Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2894
Title: Carotenoid Compositions  and Antioxidant Activity of  Fermented Gac Fruit (Momordica cochinchinensis (Lour.)Spren) with Mixed Culture
องค์ประกอบแคโรทีนอยด์และกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระของฟักข้าวที่หมักด้วยเชื้อจุลินทรีย์ผสม
Authors: Kessara Mungkunkoth
เกษรา มุงคุลโคตร
Sirirat Deeseenthum
ศิริรัตน์ ดีศีลธรรม
Mahasarakham University
Sirirat Deeseenthum
ศิริรัตน์ ดีศีลธรรม
sirirat.d@msu.ac.th
sirirat.d@msu.ac.th
Keywords: ฟักข้าว
คีเฟอร์
เชื้อรา Aspergillus niger
เอนไซม์เพคติเนส
เอนไซม์เซลลูเลส
ไลโคปีน
เบต้าแคโรทีน
เยื่้อหุ้มเมล็ดฟักข้าว
Gac Fruit
Kefir
Aspergillus niger
Pectinase
Cellulase
Lycopene
β-Carotene
Gac aril
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to study the carotenoid constituents and antioxidant properties of fermented gac pulp juice (Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng) using microorganisms: kefir DT5001, Aspergillus niger, and enzymes such as pectinase, cellulase. After fermentation conditions at 25-30 °C for 48 hours, the antioxidant activity was found to increase with the duration of fermentation. 2% pectinase for fermentation of juice showed the highest antioxidant activities by DPPH and FRAP at 1.80±0.02 μg Trolox/ml and 152.06±0.66 μg Fe (II). )/ml, respectively. Gac pulp fermented with 2% kefir DT5001 showed the highest total phenolic content of 273.32±1.05 μg Gallic acid/ml. The highest lycopene content was found at 8.49 milligrams per 100 milliliters of the fermentation sample. While 2% cellulase fermented gac pulp juice had the highest total flavonoid content of 916.10±2.00 mcg Rutin/ml, the beta-carotene content of 149.67±3.03 mg/100 ml of fermentation sample. Analyzing the volatile constituents of fermented gac pulp juice at 48 h fermentation period using a GC/MS instrument, eight volatile organic compounds were found: Carbamic acid, Propanedioic acid, 2-Heptanol, Propanedioic acid, (2-Aziridinylethyl). Amine, Carbon dioxide, Acetic acid, and Sorbitol. For future work, it may be developed into a healthy drink or ingredients in cosmetic products for value-added Gac.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบแคโรทีนอยด์และคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของน้ำเยื่อฟักข้าวหมักโดยใช้จุลินทรีย์ ได้แก่ หัวเชื้อคีเฟอร์ DT5001 เชื้อรา Aspergillus niger และการใช้เอนไซม์ ได้แก่ เพคติเนสและเซลลูเลสในการหมัก ที่อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง  ซึ่งผลการทดลองพบว่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระมีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้ในการหมัก โดยการใช้เอนไซม์เพคติเนส 2 เปอร์เซ็นต์ในการรหมักน้ำเยื่อฟักข้าวให้ค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี DPPH และ FRAP สูงสุด เท่ากับ 1.80±0.02 ไมโครกรัมโทรล็อกซ์ต่อมิลลิลิตรและ 152.06±0.66 ไมโครกรัม Fe(II) ต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ น้ำเยื่อฟักข้าวหมักด้วยคีเฟอร์ DT5001 2 เปอร์เซ็นต์ พบว่ามีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุดเท่ากับ 273.32±1.05 ไมโครกรัมกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตร และพบปริมาณสารไลโคปีนสูงสุด คือ 8.49 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตรของตัวอย่างน้ำหมัก ในขณะที่น้ำฟักข้าวหมักด้วยเอนไซม์เซลลูเลส 2 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงสุดเท่ากับ 916.10±2.00ไมโครกรัมรูตินต่อมิลลิลิตร และพบปริมาณสารเบต้าแคโรทีนสูงเท่ากับ 149.67±3.03 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตรของตัวอย่างน้ำหมัก เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางสารระเหยได้ของน้ำเยื่อฟักข้าวหมักที่ระยะเวลาการหมัก 48 ชั่วโมง ด้วยเครื่อง GC/MS พบสารประกอบอินทรีย์ระเหยได้  8 ชนิด ได้แก่ Carbamic acid, Propanedioic acid, 2-Heptanol, Propanedioic acid, (2-Aziridinylethyl) amine, Carbon dioxide, Acetic acid และ Sorbitol ดังนั้นในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือผลิตเป็นส่วนผสมเพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อเพิ่มมูลค่าอีกทางหนึ่งให้กับฟักข้าว
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2894
Appears in Collections:The Faculty of Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010881001.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.