Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/297
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Wirakan Butphom | en |
dc.contributor | วิรากานต์ บุตรพรม | th |
dc.contributor.advisor | Napatsawan Thanaphonganan | en |
dc.contributor.advisor | ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์ | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Education | en |
dc.date.accessioned | 2019-10-02T06:45:19Z | - |
dc.date.available | 2019-10-02T06:45:19Z | - |
dc.date.issued | 21/7/2018 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/297 | - |
dc.description | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | The purposes of this research were 1) To study current conditions and desirable conditions. 2) To study the Guideline Development for Students Support System of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 24. The results of the research were as follows 1. The current condition of nurturing system perceived of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 24 were in the medium level. The desired state of nurturing system perceived of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 24 were in the high level 2. The Presenting the solution development of nurturing system perceived of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 24 separated in five aspects : 1) To get an individual acquaintance with the students, advisory teachers should set up times in management before visiting all the student’s house. 2) The recruitment aspect, there should be a conference to set up key performance indicators and use various models and tools for collecting the students. 3) The student promotion aspect, found that all schools should continue to organize various activitiesto respond of students. 4) The prevention and solution the problems, all the divisionswho involved in this area should cooperate in solving students’ problems. Establish the parent network and increase the teacher’s knowledge. Manage the exact knowledge and enough time in helping students; enhance the teacher’s role to take care and solving basic problem for students efficiently. 5) The student transfer aspect should provide the problem solution before transferring them. There should be student’s sufficient profile and cooperation with the involved parties | en |
dc.description.abstract | การวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารและครู จำนวน 434 คนระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยศึกษาและสังเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ที่ใช้พัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจากผู้บริหารและครู และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 3 โรง ร่างเป็นแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง( = 3.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก 1 ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง 4 ข้อ เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ด้านการคัดกรองนักเรียน ( = 3.51) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ( = 3.50) และด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ( = 3.48) สภาพที่พึงประสงค์ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อและอยู่ในระดับมาก 4 ข้อเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ( = 4.51) ด้านการส่งต่อ ( = 4.49) ด้านการคัดกรองนักเรียนและด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียน( = 4.46) 2. แนวทางการพัฒนาระบบช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 พบว่า มีแนวทางการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรมีเครื่องมือในการใช้ในขั้นตอนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างหลากหลายครอบคลุมทุกรายละเอียดพฤติกรรมทุกด้านของนักเรียนได้อย่างถูกต้อง และมีการวางแผนจัดการเวลาในการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนให้ครบทุกคน 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน มีจัดอบรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการที่ถูกต้อง พร้อมทั้งมีการใช้เครื่องมือในการคัดกรองนักเรียนที่หลากหลาย 3) ด้านการส่งเสริมนักเรียนควรมีการจัดงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่สนองความต้องการของนักเรียนได้อย่างหลากหลายตามความเหมาะสม 4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ควรจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายต่อเนื่องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหานักเรียนอย่างจริงจัง สร้างความรู้ที่ถูกต้องและเพียงพอในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนและเพิ่มบทบาทหน้าที่ให้ครูที่ปรึกษาได้ดูแลและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นสามารถให้คำปรึกษาแก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5) ด้านการส่งต่อนักเรียน มีการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงตามสภาพปัญหา มีการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกที่สามารถแก้ไขปัญหาของนักเรียนจากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างถูกวิธี | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน | th |
dc.subject | Guideline Development | en |
dc.subject | Students Support System | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | The Guideline Development for Students Support System of Schoolsnder the Secondary Educational Service Area Office 24 | en |
dc.title | แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56010586084.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.