Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2872
Title: The Development of Internal Supervision Guidelines for Schools under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1
การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
Authors: Wijittraporn Petkong
วิจิตราภรณ์ เพ็ชรกอง
Lakkhana Sariwat
ลักขณา สริวัฒน์
Mahasarakham University
Lakkhana Sariwat
ลักขณา สริวัฒน์
lakkana.sa@msu.ac.th
lakkana.sa@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาแนวทาง
การนิเทศภายในสถานศึกษา
Developing Guidelines
Internal Supervision
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research is to study current conditions, desirable conditions and a needs assessment to develop guidelines for internal supervision of educational institutions under the office of Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1, this research is divided into 2 phases: Phase 1 Education Current conditions Desirable conditions and necessities of the internal supervision of the educational institution. Under the Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1, the sample used to collect data includes school administrators. Academic Supervisors and Teachers The instruments used to collect data were questionnaires. Statistics used to analyze data include mean, standard deviation, and priority needs index. Phase 2: Development of guidelines for internal supervision of educational institutions under the Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1. The instruments used to collect data are assessments, statistics used to analyze data, including mean and standard deviation. The findings appear as follows. 1. Results of the study of current conditions the desirable conditions and necessities of the internal supervision guidelines of educational institutions under the Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1 in all 4 aspects showed that the current condition of the internal supervision operations of schools under the Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1 as a whole and each aspect is moderate. As for the desirable condition of conducting internal supervision of educational institutions under the Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1 as a whole and each aspect is at the highest level and the needs assessment found at the highest is supervising personnel, and supervision recipients, and technology and information systems, tools used in supervision are lower. 2. The results of the development of the internal supervision guidelines of educational institutions under the Mahasarakham Primary Education Service Area Office 1 through the Quality Cycle Management (PDCA) showed that all 4 aspects must be implemented: 1) Operational planning (Plan-P), appoint a group of responsible persons, hold operational planning meetings, prepare a project plan to support the work, 2) Implementation of the plan (Do-D) is : analyzing current conditions, problems, and needs of supervision planning and development of supervision, supervision operations, monitoring, and evaluation of supervision, disseminate and expand the results continuously and sustainably. 3) Audit and Evaluation (Check-C) is the practice of requiring each task to have a performance evaluation, to reflect the performance in each step. 4) Performance Improvement (Act-A) is the use of performance data in each step to improve performance for greater efficiency and eliminate problems in supervision within the school. All of which assessed by the aspect is at the highest level of appropriateness and feasibility.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นและพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ทั้ง 4 ด้าน พบว่า สภาพปัจจุบันของการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการพัฒนา พบว่า ด้านบุคลากรผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ มีความต้องการพัฒนามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านเทคโนโลยีและระบบข้อมูลสารสนเทศ ด้านวิธีการนิเทศ และด้านเครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ    2. ผลการพัฒนาแนวการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยใช้การบริหารงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) พบว่า ทั้ง 4 ด้าน ต้องดำเนินการ 1) การวางแผนการดำเนินงาน (Plan-P) แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ จัดการประชุมวางแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนงานโครงการรองรับ 2) การปฏิบัติตามแผน (Do-D) เป็นการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ  วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการนิเทศ วางแผนและพัฒนาการนิเทศ ปฏิบัติการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการนิเทศ เผยแพร่และขยายผลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 3) การตรวจสอบและประเมินผล (Check-C) เป็นการกำหนดให้แต่ละงานได้มีการประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้เห็นถึงผลการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน 4) การปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน (Act-A) เป็นการนำข้อมูลผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการขจัดปัญหาในการนิเทศภายในสถานศึกษา ผลการประเมินแนวการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยใช้การบริหารงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2872
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65010581052.pdf7.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.