Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/324
Title: The Development of Learning Management Model to Support Reasoning Abilities and Mathematics Connection Abilities of Muthayomsueksa 3 Students
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: Phanicha Srirat
ภาณิชา  ศรีรัตน์
Yannapat Sihamongkhon
ญาณภัทร สีหะมงคล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
Reasoning mathematics
Connection mathematics
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were: 1) to study the prior information and current state of learning management for reasoning and connection abilities in mathematics learning of Muthayomsueksa 3 Student, 2) to develop learning management model for reasoning abilities and mathematics connection abilities, 3) to study for the results of implementing of that learning management model. In this study was provided by Research and Development methodology, which composed of three phases,for the first phase was studying of prior information and current state in learning management to promote the student’s reasoning and connection abilities in mathematics learning. The second phase, developing the learning management model. and for the third phase was implementing the effectiveness of model. The samples in studying for the effectiveness of model were consisted of two groups of the students in Muthayomsueksa 3 from Bannongweangnoi school, and two groups of students from Kutrueakhamphitthayakhan school, those were the experimental and control groups with 22,20,35 and 35 students respectively. The instruments used in this study were: 1) questionnaire, 2) structured interview, 3) lesson plan assessment, 4) the learning management model for reasoning abilities and mathematics connection abilities, 5) lesson plan for reasoning and connection abilities in mathematics learning, and 6) reasoning and connection abilities test. The statistics were used in this study consisted of percentage, mean, standard deviation,and using t-test (Dependent-sample), F-test(One-way MANOVA) to employ in testing hypotheses. The research results were as follows: 1. The result of studying the prior information and current state of learning management for reasoning and connection abilities in mathematics learning of Muthayomsueksa 3 Student are at the high level. The current state of learning management at the high level were are appropriate instructional media and most students see the importance of mathematics learning. Including more of needed to engage for reasoning and connection abilities in mathematics learning are at the high level were are measurement and evaluation, climate of learning, importance of mathematics learning, appropriate instruction media, and modern technology. 2. The development of learning management model for reasoning abilities and mathematics connection abilities of muthayomsueksa 3 student composed of : 1) Principles, approaches, and concerned theories, 2) The purpose of model, 3) Learning process, 4) Social system, 5) The principle of responding and, 6) Support system. Whereas, learning management model was created based on Constructivism psychology, Heuristics, Reflection, and Open approach. Which learning process composed of four steps and those were: 1) Coping and analyzing problem, 2) Idea Finding, 3) Conduction, and 4) Discussing and summarizing. The results of model evaluation were met the requirement. 3. For the results of implementing model, were found that : 3.1 The students who learned based on learning management model revealed higher of reasoning and connection in mathematics learning than before learning at the 0.05 level of significance. 3.2 The students who learned based on learning management model revealed higher of reasoning and connection in mathematics learning than group of students who learned using traditional approach, at the 0.05 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการปฏิบัติและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การปฏิบัติและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยวิธีการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูคณิตศาสตร์ที่สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 86 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูคณิตศาสตร์ที่มีผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองแวงน้อย จำนวน 2 ห้อง จำแนกเป็นห้องทดลอง 22 คน ห้องควบคุม 20 คน และโรงเรียนกุดเรือคำพิทยาคาร จำนวน 2 ห้อง จำแนกเป็นห้องทดลอง 35 คน ห้องควบคุม 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามสำหรับครูคณิตศาสตร์ 4) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์แบบอัตนัย สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test (Dependent Samples) และ F-test สำหรับการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ ทางเดียว (One-way MANOVA) ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการปฏิบัติและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า การปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อการปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ใช้สื่อที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน รองลงมา คือ สอนให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการเรียนคณิตศาสตร์ และสื่อเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความต้องการในการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวัดและประเมินผลครอบคลุมเนื้อหาวิชา รองลงมา คือ จัดบรรยากาศภายในห้องเรียน เอื้อต่อการเรียนรู้การสอนให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการเรียนคณิตศาสตร์ การใช้สื่อที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน และการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่มีการเชื่อมต่อเครือข่าย ตามลำดับ 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ามี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน โดยใช้แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานที่สนับสนุน ได้แก่ ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) แนวคิดการคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics) แนวคิดการสะท้อนคิด (Reflection) และแนวคิดปัญหาแบบเปิดทางคณิตศาสตร์ ซึ่งในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 เผชิญและวิเคราะห์ปัญหา ขั้นที่ 2 ประมวลความคิดค้นหาคำตอบ ขั้นที่ 3 เรียนรู้จากการปฏิบัติ ขั้นที่ 4 อภิปราย สรุปผล โดยผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมในระดับมากที่สุด 3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 3.1 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.2 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/324
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010563005.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.