Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/311
Title: A Study of Learning Achievement Analytical Thinking and Attitude Towards Learning of Prathomsuksa 5 Students by using  7E Learning Inquiry Method
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น
Authors: Busagon Sanwa
บุษกร แสนหว้า
Manit Asanok
มานิตย์ อาษานอก
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์
การคิดวิเคราะห์
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น
Learning Achievement
Attitude Towards Learning Science
Analytical Thinking
7E Learning Inquiry Method
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study aimed to 1) develop science instruction plans of water, sky and star lesson for Prathomsuksa 5 by using 7E learning inquiry method to the effectiveness criterion 80/80, 2) find effectiveness indices of science instruction plans of water, sky and star lesson for Prathomsuksa 5 by using 7E learning inquiry method, 3) compare the learning achievement of Prathomsuksa 5 students in water, sky and star lesson during before and after learning by 7E learning inquiry method instruction, 4) compare the analytical thinking of Prathomsuksa 5 students during before and after learning by 7E learning inquiry method instructional, and 5) study attitude towards learning of Prathomsuksa 5 students by using  7E learning inquiry method in water, sky and star lesson, science subject group. Experimental group were 18 students of Prathomsuksa 5 in Ban Kluay Wittaya school, Roi-et primary educational service area office 1 in academic year 2017 selected by purposive sampling. Research instruments were 1) 15 instruction plans of water, sky and star lesson, science subject group of Prathomsuksa 5 by using 7E learning inquiry method, 2) the achievement test of science subject group in water, sky and star lesson included 30 items with 4 choices in each item whose reliability value was 0.87, 3) the analytical thinking test included 30 items with 4 choices in each item whose reliability value was 0.93, and 4) the attitude towards learning test was 5 levels rating scale with 20  items whose reliability value was 0.78. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and hypothesis testing by Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test.        The result were as follows:                                                    1. The science instruction plans of water, sky and star lesson for Prathomsuksa 5 by using 7E learning inquiry method have effectiveness (E1/E2) 81.48/80.37. The important activities were knowledge study,  survey, experiment, invention and practice.                                               2. The effectiveness indices of science instruction plans of water, sky and star lesson for Prathomsuksa 5 by using 7E learning inquiry method was 0.6677 (66.77%).                                3. The Prathomsuksa 5 students who learned by using 7E learning inquiry method in water, sky and star lesson had learning achievement after learning higher than before learning at the .01 level of significance.                                                     4.  The Prathomsuksa 5 students who learned by using 7E learning inquiry method in water, sky and star lesson had analytical thinking after learning higher than before learning at the .01 level of significance.                                                              5.  The Prathomsuksa 5 students’ attitude towards learning who learned by using 7E learning inquiry method in water, sky and star lesson overall at the highest level.                       In conclusion, the instruction plans of science group subject in water, sky and star lesson by using 7E learning inquiry method for Prathomsuksa 5 students has effected to student’s achievement, analytical thinking and attitude towards learning success on effectiveness criterion, then sciences’ teacher can be use this instruction method for teaching in Prathomsuksa 5 as appropriate.
การวิจัยครั้งนี้ความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและ 5) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว กลุ่มทดลอง ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกล้วยวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 18 คน  ได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  (1)  แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น  จำนวน 15 แผน  (2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ  ที่มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87  (3)  แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.93 และ (4)  แบบวัดเจตคติต่อการเรียน ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน  20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test                                             ผลการวิจัยปรากฏดังนี้                                                                                     1.  แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาวชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น มีประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 81.48/80.37 โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าความรู้ การสำรวจ การทดลอง การประดิษฐ์แบบจำลอง และการฝึกปฏิบัติจริง                                     2.  ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องน้ำ ฟ้า และดวงดาว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น เท่ากับ 0.6677  คิดเป็นร้อยละ 66.77                                                                               3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01                              4.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01                                                                                      5.  เจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้าและดวงดาว อยู่ในระดับ ดีมาก                     โดยสรุป แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียน บรรลุตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ดังนั้น ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์จึงสามารถนำแผนการจัดการเรียนรู้นี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ตามความเหมาะสม
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/311
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010585015.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.