Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2875
Title: Development Guidelines of Learning Management to Enhance Analytical Thinking Skills for Thai Teachers Under the Secondary Educational Service Area Office Surin
แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาไทยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
Authors: Songkran Ponchaiya
สงกรานต์ พรไชยา
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
wittaya.c@msu.ac.th
wittaya.c@msu.ac.th
Keywords: แนวทางการพัฒนา
แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
การรจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์
Development Guidelines
Development Guidelines of learning management
Management to Enhance Analytical Thinking skills
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to; 1) study current conditions, desirable conditions, and the needs assessment of development of learning management to enhance analytical thinking skills for Thai teachers under the Secondary Educational Service Area Office Surin 2) create and evaluate guidelines of learning management to enhance analytical thinking skills for Thai teachers under the Secondary Educational Service Area Office Surin The research method was divided into 2 phases : Phase 1 was to study the current conditions, desirable conditions, and the needs assessment of development of learning management to enhance analytical thinking skills for Thai teachers. The samples were 197 Thai teachers under the Secondary Educational Service Area Office Surin selected through stratified random sampling. The research instrument was a scaling questionnaire. The reliability current conditions and desirable conditions of the questionnaire are 0.932 และ 0.908. Phase 2 was to create and evaluate guidelines of learning management to enhance analytical thinking skills for Thai teachers under the Secondary Educational Service Area Office Surin And evaluating the program by experts selected through the purposive sampling technique. The research instruments were an interview form and an evaluation form on the appropriateness, and the possibility of the Programs of Thai Learning Management for Teachers. Data were analyzed by using mean, standard deviation, and modified priority index. The results showed that; 1. The current state and desirable state of learning management to enhance analytical thinking skills for Thai teachers under the Secondary Educational Service Area Office Surin overall were at the moderate level. and the highest level respectively. And the needs assessment of the learning management to enhance analytical thinking skills for Thai teachers for Teachers was ordered from most to least; Development of learning media and innovation, The curriculum integrates content in subject areas, Student-centered learning, Authentic Assessment, and Teaching styles and techniques, teaching methods, Respectively. 2. Development Guidelines of learning Management to Enhance Analytical Thinking skills for Thai teachers under the Secondary Educational Service Area Office Surin consisted of 5 components and 25 guidelines : 6 guidelines for The curriculum integrates content in subject areas, 5 guidelines for Student-centered learning, 5 guidelines for Teaching styles and techniques, teaching methods, 4 guidelines for Development of learning media and innovation and 5 guidelines for Authentic Assessment. The overall evaluation Guidelines result was appropriate at the highest level and possible at the highest level.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อสร้างและประเมินแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำนวน 197 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.932 และ 0.908 ตามลำดับ ระยะที่ 2 สร้างและประเมินแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง  สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และระดับมากที่สุด ตามลำดับ และเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาสื่อและนวัตกรรม ด้านหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง และด้านการใช้รูปแบบและเทคนิค วิธีการสอนอย่างหลากหลาย ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ มีองค์ประกอบ 5 ด้าน มีแนวทาง 25 แนวทาง ประกอบด้วยหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ มี 6 แนวทาง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มี 5 แนวทาง การใช้รูปแบบและเทคนิค วิธีการสอนอย่างหลากหลาย มี 5 แนวทาง การพัฒนาสื่อและนวัตกรรม มี 4 แนวทาง และการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง มี 5 แนวทาง ซึ่งผลการประเมินแนวทางโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2875
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65010581058.pdf10.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.