Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/295
Title: Development  of  Knowledge  Management  in  Schools  of  Chaiyaphum  Provincial  Administration  Organization
การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
Authors: Thanyarat Kuanoon
ธัญญารัตน์  เกื้อหนุน
Karn Ruangmontri
กาญจน์ เรืองมนตรี
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แนวทางการจัดการความรู้
ผู้บริหารสถานศึกษา
ครูผู้สอน
สถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
Knowledge Management
School Administrators
Teachers
Schools of Chaiyaphum Provincial Administrative Organization
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study current conditions and desirable conditions of knowledge management in schools and 2) to develop the guidelines of knowledge management in the schools of Chaiyaphum Provincial Administration Organization.  There were two groups of samples: 316 persons who are school directors, school deputy directors, and teachers from 26 schools of Chaiyaphum Provincial Administration Organization and selected by Stratified Random Sampling were studied on current conditions and desirable conditions; and 2) 6 persons who are school administrators and teachers selected by purposive sampling were studied by interview.  The collecting data was conducted by using rating scale questionnaires, structure interview, and suitability and possibility evaluation. The research found that: 1. The study of current conditions and desirable conditions of knowledge management in schools under Chaiyaphum Provincial Administration Organization, the result, in general, revealed high level at = 3.58 , S.D = 0.77, and the study result of desirable conditions on guidelines of knowledge management was at considerably high at = 4.60 , S.D = 0.58 2. For the suitability of guidelines of knowledge management in schools under Chaiyaphum Provincial Administration Organization appraised by academic experts, the study revealed high level at = 4.43 , S.D = 0.57 in general.  Separating into each aspect considered from the highest level, knowledge acquisition, knowledge adaptation, and knowledge preparation were found in the considerably highest level respectively. For the possibility of the guideline of knowledge management, in general, the study revealed high level at = 4.30 , S.D = 0.70.  Separating into each aspect considered from the highest level, knowledge arrangement, knowledge adaptation, and knowledge acquisition were found in the considerably highest level respectively.
การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิมีความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการความรู้ของสถานศึกษา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  2. เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  ขอบเขตของการวิจัย มุ่งศึกษาการพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  ปีการศึกษา  2558 โดยสังเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีของนักวิชาการ ประกอบด้วย การจัดการความรู้  6  ด้าน คือ การกำหนดความรู้  การแสวงหาความรู้  การสร้างความรู้  การจัดเก็บความรู้  การถ่ายโอนหรือเผยแพร่ความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยระยะที่  1  เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  ประชากร  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  ปีการศึกษา  2558 จำนวน 26  โรงเรียน  รวมทั้งสิ้น  836  คน  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน  ในสถานศึกษา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  ปีการศึกษา 2558  จำนวน 26  โรงเรียน  รวมทั้งสิ้นจำนวน  316 คน  จำแนกเป็น  ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  24 คน  รองผู้บริหารสถานศึกษา  32  คน และครูผู้สอนในสถานศึกษา  จำนวน  260  คน  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบจำนวนจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน ( Krejcie  and Morgan )  อ้างอิงมาจาก (บุญชม ศรีสะอาด. 2552 : 35)  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น  การวิจัยระยะที่  2  การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์  ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษาและครู  จำนวน  3  โรงเรียน  รวมทั้งสิ้น  6  คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  ( Purposive Sampling )  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ค่าเฉลี่ย (Mean)  ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ การจัดการความรู้ของสถานศึกษา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  พบว่า  สภาพปัจจุบัน การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่า = 3.58 , S.D = 0.77  สภาพที่พึงประสงค์ การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  โดยมีค่า = 4.60 , S.D = 0.58 2. แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ  พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ เห็นว่า แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ประเมินความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่า = 4.43 , S.D = 0.57  มีความเหมาะสมในรายด้าน  ระดับมากที่สุด  จำนวน 3 องค์ประกอบ โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการแสวงหาความรู้ , ด้านการนำความรู้ไปใช้ , ด้านการกำหนดความรู้ ตามลำดับ และการประเมินความเป็นไปได้  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่า = 4.30 , S.D = 0.70 มีความเป็นไปได้ในรายด้าน ระดับมากที่สุด จำนวน 3 องค์ประกอบ  โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดเก็บความรู้ , ด้านการนำความรู้ไปใช้ , ด้านการแสวงหาความรู้ ตามลำดับ
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/295
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010586034.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.