Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2836
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Sumalee Kanphukiew | en |
dc.contributor | สุมาลี แกนภูเขียว | th |
dc.contributor.advisor | Prasart Nuangchalerm | en |
dc.contributor.advisor | ประสาท เนืองเฉลิม | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University | en |
dc.date.accessioned | 2025-05-07T11:40:06Z | - |
dc.date.available | 2025-05-07T11:40:06Z | - |
dc.date.created | 2023 | |
dc.date.issued | 25/10/2023 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2836 | - |
dc.description.abstract | This research aims to develop science activities through active learning processes and scientific problem-solving for eighth-grade students. The objectives are to compare academic achievement and scientific problem-solving before and after implementing active science learning activities, as well as to study students' satisfaction with these activities. The study utilized cluster random sampling to select participants. The results of the study indicate that the development of proactive science learning activities generates increased interest among students. These activities encourage students to think critically and solve scientific problems. Students actively engage in defining and improving the learning process based on their own interests. They also analyze and interpret results, summarize new knowledge, and present it in various ways. As a result, students' academic achievement and problem-solving skills in science improve. Furthermore, when comparing the academic achievement and scientific problem-solving scores of eighth-grade students before and after participating in proactive science learning activities focused on force and motion, it was found that their scores exceeded the specified criteria. Additionally, students expressed high satisfaction with the active science learning activities related to force and motion, as these activities contributed to their academic achievement and problem-solving abilities in the field of science | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อเปรียบเทียบการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับเกณฑ์ร้อยละ 75และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก มีทั้งหมด 5 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test แบบ One Sample) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า จากการที่ผู้วิจัยได้ทำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยครูผู้สอนกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ สร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียน กำหนดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามหรือช่วยตั้งคำถามปลายเปิดให้ผู้เรียนได้สืบค้นด้วยตนเอง จนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาและเข้ากันได้กับสภาพจริง นักเรียนจึงเกิดการเรียนรู้อย่างอิสระ และสนุกสนาน เมื่อเกิดการตั้งคำถามและมีส่วนร่วมในการกำหนดและปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับตนเองและตามความสนใจ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แปลผล สรุปองค์ความรู้ใหม่และนำเสนอออกมาในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนให้ดีขึ้นได้ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ( =23.60 ,S.D.=1.99) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีคะแนนการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เรียน ( =15.86,S.D.=1.73) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.67 และ S.D = 0.47) | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก | th |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | th |
dc.subject | การคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ | th |
dc.subject | ความพึงพอใจ | th |
dc.subject | active science learning activities | en |
dc.subject | academic achievement | en |
dc.subject | scientific problem solving | en |
dc.subject | satisfaction | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | Training for teachers at basic levels | en |
dc.title | Development of Science Activities through Active Learning Process and Scientific Problem-Solving | en |
dc.title | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Prasart Nuangchalerm | en |
dc.contributor.coadvisor | ประสาท เนืองเฉลิม | th |
dc.contributor.emailadvisor | prasart.n@msu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | prasart.n@msu.ac.th | |
dc.description.degreename | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description.degreename | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | Curriculum and Instruction | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาหลักสูตรและการสอน | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010588019.pdf | 10.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.