Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/323
Title: The Development of Guidelines to Promote the Competencies of Learners Secondary School          
การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา
Authors: Ponpichit Tita
พรพิชิต ทิทา
Sombat Tayraukham
สมบัติ ท้ายเรือคำ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
การพัฒนาตัวบ่งชี้
Competencies of Learners
Indicator Development
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to develop indicators to promote the competencies of learners secondary school and 2) to develop guidelines promote the competencies of learners secondary school. The samples were divided into 3 groups: group 1 are 10 experts by purposive sampling, group 2 are the teachers under the secondary educational service area office 25 used in the Exploratory Factor Analysis: EFA 625 people and used in the Confirmatory Factor Analysis : CFA 1,345 people random by stratified random sampling, Group 3 are 7 experts that who support and promote the competencies of learners. The research instruments Phase 1 were the Questionnaire form to promote the competencies of learners secondary school. The discriminative power is 0.41 to 0.92 , the reliability is 0.95 and Phase 2  were In-depth Interview form  for data analysis by basic statistical analysis Exploratory Factor Analysis (EFA) and Confirmatory Factor Analysis (CFA) using a computer program and content analysis. The findings indicated that 1) the analysis model elements the promoting indicators of  the competencies of learners secondary school and 6 in the 34 indicators were positive, with values ranging from 0.614 to 0.847 with a statistical significance  level 01. The factor loading is sorted descending by the weight of the sort from high to low is  to provide  Measurement and Evaluation, Judgment and Information, Problem Solving, Life Skills and Creativity, Language of Communication, and Potential and Aptitude. The factor loading of 0.847, 0.840, 0.782, 0.759, 0.664 and 0.614 in order. respectively with the index measure level of integration between models with empirical data. The  Chi – Square  = 1153.306 ,  Degree of Freedom (df) = 521, Relative  Chi – Square (Chi –Square/df) = 2.21 , GFI = 0.945, AGFI = 0.947, CFI = 0.994, SRMR = 0.0620, and RMSEA = 0.0301 Indicating that the model has validity. 2) the promoting guidelines of the competencies of learners secondary school in data indicate that are included 6 components of Guidelines which are Language of Communication, Measurement and Evaluation, Problem Solving, Judgment and Information, Potential and Aptitude, and Life Skills and Creativity
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน จำนวน 10 คน โดยเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 ใช้วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจสำรวจ (EFA) จำนวน 625 คน และใช้วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) จำนวน 1,345 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) กลุ่มที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนจำนวน 7 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในระยะที่ 1 คือ 1) แบบสอบถาม การส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.41 ถึง 0.92 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 เครื่องมือที่ใช้ในระยะที่ 2 คือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบตัวบ่งชี้การส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา ทั้ง 6 ด้าน 34 ตัวบ่งชี้มีค่าเป็นบวก ตั้งแต่ 0.614 ถึง 0.847 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า โดยเรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย คือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล ด้านการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา ด้านทักษะชีวิตและการสร้างสรรค์ผลงาน ด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร และด้านการส่งเสริมศักยภาพตามความถนัด น้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.847, 0.840, 0.782, 0.759, 0.664 และ 0.614 ตามลำดับ มีดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่า ไค - สแควร์ (Chi – Square) = 1153.306 ที่องศาอิสระ (df) = 521 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (Relative Chi – Square) = 2.21 ค่า GFI = 0.945 ค่า AGFI = 0.947 ค่า CFI = 0.994 ค่า SRMR = 0.0620 และ ค่า RMSEA = 0.0301 แสดงว่า โมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง 2) แนวทาง การส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 6 แนวทาง ได้แก่ การใช้ภาษาในการสื่อสาร การวัดและประเมินผล การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา การใช้วิจารณญาณ ในการรับข้อมูลการส่งเสริมศักยภาพตามความถนัด ทักษะชีวิตและการสร้างสรรค์ผลงาน
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/323
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57030581009.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.