Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/302
Title: | Development of Internal Supervisory Model for Teacher Competency Improvement on English Learning Management for Secondary School in The Northeastern Part of Thailand การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Authors: | Charan Nuammano จรัญ น่วมมะโน Karn Ruangmontri กาญจน์ เรืองมนตรี Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | รูปแบบการนิเทศภายใน สมรรถนะครู การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ Internal Supervisory Model Teacher Competency English Learning Management |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The research of Development of Internal Supervisory Model for Teacher Competency Improvement on English Learning Management for Secondary School in The Northeastern part of Thailand was purposed 1) to study current and desirable conditions of the teacher competency in English learning management for secondary school in the northeastern part of Thailand; 2 to develop the internal supervisory model for teacher competency improvement on English learning management for secondary school in the northeastern part of Thailand; and 3) to do an assessment of the internal supervisory model use for the teacher competency improvement on English learning management for secondary school in the northeastern part of Thailand. This research and development was conducted in 3 phases, namely; phase 1: study current and desirable conditions of the teacher competency in English learning management for secondary school in the northeastern part of Thailand. Sample group was 7 experts, together with 354 school administrators and English language teachers. Instruments used were assessment form and questionnaire. Phase 2 : develop the internal supervisory model for teacher competency improvement on English learning management for secondary school in the northeastern part of Thailand with sample group of 7 best practice experts for interview, 21 specialists for criticism and model framework examination, and 9 experts for model affirmation. Instrument used was assessment form. Phase 3 : do assessment of the internal supervisory model use for the teacher competency improvement on English learning management for secondary school in the northeastern part of Thailand. Sample group was 21 school administrators and vice administrators, heads of academic section, heads of learning area and English language teachers, along with 120 students. Instruments used were tests, assessment forms, and questionnaires. Statistic Instruments used were Mean and standard deviation used for data analysis.
The findings ;
1. The finding of the study of current and desirable conditions of teacher competency in English learning management for secondary school in the northeastern part of Thailand showed that the current condition of the teacher competency in English learning management for secondary school in practice, on the whole, was in the middle level. In addition, desirable condition of teacher competency in English learning management for secondary school in practice, on the whole, was in the highest level.
2. The result of the development of internal supervisory model for teacher competency improvement on English learning management for secondary schools in the northeastern part of Thailand which passed the quality inspection of internal supervisory model from the experts, consisting of 7 major elements as following; element 1 principle of model; element 2 purpose of model; element 3 operation mechanism; element 4 internal supervision content; element 5 internal supervision process consisting of Analyzing : A, Planning : P, Doing : D, and Evaluating : E, element 6 model assessment, and element 7 success condition of model application.
3. The assessment result on internal supervisory model use for improving the teacher competency in English learning management for the secondary school in the northeastern part of Thailand found that 1) knowledge and understanding test result of the teachers who were provided the supervision was higher than before; 2) the teachers who are provided the supervision's assessment result of learning management capability after receiving the internal supervision was higher than before, and their learning management capability was excellent; 3) the result of teachers' satisfaction towards the internal supervision for improving the teacher competency in English learning management, on the whole, was in the highest level; 4) the result of the students' opinions towards English language learning was overall in the highest level; and 5) the result of the internal supervisory model used for improving the teacher competency in English learning management for secondary school in the northeastern part of Thailand was overall in the highest level. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยดำเนินการเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ 354 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน และแบบสอบถาม ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิสัมภาษณ์วิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) 7 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญวิพากษ์และตรวจสอบร่างรูปแบบ 21 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันรูปแบบ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน ระยะที่ 3 ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและรองผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอนภาษาอังกฤษ 21 คน และนักเรียน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน และแบบสอบถามสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 7 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 กลไกการดำเนินงาน องค์ประกอบที่ 4 เนื้อหาการนิเทศภายใน องค์ประกอบที่ 5 กระบวนการนิเทศภายใน ประกอบด้วย การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analyzing : A) การวางแผนการนิเทศ (Planning : P) การปฏิบัติการนิเทศ (Doing : D) และประเมินผลการนิเทศ (Evaluating : E) องค์ประกอบที่ 6 การประเมินรูปแบบ และองค์ประกอบที่ 7 เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ 3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า 1) ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูผู้รับการนิเทศในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้สูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศภายใน 2) ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการนิเทศ หลังได้รับการนิเทศภายในมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศภายใน และครูผู้รับการนิเทศ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 5) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด |
Description: | Doctor of Education (Ed.D.) การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/302 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57010566002.pdf | 6.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.