Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/319
Title: Developing Guidelines to Enhance Teachers in English Communicative Language Teaching in The Secondary Educational Service Area Office 21 
การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Authors: Pranpreeya Pongjite
ปราณปรียา ผ่องจิต
Chaiyot Ruangsuwan
ไชยยศ เรืองสุวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาแนวทางพัฒนาครู
การจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
Developing Guidelines to Enhance Teachers
English Communicative Language Teaching
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research were 1) To study the components and indicators of enhance teachers in English Communicative Language Teaching in The Secondary Educational Service Area Office 21. 2) To study current conditions and desirable conditions of enhance teachers in English Communicative Language Teaching in The Secondary Educational Service Area Office 21. 3)To develop the guidelines to enhance teachers In English Communicative Language Teaching in The Secondary Educational Service Area Office 21. The research divided into 3 phases. Phase 1, to study compositions and indicators of English Communicative Language Teaching in The Secondary Educational Service Area Office 21. There were 7 informants and the research tools include evaluation form. Phase 2, to study the current conditions, desirable conditions of enhance teachers in English Communicative Language Teaching in The Secondary Educational Service Area Office 21. The sample consists of 169 administrators and teachers, which determined by sample size then finished with a table comparing about the total population of Krejcie and Morgan and used Stratified Random Sampling, the research tools were questionnaire. Phase 3, to develop guidelines to enhance teachers in English Communicative Language Teaching in The Secondary Educational Service Area Office 21. The sample consisted of one randomly selected of 7 and the research tools were interviewing, statistics such as ; percent, average, and standard deviation. The results were as follows: 1. The compositions and indicators of enhancing teachers in English Communicative Language Teaching in The Secondary Educational Service Area Office 21 consisted of 5 compositions and 12 indicators. 2. The current conditions of teachers In English Communicative Language Teaching in The Secondary Educational Service Area Office 21 consisted of 5 compositions and 12 indicators, the overall level were at high, and the overall level of desirable conditions were at highest. 3. The guidelines to enhance teachers in English Communicative Language Teaching in The Secondary Educational Service Area Office 21. Encouraged teachers to know educational law, curriculum, Ministry of Education Policies. Used educational psychology to analyze learners. Gave opportunities to improve themselves in seminar, meeting or workshop. Providing media and technology with Teaching techniques to teacher. There was follow up and evaluation with friendliness and team up for created learning and educational development.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 3) พัฒนาแนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ประชากร คือ ผู้บริหารในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศและครู จำนวน 300 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศและครู จำนวน 169 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มี 5 องค์ประกอบ 12 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านการศึกษาหลักสูตร 2) ด้านการวิเคราะห์ผู้เรียน 3) ด้านการออกแบบการเรียนรู้ 4) ด้านการเตรียมการสอน 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล 2. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการวิเคราะห์ผู้เรียน และด้านการวัดผลและประเมินผล รองลงมา คือ ด้านการออกแบบการเรียนรู้ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการเตรียมการสอน สภาพที่พึงประสงค์ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการวิเคราะห์ผู้เรียน รองลงมา คือ ด้านการออกแบบการเรียนรู้และด้านการวัดผลและประเมินผล และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ด้านการศึกษาหลักสูตรและการเตรียมการสอน 3. แนวทางพัฒนาการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่ การส่งเสริมให้ครูศึกษาหลักสูตรนโยบายและกฎหมายการศึกษา การส่งเสริมให้ครูใช้หลักจิตวิทยาหลักวิชาการในการวิเคราะห์ผู้เรียนสนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาศักยภาพของตัวเอง การสนับสนุนสื่ออุปกรณ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีและติดตามการวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบและเป็นมิตรพร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการพัฒนาการศึกษา
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/319
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57030580039.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.