Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/30
Title: Form and Language Style of Writing Articles to Show the Opinion Theme Woman of Jutarat Kittikongnapa in Kullastree Magazine (Over All Issue B.E. 2536)
รูปแบบและลีลาภาษาในการเขียนบทความแสดงความคิดเห็น ชุดนางในวรรณคดี ของจุฑารัตน์   กิตติก้องนภา ในนิตยสารกุลสตรี (ฉบับรวมเล่มปีพ.ศ.2536)
Authors: Pakawadee Piansa-nguan
ภควดี เพียรสงวน
keerati Dhanachai
กีรติ ธนะไชย
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: เนื้อหา
รูปแบบการเขียน
ลีลาภาษา
บทความแสดงความคิดเห็น
นิตยสารกุลสตรี
Content
The from of writing
writing style
Expressing opinions
Kullastree Magazine
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aimed to study the form, content and language style in writing articles, expressing opinions about the dress of heroines of literatures by Jutarat Kittikongnapa (Malai) in Kullastree Magazine (anthology edition, 1993) which Bowornsarn Printing Co., Ltd. has re-edited for the second time, based on the original content. The first issue was published in a column of children's columns + literature from “Nang Jintara” 16th  year, Vol. 376, fortnight after September 1986 until “Nang Pradae”, 19th year, Vol.443 first fortnight on July 1989 with 70 heroines being from 50 literatures conveyed as 350 pages with beautiful illustrations which had both old images from Hem Wetchakorn, craftsmanship and new paintings from the work of Porncheevin Malipan and others. Jutarat Kittikongnapa (Malai) is famous writer in the literature especially fantasy fiction and literature until receiving many awards, such as Sood khob Jakkawan and Kanwela were  selected as one of 88 books and one of 100 books of good science (1982-1993) and (1994-2005) in type of fiction according to the research project of good science books from The Thailand Research Fund (TRF) and the book “Nang Nai Wannakadee” were selected as 100 good books, titles that Thai children and youth should read (Children aged 7-12 years, storytelling pictures) that Thai children and youth should read being a further research project from the research project to select 100 good books that Thai people should read of the Bureau of Research Fund (TRF) during 1999–2000 It was found that Jutarat Kittikongnapa (Malai) presented the content in writing the article, commenting on two main issues, namely, content that provided knowledge or facts and the content that expressed the opinion in the form of writing articles, expressing opinions, found that there were 3 forms: writing style, leading writing style, story writing style and ending. In the language style of writing, it was found that there were 6 styles in each style: usage beautiful illustrations style, wording style, usage of idioms style, usage punctuation style, usage images and rhythmic style. In writing conclusion, the characteristics that Jutarat Kittikongnapa (Malai) used in this writing was the ability to tell literature in a simple, short, concise language, complete in a few pages without missing important events of the subject, as well as providing sufficient examples to make those who have not read the entire literature to appreciate the melodic and artistic beauty. Besides telling the story of literature, the author also communicated with the reader by leaving behind an unqualified question. Sometimes providing additional information that was related based on thorough study of the data, this set of articles contained accurate, reliable, knowledgeable facts presented that had fun, enjoy and readable.  There were insights and ideas that were useful as well. Therefore the article that expressed her opinion in the literature of Jutarat Kittikongnapa (Malai) was another interesting book and was suitable for readers to use to read critically.
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบ เนื้อหา และลีลาภาษาในการเขียนบทความแสดงความคิดเห็น ชุดนางในวรรณคดี ของจุฑารัตน์ กิตติก้องนภา (มาลัย) ในนิตยสารกุลสตรี (ฉบับรวมเล่ม ปี พ.ศ. 2536) ซึ่งบริษัท บวรสารการพิมพ์ จำกัด ได้นำมาเรียบเรียงใหม่เป็นครั้งที่ 2 โดยยึดเนื้อหาจากต้นฉบับเดิม   ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นตอน ๆ ในนิตยสารกุลสตรี คอลัมน์เด็ก + วรรณคดี ตั้งแต่ “นางจินตะหรา” ปีที่ 16 ฉบับที่ 376 ปักษ์หลัง เดือนกันยายน พ.ศ. 2529 จนถึง “นางประแดะ” ปีที่ 19 ฉบับที่ 443 ปักษ์แรก เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2532 จำนวน 70 นาง จากวรรณคดี 50 เรื่อง มาถ่ายทอดเป็นหนังสือหนา 350 หน้า มีรูปประกอบสวยงาม ซึ่งมีทั้งภาพเก่าจากฝีมือเหม เวชกร และภาพวาดขึ้นใหม่จากฝีมือของพรชีวินทร์ มลิพันธุ์ และคนอื่น ๆ จุฑารัตน์ กิตติก้องนภา (มาลัย) เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในแวดวงวรรณกรรม โดยเฉพาะนวนิยายแนวแฟนตาซี และแนววรรณคดี จนได้รับรางวัลมากมาย อาทิ สุดขอบจักรวาล และกาลเวลา ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 88 เล่ม และหนึ่งใน 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ (พ.ศ.2525-2536) และ (พ.ศ. 2537-2548) ประเภทบันเทิงคดี ตามโครงการวิจัยหนังสือดีวิทยาศาสตร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และหนังสือ “นางในวรรณคดี” ก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนังสือดี 100 ชื่อเรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน (กลุ่มเด็กวัย 7-12 ปี ประเภทนิทานภาพ) จาก โครงการคัดเลือกหนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องจากโครงการวิจัยคัดเลือกหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ของสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี 2542–2543 จากการศึกษาพบว่าจุฑารัตน์  กิตติก้องนภา (มาลัย) ได้นำเสนอเนื้อหาในการเขียนบทความแสดงความคิดเห็น 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ เนื้อหาที่ให้ความรู้หรือข้อเท็จจริง และเนื้อหาที่แสดงความเห็น ส่วนรูปแบบในการเขียนบทความแสดงความคิดเห็นพบว่ามี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการเขียนความนำ รูปแบบ   การเขียน เนื้อเรื่อง และรูปแบบการเขียนความจบ ในส่วนลีลาภาษาในการเขียนพบว่ามีทั้งหมด 6 ลีลาด้วยกันคือ ลีลาการใช้รูปภาพประกอบ ลีลาการใช้คำ ลีลาการใช้สำนวน ลีลาการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ลีลาการใช้ภาพพจน์ และลีลาการใช้โวหารในการเขียน กล่าวโดยสรุปจะเห็นว่าลักษณะเฉพาะที่จุฑารัตน์ กิตติก้องนภา (มาลัย) ใช้ในงานเขียนเล่มนี้ คือความสามารถในการเล่าเรื่องวรรณคดีด้วยภาษาง่าย ๆ สั้นกระชับได้ใจความครบถ้วนในไม่กี่หน้ากระดาษ โดยไม่ขาดเหตุการณ์สำคัญของเรื่องพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบเพียงพอที่จะทำให้ผู้ไม่ได้อ่านวรรณคดีเรื่องนั้น ๆ ทั้งเล่ม ได้ซาบซึ้งกับความไพเราะและความงดงามทางวรรณศิลป์ด้วย นอกจากเล่าเรื่องวรรณคดีแล้ว ผู้เขียนยังสื่อสารกับผู้อ่านด้วยการทิ้งท้ายถามความเห็นแบบไม่ต้องการคำตอบ บางครั้งให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวเนื่องกัน จากการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดจึงทำให้บทความแสดงความคิดเห็นชุดนี้มีเนื้อหาถูกต้อง น่าเชื่อถือ มีความรู้ ข้อเท็จจริงที่นำเสนอ มีความสนุกเพลิดเพลินชวนอ่าน มีการแทรกทัศนะและข้อคิดที่เป็นคุณประโยชน์ด้วย จึงทำให้เห็นว่า บทความแสดงความคิดเห็นชุดนางในวรรณคดีของจุฑารัตน์ กิตติก้องนภา (มาลัย) เล่มนี้ เป็นหนังสือที่น่าสนใจอีกเล่มหนึ่งและเหมาะสำหรับผู้อ่านที่จะใช้อ่านในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ด้วย
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/30
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010180012.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.