Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/309
Title: | A Comparison of Learning Achievement in Analytical thinking and Attitude towards learning Integers system of Matthayomsuksa 1 students between using Multiple Intelligences Theory and Co-operative learning การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ |
Authors: | Thitinunt Boonserm ฐิตินันท์ บุญเสริม Suracha Amornpan สุรชา อมรพันธุ์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ Achievement Analytical thinking Attitude towards learning Multiple Intelligences Theory Co-operative learning |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Learning organization employing Multiple Intelligences Theory and Co-operative learning is the child centre learning activity that emphasizes on developing students learning achievement in analytical thinking and student’s attitudes towardsMathematics learning. The aims of this study were to : 1) develop lesson plansregarding Multiple Intelligences Theory and Co-operative learning in Integers system of Mattayomsuksa 1 students with 75/75 basis. 2) find out an effective index of Learning organization employing Multiple Intelligences Theory and Co-operative Learning in Integers system of Matthayomsuksa 1 students. 3) compare students’ Mathematics Learning Achievement in Analytical thinking and Attitude towards Mathematics learning in Integers system of Mattayomsuksa 1 when using Multiple Intelligences Theory and Co-operative learning The samples were 83 Mattayomsuksa 1 students from two class who studiedin semester 1, academic year 2018 of Thatumprachasermwit school, under The Secondary Educational Service Area Office 33 using the cluster random sampling. The instruments used in the study were 1) 20 lesson plans of multiple intelligence theory and 20 lesson plans of Co-operative Learning, each plan was used for 1 hour 2) a 4-choice Achievement test of 30 items with discriminating powers ranging 0.20-0.50 and a reliability value of 0.82 3) a 4-choice Analytical Thinking ability test, containing 24 items with the difficulty value between 0.43 and 0.60, the discrimination value from 0.20 - 0.55, the total reliability value was 0.70 4) A 5-scale Attitude Test towards Mathematics learning for 15 items, with the discrimination value from 0.41 - 0.87, the total reliability value was 0.84 The statistics used were percentage, mean, standard deviation and F – test (One – way MANOVA) to test the hypothesis.
The results of the study were as follows :
1) Lesson plans regarding Multiple Intelligences Theory and Co-operative learning in Integers system of Mattayomsuksa 1 students had the efficiency of 78.62/76.35 and 80.95/79.84 respectively.
2) The effective indexes of learning organization employing Multiple Intelligences Theory and Co-operative learning approach in Integers system of Mattayomsuksa 1 students are 0.6443 and 0.6808 respectively. This showed that the students progressed in learning at 64.43 percent and 68.08 percent correspondingly.
3) The students who learnt through Multiple Intelligences Theory and Co-operative learning approach had attitudes towards Mathematics in no difference way. However, learning achievements and analytical thinking abilities for Mathematics of the students who learnt through Co-operative learning approach were higher than who learnt through Multiple Intelligences Theory at the .05 level of significance.
In conclusion, learning management based on Multiple Intelligences Theory and Co-operative learning is a learning process that develops learning achievements, analytical thinking abilities, and enhances the students’ attitudes toward Mathematics. Therefore, it can be used to develop student’s progressions in learning to reach the goal of subject’s purpose achievement.
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เป็นกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 83 คนได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา จำนวน 20 แผน และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ จำนวน 20 แผน รูปแบบการสอนละ 20 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.50 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 24 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.43– 0.60 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 - 0.55 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ เป็นแบบวัดมาตรส่วนประมาณค่า 5 จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.41 – 0.87 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วย F – test (One – way MANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 78.62/76.35 และ 80.95/79.84 ตามลำดับ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดให้ 75/75 2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6443 และ 0.6808 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 64.43 และ 68.08 3. นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ มีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกัน แต่นักเรียนที่เรียนด้วยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุปการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา และการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ จึงควรให้ครูผู้สอนในรายวิชาคณิตศาสตร์นำกระบวนการจัดการเรียนรู้เหล่านี้ไปใช้พัฒนาผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนและบรรลุตามจุดประสงค์ของรายวิชา |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/309 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57010585010.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.