Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/33
Title: Development the Risk Management Model for Academic in School under the Provincial Administrative Organizations by Application of Concepts SIPOC MODEL
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยประยุกต์ใช้แนวคิด SIPOC MODEL
Authors: Ratree Loetvathong
ราตรี  เลิศหว้าทอง
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การบริหารจัดการความเสี่ยง
งานวิชาการ
Development Model
Risk Management
Academic
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were: 1) to study the parts of the risk management on academic department of the schools running under the Provincial Administrative, 2) to study the current situation and desirable characteristic, need and want of the risk management on academic department of the schools running under the Provincial Administrative, 3) to develop the risk management model on academic department of the schools running under Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL, 4) to evaluate the implementing of the risk management model on academic department of the institutes running under Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL by applying the process of Research and Development in with dividing into 4 states: state 1 study the parts of the risk management on academic department of the institutes running under Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL by studying the documents, texts, research paper, and academic document, then gather the collective data proofed by 10 qualified committees; state 2 study the current situation and desirable characteristics, need, and want of the risk management on academic department of the institutes running under Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL, the population were 639 school directors (director, deputy director: academic affairs, monitor of academic apartment-3 per schools), and 1,704 teachers (from all department-8), all together 2,343 from 213 schools; state 3 creating the risk management model on academic department of the institutes running under Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL by study the risk management on academic work from the 3 best practice schools in order to  make the manual for implementing the risk management on academic department of the institutes running under Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL, examining the drafting manual model by 6 qualified committee with Connoisseurship; state 4 implementing the studied model of risk management in one of the secondary schools running under the Provincial Administrative Organization, and evaluating that risk management model. The instrument applied in collecting the data were questionnaire and evaluating form; while, the statistic analyzing the data were percentage, mean, and standard deviation (SD). The result of the research found that : 1. The parts of the risk management on academic department of the institutes running under Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL related to: 1.1 Suppliers, it had sub division such as agency (Provincial Administrative Organization) and schools; 1.2 In puts, including school directors, teachers, and students; 1.3 Process, the researcher study the content of academic works of the schools in order to get the concept of the research by synthesizing the content of academic works in 17 aspects, selecting 7 aspects, by examining the data by mean of Focus Group Discussion from 10 qualified committee: 1) learning activities, 2) classroom research, measurement, evaluation, and grade transfer, 3) developing curriculum, 4) mutual co-relationship in developing the local studies curriculum between schools and other institutes, 5) developing the quality assurance in education and educational standard, 6) planning academic works, and 7) educational supervision; then, concluding the result from 6 qualified committee by mean of Connoisseurship to have the target model of risk management. Studying from the scope of academic work management in 3 aspects: 1) developing curriculum, 2) learning activity, and  3) classroom research, measurement, evaluation, and grade transfer; 1.4 Out puts, 1) school directors had skill and literacy in implementing affectively the process of risk management on academic department, 2) teachers took important role in running works on risk management, and 3) student pleased and happy with the learning activities; 1.5 Customers, contenting  with 1) other schools pleasing with the educational administration, 2) institutes admired the educational administration and management, and 3) the community satisfied with the educational administration and feed back to school directors, teachers and students. 2. For the current situation and desirable characteristic, need and want of the risk management on academic department of the schools running under the Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL, the study found that, at the whole picture, PNI =0.153; while examining in each aspect, arranging from high to low, found that Out puts PNI =0.153 following with Customer PNI =0.168 and Suppliers, while In puts and Process were equalized at PNI =0.145. 3. The development model of the risk management on academic department of the schools running under Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL contenting with 5 aspects: 3.1 Supplier, 2 necessaries condition; 3.2 In puts, 3 necessaries; 3.3 Process, 3 necessaries ; 3.4 Out puts, 3 necessaries; and 3.5 Customers. 4. The result of the developing model of the risk management on academic department of the schools running under Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL, implementing the developed model in Nong-Sangwittayayon school running by Chaiyaphum Provincial Administrative Organization, could be concluded as following: 4.1 school director had skill and literacy in implementing affectively the process of risk management on academic department; 4.2 teachers had effective skill and active teaching process including  doing works with good result on risk management of academic works in the school; 4.3 students were pleased with the educational administration and management at high level; and 4.4 the developed model of risk administration and management on academic apartment of the schools running under the Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL was working effectively at the highest rate. The result of the research pointed out that the model of risk management on academic department of the schools running under the Provincial Administrative Organization with SIPOC MODEL further developed by the researcher was affective and should put into implementing for the secondary schools running under the Provincial Administrative Organization in order to develop educational quality.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้แนวคิด SIPOC MODEL และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยประยุกต์ใช้แนวคิด SIPOC MODEL โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and  Development) แบ่งเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา โดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และงานวิชาการ แล้วตรวจสอบยืนยันโดยวิธีการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ระยะที่ 2 ทำการศึกษาศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 96 คน และ ครู จำนวน 256 คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ระยะที่ 3 ศึกษาสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice จำนวน 3 แห่ง แล้วทำการออกแบบรูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา และตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบฯ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ระยะที่ 4 นำรูปไปใช้ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยประยุกต์ใช้แนวคิด SIPOC MODEL จำนวน 1 โรงเรียน และทำการประเมินฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1 ด้านผู้ส่งมอบ (Suppliers) มีองค์ประกอบย่อย 3 ด้าน คือ 1) หน่วยงานต้นสังกัด 2) สถานศึกษา และ 3) ชุมชน 1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (In puts) มีองค์ประกอบย่อย 3 ด้าน คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ครู และ 3) นักเรียน 1.3 ด้านกระบวนการ (Process) มีองค์ประกอบย่อย 3 ด้าน คือ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 3) ด้านการวิจัย วัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน 1.4 ด้านผลผลิต (Out puts) มีองค์ประกอบย่อย 3 ด้าน คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ เข้าใจ การทักษะและกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ครู มีแนวทางการกระบวนการทักษะ ปฏิบัติงาน อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจกระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 1.5 ด้านผู้รับบริการ (Customers) มีองค์ประกอบย่อย 3 ด้าน คือ 1) สถานศึกษาอื่นๆ มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา 2) สถานประกอบการมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา และ 3) ชุมชนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ต่อความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียน ด้านข้อมูลย้อนกลับ 2. สภาพปัจจุบันและที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากลงไปหาน้อย พบว่า มากที่สุด คือ ด้านผลผลิต (PNI = 0.153) รองลงมา คือ ด้านผู้รับบริการ (PNI = 0.168) และด้านผู้ส่งมอบ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ มีลำดับเท่ากัน  (PNI = 0.145) 3. รูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยประยุกต์ใช้แนวคิด SIPOC MODEL ประกอบด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการ 3 ระบบ คือ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 3) ด้านการวิจัย วัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน ซึ่งกลไกการบริหารจัดการความเสี่ยง 5 ด้าน เป็นตัวขับเคลื่อน คือ 1. กําหนดวัตถุประสงค์ความเสี่ยง 2. การระบุความเสี่ยง 3. การประเมินความเสี่ยง 4. การจัดการความเสี่ยง และ 5. การติดตาม ตรวจสอบความเสี่ยง 4. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยประยุกต์ใช้แนวคิด SIPOC MODEL พบว่า ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจหลักการการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ครู มีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการกระบวนการทักษะการสอน และ นักเรียนมีความพึงพอใจกระบวนการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยประยุกต์ใช้แนวคิด  SIPOC MODEL มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/33
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010560008.pdf9.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.