Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2881
Title: The STAD Learning Process is Combined with 5W1H Technique to Enhance Analytical Reading Abilities for Grade 5 Students in The Thai Language Subject.
กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิชาภาษาไทย
Authors: Jhenjira Wilajun
เจนจิรา วิลาจันทร์
Phamornpun Yurayat
ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์
Mahasarakham University
Phamornpun Yurayat
ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์
phamornpun.y@msu.ac.th
phamornpun.y@msu.ac.th
Keywords: กระบวนการเรียนรู้แบบ STAD, การอ่านคิดวิเคราะห์, เทคนิค 5W1H
5W1H techniques
Reading and analytical thinking
STAD learning process
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:       The objectives of this research were: 1) to develop the STAD learning process combined with 5W1H technique to enhance analytical reading abilities for Grade 5 students in the Thai language subject with efficiency according to the criteria of 75/75, 2) to study the effectiveness index of the STAD learning process combined with 5W1H technique for Grade 5 students 3) to compare the analytical reading abilities after the implementation of STAD learning process combined with 5W1H technique for Grade 5 students and the 70% criteria and 4) to study the satisfaction of Grade 5 students on the STAD learning process combined with 5W1H technique. The sample group in this research was twenty-four Grade 5 Student at Nutthanaree Kindergardent School from a classroom in Semester 2 of academic year 2023. The research tools included: 1) 6 learning management plans using the STAD learning process combined with 5W1H technique to enhance analytical reading abilities for 12 hours in duration, 2) a test of analytical reading abilities using the STAD learning process combined with the 5W1H technique, with 4 multiple choice options, 30 questions and 3) a 5-level rating scale student satisfaction questionnaire on the learning activities using STAD learning process combined with 5W1H technique to enhance analytical reading abilities with 4 evaluation aspects consisting of 1) content, 2) learning process, 3) teacher and 4) evaluation, totaling 20 items. The data analysis statistics included percentage(%), mean(µ)and standard deviation(ơ). The statistics for hypothesis testing was t-test (Dependent samples).         The research results found that 1) Learning management plan using the STAD learning process combined with 5W1H technique to enhance analytical reading abilities in Thai language for Grade 5 students has an efficiency equal to 75.38/82.64, which is in accordance with the specified criteria. 2) The effectiveness index of the learning management plan using the STAD learning process combined with 5W1H technique to enhance analytical reading abilities for Grade 5 students was equal to 0.5140 or 51.40 percent. 3) The analytical reading abilities after the STAD learning process combined with 5W1H technique comparing with the criteria of 70 percent found that the average score was 8.264 or 82.64 percentage, which was statistically significantly higher than the specified criteria of 70 percent at the .05 level. 4) Grade 5 students had satisfaction on the STAD learning process combined with 5W1H technique to enhance analytical reading abilities at a high level (µ = 4.36, ơ = 0.44)
     การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70  และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลณัฐนรี จาก 1 ห้องเรียน จำนวน 24 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ จำนวน 6 แผน ระยะเวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีด้านการประเมิน 4 ด้านประกอบด้วย 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านกระบวนการเรียนรู้ 3) ด้านผู้สอน และ 4) ด้านการวัดประเมินผล รวมจำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ơ) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent samples)      ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 75.38/82.64 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.5140 หรือร้อยละ 51.40 3) ความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H หลังเรียนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.264 คิดเป็นคะแนนร้อยละเท่ากับ 82.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 มีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมาก (µ = 4.36, ơ = 0.44)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2881
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65010582022.pdf6.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.