Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/305
Title: | A Proposed Social Media Training Model Using the Inquiry Process with Close Analysis to Develop of Media Literacy Abilities for Teachers under Nakhonratchasima Vocational Education การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิด เพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อ สำหรับครูสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา |
Authors: | Phornpawee Fawibak พรปวีณ์ ฝ่าวิบาก Ratchaneewan Tangpakdee รัชนีวรรณ ตั้งภักดี Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การฝึกอบรมผ่านสื่อสังคม กระบวนการสืบสอบ การวิเคราะห์แบบปิด การรู้เท่าทันสื่อ Media Training Inquiry Process Close Analysis Media Literacy |
Issue Date: | 6 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research is aimed 1) to study problems and needs of media training via social networks by using the inquiry process together with close analysis to develop media literacy of teachers under Nakhonratchasima vocational Education 2) to develop media training model via social networks by using the inquiry process together with close analysis to develop media literacy of teachers under Nakhonratchasima vocational Education 3) to evaluate media training model via social networks by using the inquiry process together with close analysis to develop media literacy of teachers under Nakhonratchasima vocational Education 4) to assure and present media training model via social networks by using the inquiry process together with close analysis to develop media literacy of teachers under Nakhonratchasima vocational Education. The sample of this research consisted of 1) 274 teachers under Nakhonratchasima vocational Education who were selected by stratified random sampling, 2) 10 of Educational specialists which consisted of 5 educational technology and 5 of communication art. They were selected by purposive sampling. This was in order to investigate opinions of the media training model via social networks by using the inquiry process together with close analysis. 3) 6 of experts which comprised of 3 educational technology and 3 of communication art. They were selected by purposive sampling. This was in order to assure the media training model via social networks by using the inquiry process together with close analysis. The research instruments were questionnaire of problems and needs of media training via social networks by using the inquiry process together with close analysis, questionnaire of specialists’ opinions toward media training via social networks by using the inquiry process together with close analysis and assurance forms of experts.
The results revealed that the elements of media training model were comprised of 1) the purposes of the training, 2) types, 3) contents, 4) roles of related people in the training, 5) social media used in the training, 6) factors of facilitating the training and 7) training evaluation. The approaches of the training were consisted of 1) needs analysis of media training, 2) preparation, 3) orientation, 4) training stage which comprised of 4.1) arousing attention by posting the incidences on Facebook, 4.2) investigation and completing activities on comments board via Facebook, 4.3) explanation and conclusion the activities on comments board via Facebook, 4.4) expansion of knowledge, discussion and presentation by using Google slide then share URL via Facebook, 4.5) assessment using Google form then share URL via Facebook. And 5) evaluation of media training model. การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา 2) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา 3) ตรวจสอบรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา 4) รับรองและนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ครูสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 274 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น 2) ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา จำนวน 10 คน ด้านเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน 5 คน และด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 5 คน เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 3 คน และด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 3 คน เพื่อรับรองรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ และ 3) แบบรับรองรูปแบบของผู้ทรงคุณวุฒิต่อรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคม ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการฝึกอบรมฯ 1) เป้าหมายของการฝึกอบรม 2) ชนิดของการฝึกอบรม 3) เนื้อหาการฝึกอบรม 4) บทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องในการฝึกอบรม 5) สื่อสังคมที่ใช้ในการฝึกอบรม 6) ปัจจัยสนับสนุนการฝึกอบรม 7) การประเมินผลการฝึกอบรม ขั้นตอนการฝึกอบรมฯ 1) วิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นของการฝึกอบรม 2) ขั้นเตรียม 3) ขั้นปฐมนิเทศ 4) ขั้นฝึกอบรม ซึ่งในขั้นนี้ จะแบ่งออกเป็น 4.1) การสร้างความสนใจโดยใช้การ Post เหตุการณ์ผ่าน Facebook 4.2) การสำรวจและค้นหา ทำกิจกรรมบนกระดานความคิดเห็น ผ่าน Facebook 4.3) การอธิบายและลงข้อสรุป ทำกิจกรรมบนกระดานความคิดเห็น ผ่าน Facebook 4.4) การขยายความรู้ อภิปรายและนำเสนอโดยใช้ Google Slide แชร์ URL ผ่าน Facebook 4.5) การประเมินผลโดยใช้แบบประเมินผ่าน Google Form แชร์ URL ผ่าน Facebook และ 5) ขั้นประเมินผล |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/305 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57010580030.pdf | 3.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.