Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2847
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Nontawat Meesamran | en |
dc.contributor | นนทวัฒน์ มีสำราญ | th |
dc.contributor.advisor | Titiworada Polyiem | en |
dc.contributor.advisor | ฐิติวรดา พลเยี่ยม | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University | en |
dc.date.accessioned | 2025-05-07T11:40:07Z | - |
dc.date.available | 2025-05-07T11:40:07Z | - |
dc.date.created | 2024 | |
dc.date.issued | 15/5/2024 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2847 | - |
dc.description.abstract | This action research aims to develop the critical thinking ability of Grade 11 students to pass the criteria of 70 percent through problem-based learning with forensic science issues in biology on the topic of the circulatory system. The target group consisted of 12 students in grade 11 at Kalasinpittayasan School. The research instrument was a plan for the instrument using problem-based learning with forensic science issues, 8 lesson plans. The instruments used to reflect the results were the critical thinking test and semi-structured interviews. The data were analyzed by percentage, average, and standard deviation. Action research is completed in two cycles. The results showed that in the first cycle, 12 students received an average critical thinking score of 13.42 out of a total of 20 points, representing 67.08 percent, and 5 students did not pass the criteria of 70 percent. In the second cycle, develop and improve problems from the first cycle. The researcher adjusted the forensic science issues to be interesting and challenge students to have questions and want to find answers. They also use questions to stimulate thinking during activities for students, encouraging students to share their knowledge and express their opinions with their peers more than ever. The researcher has prepared important media and learning resources for students. Resulting in the second cycle, 12 students received an average critical thinking score of 16.75 out of 20 points, representing 83.75 percent, and 12 students passed the criteria of 70 percent, representing 100.00 percent. In conclusion, the target group developed critical thinking abilities effectively through problem-based learning with forensic science issues. But it requires challenging forensic issues. Stimulate students to be curious and want to find answers, should use pictures to help students see the overall picture of the issue and understand it more easily. Use questions to encourage students to think make decisions and exchange knowledge with friends during the activity. Learning materials and resources are provided to students so that they can access the resources quickly. | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นทางนิติวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือดในมนุษย์ กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นทางนิติวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก แบบสถานการณ์ จำนวน 20 ข้อ และแบบสัมภาษณ์นักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าจากนักเรียนทั้งหมด 12 คน มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละวงจรปฏิบัติการดังนี้ วงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยเท่ากับ 13.42 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 67.08 มีนักเรียนที่คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 7 คน และนักเรียนที่คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 5 คน วงจรปฏิบัติการที่ 2 ทำการปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นทางนิติวิทยาศาสตร์จากวงจรปฏิบัติการที่ 1 โดยปรับประเด็นทางนิติวิทยาศาสตร์ให้มีความน่าสนใจกระตุ้น ท้าทายให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยอยากหาคำตอบ ใช้คำถามกระตุ้นการคิดระหว่างทำกิจกรรม กระตุ้นให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความรู้และแสดงความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนภายในกลุ่มให้มากยิ่งขึ้น และมีการจัดเตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้แก่นักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยเท่ากับ 16.75 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.75 มีนักเรียนที่คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มทั้งหมด จำนวน 12 คน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นทางนิติวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้ แต่ต้องใช้ประเด็นทางนิติวิทยาศาสตร์ที่มีความท้าทาย กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสงสัยและอยากหาคำตอบ ควรใช้รูปภาพประกอบจะทำให้นักเรียนมองเห็นภาพรวมของประเด็นและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนได้รู้จักคิดตัดสินใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในระหว่างทำกิจกรรม มีการเตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้เร็วขึ้น | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การคิดอย่างมีวิจารณญาณ | th |
dc.subject | การจัดการเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นทางนิติวิทยาศาสตร์ | th |
dc.subject | ประเด็นทางนิติวิทยาศาสตร์ | th |
dc.subject | Critical Thinking | en |
dc.subject | Problem-Based Learning with Forensic Science Issues | en |
dc.subject | Forensic Science Issues | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | Education science | en |
dc.title | The Development of Critical Thinking of Grade 11 Students by Problem-Based Learning with Forensic Science Issues | en |
dc.title | การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับประเด็นทางนิติวิทยาศาสตร์ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Titiworada Polyiem | en |
dc.contributor.coadvisor | ฐิติวรดา พลเยี่ยม | th |
dc.contributor.emailadvisor | titiworada.p@msu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | titiworada.p@msu.ac.th | |
dc.description.degreename | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description.degreename | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | Curriculum and Instruction | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาหลักสูตรและการสอน | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
65010554003.pdf | 7.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.