Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2888
Title: | Development of Problem-Based Learning Management on the Problem Solving Ability in Social Studies of Mutthayomsuksa 2 Students การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ในรายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 |
Authors: | Nontanan Visarat นนทนันท์ วิสารัตน์ Phamornpun Yurayat ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์ Mahasarakham University Phamornpun Yurayat ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์ phamornpun.y@msu.ac.th phamornpun.y@msu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาฐาน ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา Problem-Based Learning The Problem Solving Ability |
Issue Date: | 27 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this research were: 1) to develop a Problem-based learning management plans on Law in daily life to be effective according to the criteria 80/80, 2) to compare the problem solving ability before and after studying Social studies on Law in daily life by using problem-based learning management, and 3) to compare learning achievement before and after studying Social studies on Law in daily life by using problem-based learning management. The sample group used in this research was Matthayomsueksa 2/5 students in the second semester of 2023 academic year from Chumphon Wittayasan School, Chumphon Buri District, Surin province under The Secondary Educational Service Area Office Surin, the sample selected by cluster random sampling. Research methods were used as following Problem-based learning management 10 lesson plans, the 10-question problem-solving ability test and the 30-question achievement test. Basic statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, and standard deviation; and the statistic used for testing hypotheses was t–test Dependent Samples.
The results showed that 1) Problem-based learning management lesson plans on Law in daily life, the students had the efficiency (E1/E2) of 84.59/84.94, were higher than the given criteria set out of 80/80 and a significantly higher learning achievement, 2) The students’ learning achievement attained by using problem-based learning management had the Problem Solving Ability, the posttest score was found statistically significant higher than the pretest at the .05 level, and 3) The students’ learning achievement attained by using problem-based learning management on Law in daily life of Matthayomsueksa 2 students, the posttest score was found statistically significant higher than the pretest at the .05 level. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 จำนวน 33 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 10 แผน แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แบบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t–test Dependent Samples ผลวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.59/84.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 หมายความว่า แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพสูงสามารถทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มสูงขึ้น 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2888 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
65010588029.pdf | 7.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.