Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/293
Title: | Development of Work Competency Indicators of General Service Officers in the Primary Educational Service Area Office in the Northeast. การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Authors: | Nunnaphat Somhan นันท์นภัส สมหาญ Tatsirin Sawangboon ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | สมรรถนะการปฏิบัติงาน จ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนตัวบ่งชี้ work competency General service officers in school indicators |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of this study were to develop the indicators and to examine construct validity of work competency indicators of general service officers in the Primary Educational Service Area Office in the Northeast model. 408 general service officers from the schools under Primary Educational Service Area Office in the Northeast were selected from 8 provinces by two – stage cluster Sampling. The instrument used in this study were 1-5 rating scale close-end questionnaires in order to collect empirical data with the value of discrimination from 0.56 to 0.92, and the value of the whole reliability 0.99 The statistics employed in this study was confirmatory factor analysis.
The results revealed that
The work competency indicators of general service officers in Primary EducationService Area Office consisted of 3 aspects with 10 primary indicators and 54 secondary indicators comprising core competency with 5 primary indicators and 20 secondary indicators, job competency with 2 primary indicators and 13 secondary indicators, and individual competency with 3 primary indicators and 21 secondary indicators.
The analysis of model to find out consistency and harmony of theoretical structure and empirical data found that structured model was consistent and harmonized with empirical data. The most values in work competency indicators of general service officers were job competency, individual competency, and core competency with the value of 0.965, 0.831, and 0.615 respectively. The root mean square error of approximation between the model and empirical data had the value of Chi-square = 0.639, the value of probability = 0.8874 at the Degree of Freedom(df) = 3, the value of CFI = 1.000, the value of TLI = 1.011, the value of SRMR =0.005 , and the value of RMSEA = 0.000. In conclusion, the results revealed that the model was construct validity. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้สมรรถนะในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนสังกัดการศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 408 คน จาก 8 จังหวัด โดยใช้วิธีการวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มสองชั้นตอน (two – stage cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เป็นแบบสอบถามปลายปิดเพื่อเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 54 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.56 ถึง 0.92 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ ตัวบ่งชี้สมรรถนะในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน รวมตัวบ่งชี้หลัก 10 ตัว ตัวบ่งชี้ย่อย 54 ตัว จำแนกเป็น ด้านสมรรถนะหลัก ตัวบ่งชี้หลัก 5 ตัว ตัวบ่งชี้ย่อย 20 ตัว ด้านสมรรถนะตามสายงาน ตัวบ่งชี้หลัก 2 ตัว ตัวบ่งชี้ย่อย 13 ตัว สมรรถนะส่วนบุคคล ตัวบ่งชี้หลัก 3 ตัว ตัวบ่งชี้ย่อย 21 ตัว ผลการวิเคราะห์เพื่อการตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลื่นของโมเดลโครงสร้างตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลเชิงโครงสร้างมีความสอดคล้องและกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดในการบ่งชี้สมรรถนะในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ได้แก่ ด้านสมรรถนะตามสายงาน ด้านสมรรถนะส่วนบุคคล และด้านสมรรถนะหลัก มีค่าน้ำหนัก 0.965, 0.831 และ 0.615 ตามลำดับ มีดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 0.639 ความน่าจะเป็น เท่ากับ 0.8874 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 3 ค่า CFI = 1.000 ค่า TLI = 1.011 ค่า SRMR = 0.005 ค่า RMSEA = 0.000 แสดงว่าโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/293 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56010584013.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.