary Educational Service Area Office 2
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
Authors: Sunattha Nawanin
สุณัฏฐา นวนิล
Thatchai Chittranun
ธัชชัย จิตรนันท์
Mahasarakham University
Thatchai Chittranun
ธัชชัย จิตรนันท์
thatchai.c@msu.ac.th
thatchai.c@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
สมรรถนะครูปฐมวัย
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
Program Development
Early Childhood Teacher Competency
Active Learning Management
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study aimed to 1) investigate the current conditions, desirable conditions and the necessary needs for Early Childhood Teacher Competency Strengthening of Active Learning Management for educational institutions under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 and 2) Design and evaluate Early Childhood Teacher Competency Strengthening Program of Active Learning Management under the Buriram Primary Educational Service Area Office 2. The research is a combined method research, divided into 2 phases: Phase 1 was a study of the current condition desirable condition and needs for Early Childhood Teacher Competency Strengthening of Active Learning Management. The sample group included educational institution administrators and early childhood teachers under the Buriram Primary Educational Service Area Office 2, a total of 248 people were obtained using a stratified random sampling method. Phase 2 Design and evaluate a program to strengthen early childhood teacher competency in active learning management. The group of informants included 3 early childhood teachers who were role models in active learning management and 5 experts in education by purposive selection. The instruments used to collect data were questionnaires, semi-structured interviews and the assessment of suitability and possibility of the program. The statistics used to analyze the data were percentage, average, standard deviation and PNI. The research results revealed that: 1. The overall current conditions of active learning management was at a high level. The overall desirable conditions were at the highest level. As for the Necessity Index, it was found that the area with the highest Necessity Index was the organization of learning activities that focused on the learner, second is the design of learning activities. And using media and technology in learning management, respectively. As for measuring and evaluating learning development It has the lowest need index value. 2. Program to strengthen early childhood teacher competency in active learning management for educational institutions under Buriram Primary Educational Service Area Office 2, it consists of 1) principles, 2) objectives, 3) content and activities; divided into 4 modules: Module 1 designing learning activities, Module 2 organizing learning activities that focus on learners, Module 3 Using media and technology in learning management and Module 4 Measuring and evaluating learning development 4) Development methods include self-learning through actual practice, Professional Learning Community (PLC) and workshops and 5) evaluation, consisting of evaluating one's own knowledge and understanding Before and after development, Assessment of ability to organize active learning activities and evaluating the satisfaction of development participants. The results of evaluating the appropriateness and feasibility of the programs were at the highest level in both items.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 และ 2) ออกแบบ และประเมินโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 การดำเนินการวิจัยมีลักษณะเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 248 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ระยะที่ 2 การออกแบบ และประเมินโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูปฐมวัยต้นแบบ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รองลงมา คือ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการใช้สื่อ และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนการวัดและประเมินผลพัฒนาการการเรียนรู้ มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำสุด 2. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาและกิจกรรม แบ่งออกเป็น 4 Module ได้แก่ Module 1 การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ Module 2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ Module 3 การใช้สื่อ และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และ Module 4 การวัดและประเมินผลพัฒนาการการเรียนรู้ 4) วิธีการพัฒนา ประกอบด้วย การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการปฏิบัติจริง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) และการอบรมเชิงปฏิบัติการ และ 5) การประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินความรู้ความเข้าใจของตนเอง ก่อนและหลังการพัฒนา การประเมินความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก และการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการพัฒนา ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งสองรายการ
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2829
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010581063.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.