Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/328
Title: The  development  self-responsibility promotion program with Kohlberg  moral reasoning for mathayomsuksa 2 
การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองตามการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผลของโคลเบิร์ก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Thupthim Pramoonjanang
ทับทิม ประมูลจะนัง
Sombat Thairueakham
สมบัติ ท้ายเรือคำ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความรับผิดชอบต่อตนเอง
การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเอง
self-responsibility
The development self-responsibility promotion program.
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The  development  self-responsibility promotion program with Kohlberg moral reasoning for promoting the result of the student that used development  self-responsibility. The samples of this study were 30 students studying in the mathayom suksa 2 of Phadungnaree School, second semester academic year 2017. They were selected though cluster random sampling method. The research instruments used in the study were The development  self-responsibility and development  self-responsibility measure 30 items forms. The  development  self-responsibility promotion program with Kohlberg moral reasoning scale with discriminanting power ranging 0.295 –  0.846  and a reliability of 0.913. The statistics used for analyzing the collected data wrer mean, standaed deviation, and the F-test (One way repeated measure MANOVA) The study showed that 1.  The  development  self-responsibility promotion program with Kohlberg moral reasoning had created and developed to determine the content validity from evaluated structure of The  development  self-responsibility promotion program with Kohlberg moral reasoning by 5 experts. There also indicated their result of the evaluation as a whole at the appropriately level. 2.  The students showed gains in the  development  self-responsibility promotion program with Kohlberg moral reasoning after program participation (Posttest) higher from before the Program participation (Pretest) at the .01 level of significance. 3.  The students showed gains The  development  self-responsibility promotion program with Kohlberg moral reasoning after program participation 2 week (Follow) Have higher from before the Program participation (Pretest) at the .01 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองตามการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผลของโคลเบิร์ก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 8 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองตามการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผลของโคลเบิร์ก  และแบบวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.295 –  0.846 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.913 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One – way Repeated measure MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองตามการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผลของโคลเบิร์ก ที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้นมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและการประเมินโครงร่างของโปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองตามการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผลของโคลเบิร์ก โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่าผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก  2) นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองตามการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผลของโคลเบิร์ก คะแนนหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองตามการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผลของโคลเบิร์ก(Posttest) สูงกว่าคะแนนก่อนการใช้โปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองตามการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผลของโคลเบิร์ก(Pretest) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเองตามทฤษฎีการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมหลังการเข้าร่วมโปรแกรม 2 (Follow) ซึ่งสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรม (Pretest) และคะแนนหลังการใช้โปรแกรม (Posttest) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/328
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010584001.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.