Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2886
Title: The Development of Analytical Thinking Skills and Learning Achievement using Synectics Instructional Model with Mind Mapping Social Studies Religion and Culture Courses on Economics in Daily Life for Grade 4 Students
การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Authors: Thanaphat Bunsamon
ธนภัทร บุญสมร
Manit Asanok
มานิตย์ อาษานอก
Mahasarakham University
Manit Asanok
มานิตย์ อาษานอก
manit.a@msu.ac.th
manit.a@msu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์
แผนผังความคิด
ทักษะการคิดวิเคราะห์
Learning Achievement using Synectics Instructional Model
Mind Mapping
Analytical Thinking Skills
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The aims of this research study are 1) to compare students' analytical thinking skills before and after studying economics in everyday life, using Synectics learning management together with mind maps. 2) to compare the academic achievement of students before and after studying economics in everyday life, using Synectics learning management combined with mind maps. 3) to study the satisfaction of Grade 4 students who received Synectics learning management combined with mind maps. Target Group: In this research, the target group consists of Grade 4 students at Ban Khui School, Kuchinarai District, Kalasin Province, in the second semester of the academic year 2023, totaling 21 individuals selected through purposive sampling. Four types of tools are used in the research: 1) Learning management plan using Synectics learning management together with concept maps on Economics in everyday life, comprising 7 plans. The evaluation results indicate the highest level of appropriateness for the learning management plan. 2) Academic 3) Achievement Test Analytical Thinking Skills Test 4) Satisfaction Questionnaire. Data was analyzed by calculating percentages, means, standard deviations, and testing hypotheses using the Wilcoxon signed-rank test. The results of the study revealed that: 1) Grade 4 students who received Synectics learning management together with mind maps demonstrated higher analytical thinking ability after studying, compared to before studying, at a statistically significant level of .01, which aligned with the research hypothesis. 2) Grade 4 students who received Synectics learning combined with mind maps showed significantly higher academic achievement after studying than before studying, at the .01 level, in line with the research hypothesis. 3) Grade 4 students expressed overall satisfaction with Synectics learning management combined with mind maps, reaching the highest level. From the research results, it is evident that Synectics learning management combined with mind maps offers a clear, step-by-step learning process. Students engage in comparative thinking, self-assumption, and free expression of feelings. Interaction between teachers and students prompts students to think critically and consider their surroundings, drawing upon knowledge, experience, and imagination to convey emotions through mind maps. Consequently, students who participate in Synectics learning activities combined with mind maps demonstrate improved analytical thinking ability and increased academic achievement, indicating continuous improvement among students.
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ก่อนและหลังเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด กลุ่มเป้าหมาย ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคุย อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิดเรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน จำนวน 7 แผน ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ข้อสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด มีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด มีกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน ฝึกการคิดเปรียบเทียบ การสมมติตนเองและการแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาได้อย่างอิสระ ครูผู้สอนและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันส่งผลให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดพิจารณาสิ่งรอบตัว โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์ผสานกับจินตนาการ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนั้นออกมาในรูปแบบของแผนผังความคิด ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับผังความคิด มีการคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้น รวมถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยนักเรียนมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2886
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65010588026.pdf8.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.