Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/307
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSuvamas Chaiboonen
dc.contributorสุวมาศ ไชยบูรณ์th
dc.contributor.advisorLakkana Sariwaten
dc.contributor.advisorลักขณา สริวัฒน์th
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2019-10-02T06:48:57Z-
dc.date.available2019-10-02T06:48:57Z-
dc.date.issued19/9/2018
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/307-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThis study aims to 1. Compare group counseling effects based on the behavioral theory to decrease inappropriate behaviors in learning of students at risk between before and after counseling. 2. Compare group counseling effects based on the rational emotive behavior theory to decrease inappropriate behaviors in learning of students at risk between before and after counseling. The target group consisted 16 grade 4-6 students with inappropriate behaviors in learning, obtained through purposive sampling technique. They were divided into 2 experimental groups, group 1 with 8 students under group counseling based on behavioral theory, group 2 with 8 students under group counseling based on rational emotive behavior theory. The instruments used to collect data were: 1. Observation form of inappropriate behavior in learning 2. Group counseling programs based on behavioral theory. 3. Group counseling programs based on rational emotive behavior theory. The data were analyzed by descriptive analysis the results of the study revealed that. The students in the risk group had inappropriate behaviors in the study were decreased after treating a group counseling based on behavioral theory and after treating a group counseling based on rational emotive behavior theory. Their behaviors have been improved 3 ways include responsibility verbal expression and none verbal expression. Their inappropriate behaviors were decreased. Conclude that group counseling programs based on behavioral theory And group counseling program based on rational emotive behavior theory are tools that helps students with inappropriate behavior to decrease their inappropriate behaviors and to adapt to appropriate behaviors, help to improve the study results and live together happily.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเรียนของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง  ระหว่างก่อนและหลังการให้การปรึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเรียนของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ระหว่างก่อนและหลังการให้การปรึกษา กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้น ป.4 - 6 เป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านพฤติกรรม ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเรียน จำนวน 16 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม  จำนวน 8 คน กลุ่มที่ 2 ได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ 1. แบบสังเกตพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเรียน 2. โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม 3. โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล  อารมณ์ และพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์                  ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเรียนที่ได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและนักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเรียนที่ได้รับการปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎี พิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลดลงทั้ง 3 ด้านดังนี้ 1. ด้านความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบมากขึ้นคือ ตั้งใจฟังครูสอน ทำงานตามที่ครูมอบหมาย ไม่หลบหนีการเรียน 2. ด้านการใช้วาจา มีความเหมาะสมขึ้นโดยพูดสุภาพและถูกกาลเทศะ ไม่ส่งเสียงรบกวนคนอื่นขณะเรียน มีการยับยั้งอารมณ์ที่ไม่พอใจในการพูด 3. ด้านพฤติกรรมการแสดงออก นักเรียนแสดงออกทางกายเหมาะสมขึ้นโดยมีการใช้เหตุผลในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ไม่หยอกล้อเล่นกันเพื่อนขณะเรียน ไม่รบกวนการทำงานของเพื่อน ไม่ก่อกวนชั้นเรียน ไม่รังแกเพื่อน โดยสรุป โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม และโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณา เหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม  เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเรียนที่เข้ารับการปรึกษามีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในการเรียนลดลง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ช่วยให้มีผลการเรียนดีขึ้น และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectทฤษฎีพฤติกรรมนิยมth
dc.subjectทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมth
dc.subjectพฤติกรรมไม่เหมาะสมth
dc.subjectนักเรียนกลุ่มเสี่ยงth
dc.subjectการให้การปรึกษาแบบกลุ่มth
dc.subjectBehavioral Theoryen
dc.subjectRational Emotive Behavior Theoryen
dc.subjectInappropriate Behaviorsen
dc.subjectStudents at risken
dc.subjectGroup Counselingen
dc.subject.classificationPsychologyen
dc.titleA Comparison of Group Counseling Effects Based on the Behavioral Theory and Rational Emotive Behavior Theory to Decrease Inappropriate Behaviors in Learning of Students at Risken
dc.titleการเปรียบเทียบผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์  และพฤติกรรม เพื่อลดพฤติกรรมไม่เหมาะสมในการเรียนของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010581004.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.